กาฬสินธุ์ - “บำรุง คะโยธา” ชี้คดีรับสิน อบต.ทุ่งคลอง ศาลตัดสินดีแล้ว แต่ระยะเวลาเนิ่นนานชาวบ้านอาจลืมที่มาไปกลโกง เชื่อยังต้องมีคนได้รับผลกระทบ แฉแก๊งทุ่งคลองเป็นข้าราชการท้องถิ่นพยายามใช้เหลี่ยมดิ้นกลับเข้ารับราชการ
กรณี สินบน อบต.ทุ่งคลอง ต.ทุ่งคลอง อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ที่มีการเรียกรับสินบนจากผู้เข้าสมัครสอบแข่งขันพนักงานส่วนตำบล ที่ได้ประกาศเปิดสอบตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. 2548 มีการประกาศผลสอบและเรียกบรรจุพนักงานส่วนตำบล จนมีการร้องเรียนว่ามีการทุจริตการสอบและเรียกรับสินบนจากผู้สอบรายละ 100,000-400,000 บาท มีนายถาวร บุตรศรี อดีตนายก อบต.ทุ่งคลอง และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 26 คน โดยศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สั่งจำคุกผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีโทษตั้งแต่ 4-288 ปี ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ตัดสินคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง ประชาชนชาว จ.กาฬสินธุ์ ได้ให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากคดีนี้ได้เกิดเรื่องร้องเรียนเมื่อ 12 ปี ที่แล้ว เป็นคดีอื้อฉาวในวงการ อปท.ทั่วประเทศ และในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง มีเม็ดเงินมหาศาลสูงกว่า 300 ล้านบาท โดยทันทีที่คำพิพากษาได้นำเสนอในสื่อต่างๆ ทำให้คดีสินบน อบต.ทุ่งคลองกลับมาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อีกครั้งในพื้นที่
นายบำรุง คะโยธา แกนนำร้องเรียนคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง ระบุว่า คดีนี้ยาวนานมากผ่านมาแล้วกว่า 12 ปี เมื่อคำพิพากษาของศาลตัดสินมาเช่นนี้เชื่อว่าดีแล้ว เป็นการลงโทษผู้ที่ทุจริตจริงๆ เป็นการลงโทษที่เด็ดขาด แต่ก็ต้องติดตามอีกยาวเพราะยังมีขั้นตอนของการอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เฉพาะศาลชั้นต้นระยะเวลาผ่านไป 10 ปี ประชาชนลืมไปบ้างแล้ว ส่วนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก็ยังอยู่ในแวดวง อปท. อยู่ในชุมชนเป็นปกติ แม้ว่าจะเป็นผู้ต้องหาคดีสินบนก็ยังมีบทบาทอยู่ในพื้นที่ ทั้งที่ปรึกษานายกฯ ผู้ทรงคุณวุฒิแวดวงต่างๆ ยังมีอิทธิพลในการบริหารท้องถิ่นนั้นเหมือนเป็นผู้บริหารท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการส่งคนใกล้ชิดลงสนามเลือกตั้งเพื่อรักษาฐานอำนาจตนเอง
“ก่อนหน้าที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์จะมีการตัดสินนั้น ได้มีบุคคลในเครือข่ายคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง ที่เป็นข้าราชการ พยายามที่จะฟอกความผิดของตัวเองด้วยการใช้เล่ห์เหลี่ยมวิ่งเต้นกลับคืนรับราชการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ลงโทษวินัยร้ายแรง เป็นว่ากล่าวตักเตือนแทน แต่ด้วยอยู่ในยุคของรัฐบาล คสช.จึงไม่มีใครกล้าเสี่ยง” นายบำรุงกล่าว และว่า
สำหรับคดีสินบน อบต.ทุ่งคลองนั้น ขอให้เป็นบทเรียนสำหรับการกระจายอำนาจ กลไกบริหาร การตรวจสอบและการกำกับดูแลว่ามีเพียงพอหรือไม่ ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากน้อยเพียงใด เมื่อการกระจายอำนาจไปสู่กลุ่มทุนหรือบุคคลผู้มีอิทธิพล ได้รับอำนาจที่กระจายมาจากการเลือกตั้งบ้านเมืองจะเป็นไปอย่างไร
ขณะเดียวกัน ในส่วนของการควบรวม อบต. และเทศบาล (ทต.) ส่วนตัวมีความเห็นด้วยกับแนวคิดนี้อย่างมาก เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหา อปท.ได้ จากประสบการณ์การเมืองท้องถิ่น 8 ปี ในตำแหน่งนายก อบต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ต้องยอมรับว่ามีความพยายามที่จะเรียกรับเงินเพื่อให้ลูกหลานได้เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ หรือแม้แต่ลูกจ้างประจำ เป็นค่านิยมผิดๆ ในสังคมไทยปัจจุบันนี้
