xs
xsm
sm
md
lg

แนะฟื้น “ป่าคำชะโนด” หลังต้นชะโนดยืนต้นตายเป็นเบือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


อุดรธานี - นักวิชาการ มรภ.อุดรธานี ชี้การเหี่ยวเฉาและยืนต้นตายของ “ต้นชะโนด” อาจเกิดจากภาวะโลกร้อน หรือการกระทำของมนุษย์ แนะออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค และสิ่งปลูกสร้างให้สัมพันธ์ระบบนิเวศป่าคำชะโนด

ผศ.ดร.ธีร์ธวัช สิงหศิริ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า จากการที่จังหวัดอุดรธานี โดยคณะทำงานแก้ไขปัญหาการลดลงของจำนวนต้นชะโนดในพื้นที่ป่าคำชะโนด ได้ขอความอนุเคราะห์ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีดำเนินการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพดิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางวิชาการต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของป่าคำชะโนด ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเหี่ยวเฉาตายและลดลงของจำนวนต้นชะโนด จากการดำเนินการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพดินพบว่า คณะทำงานได้คาดการณ์ทางวิชาการถึงสาเหตุดังกล่าวหลายปัจจัยที่สำคัญ อาจเกิดจาก ภัยธรรมชาติ ความแห้งแล้ง หรือสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ทางตรงและทางอ้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงอุทกวิทยาดั้งเดิมจากการพัฒนาระบบชลประทานที่ไม่เหมาะสม การขุดสระใกล้เกาะขนาดใหญ่ที่มีความลึกมาก การก่อสร้างถนนรอบเกาะ สิ่งปลูกสร้างและกิจกรรมภายในเกาะ ฯลฯ เป็นต้น

ปัจจัยดังกล่าวนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมของดิน น้ำ อากาศ และระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง จนทำให้ต้นชะโนดเหี่ยวเฉา ยืนต้นตายและลดจำนวนลง เบื้องต้นเมื่อพิจารณาปริมาณความชื้นในดินมีค่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับป่าพรุทั่วไป ปัญหาการเหี่ยวเฉาและยืนต้นตายของต้นชะโนดบนเกาะ ในทางวิชาการแล้วเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจมีสาเหตุหลายประการ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง วาตภัย น้าท่วม ฯลฯ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ

เช่น การเปลี่ยนแปลงอุทกวิทยาดั้งเดิมจากการพัฒนาระบบชลประทานไม่เหมาะสม การขุดสระน้ำที่มีความลึก การสร้างถนนลาดยางรอบพื้นที่เกาะ การก่อสร้างฝายน้ำล้น ตลอดจนการก่อสร้างสะพานคอนกรีตแทนสะพานไม้ จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่บริเวณโดยรอบป่าคำชะโนด
โดยให้คำนึงถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศป่าคำชะโนด, ปลูกต้นชะโนด เพื่อเพิ่มจำนวนประชากร

กำลังโหลดความคิดเห็น