กรณี สินบน อบต.ทุ่งคลอง ต.ทุ่งคลอง อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ที่มีการเรียกรับสินบนจากผู้เข้าสมัครสอบแข่งขันพนักงานส่วนตำบล ที่ได้ประกาศเปิดสอบตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. 2548 มีการประกาศผลสอบและเรียกบรรจุพนักงานส่วนตำบล จนมีการร้องเรียนว่ามีการทุจริตการสอบและเรียกรับสินบนจากผู้สอบรายละ 100,000-400,000 บาท มีนายถาวร บุตรศรี อดีตนายก อบต.ทุ่งคลอง และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 26 คน โดยศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สั่งจำคุกผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีโทษตั้งแต่ 4-288 ปี ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ตัดสินคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง ประชาชนชาว จ.กาฬสินธุ์ ได้ให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากคดีนี้ได้เกิดเรื่องร้องเรียนเมื่อ 12 ปี ที่แล้ว เป็นคดีอื้อฉาวในวงการ อปท.ทั่วประเทศ และในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง มีเม็ดเงินมหาศาลสูงกว่า 300 ล้านบาท โดยทันทีที่คำพิพากษาได้นำเสนอในสื่อต่างๆ ทำให้คดีสินบน อบต.ทุ่งคลองกลับมาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อีกครั้งในพื้นที่
นายบำรุง คะโยธา แกนนำร้องเรียนคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง ระบุว่า คดีนี้ยาวนานมากผ่านมาแล้วกว่า 12 ปี เมื่อคำพิพากษาของศาลตัดสินมาเช่นนี้เชื่อว่าดีแล้ว เป็นการลงโทษผู้ที่ทุจริตจริงๆ เป็นการลงโทษที่เด็ดขาด แต่ก็ต้องติดตามอีกยาวเพราะยังมีขั้นตอนของการอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เฉพาะศาลชั้นต้นระยะเวลาผ่านไป 10 ปี ประชาชนลืมไปบ้างแล้ว ส่วนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก็ยังอยู่ในแวดวง อปท. อยู่ในชุมชนเป็นปกติ แม้ว่าจะเป็นผู้ต้องหาคดีสินบนก็ยังมีบทบาทอยู่ในพื้นที่ ทั้งที่ปรึกษานายกฯ ผู้ทรงคุณวุฒิแวดวงต่างๆ ยังมีอิทธิพลในการบริหารท้องถิ่นนั้นเหมือนเป็นผู้บริหารท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการส่งคนใกล้ชิดลงสนามเลือกตั้งเพื่อรักษาฐานอำนาจตนเอง
“ก่อนหน้าที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์จะมีการตัดสินนั้น ได้มีบุคคลในเครือข่ายคดีสินบน อบต.ทุ่งคลอง ที่เป็นข้าราชการ พยายามที่จะฟอกความผิดของตัวเองด้วยการใช้เล่ห์เหลี่ยมวิ่งเต้นกลับคืนรับราชการ ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ลงโทษวินัยร้ายแรง เป็นว่ากล่าวตักเตือนแทน แต่ด้วยอยู่ในยุคของรัฐบาล คสช.จึงไม่มีใครกล้าเสี่ยง” นายบำรุงกล่าว และว่า
สำหรับคดีสินบน อบต.ทุ่งคลองนั้น ขอให้เป็นบทเรียนสำหรับการกระจายอำนาจ กลไกบริหาร การตรวจสอบและการกำกับดูแลว่ามีเพียงพอหรือไม่ ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากน้อยเพียงใด เมื่อการกระจายอำนาจไปสู่กลุ่มทุนหรือบุคคลผู้มีอิทธิพล ได้รับอำนาจที่กระจายมาจากการเลือกตั้งบ้านเมืองจะเป็นไปอย่างไร
ขณะเดียวกัน ในส่วนของการควบรวม อบต. และเทศบาล (ทต.) ส่วนตัวมีความเห็นด้วยกับแนวคิดนี้อย่างมาก เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหา อปท.ได้ จากประสบการณ์การเมืองท้องถิ่น 8 ปี ในตำแหน่งนายก อบต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ต้องยอมรับว่ามีความพยายามที่จะเรียกรับเงินเพื่อให้ลูกหลานได้เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ หรือแม้แต่ลูกจ้างประจำ เป็นค่านิยมผิดๆ ในสังคมไทยปัจจุบันนี้