ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - ม.นเรศวรก้าวไกลผลิตพลังงานใช้เองแห่งแรกในเอเชีย โดยมีกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเป็นแรงหนุนหลัก
ช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดร.สุขฤดี สุขใจ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือ มน. ได้เปิดเผยถึงผลสำเร็จของการดำเนินโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ ซึ่งวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2557 จากกองทุนอนุรักษ์พลังงานโดยผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และปัจจุบันการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กับระบบการเก็บและจ่ายกระแสไฟฟ้าด้วยกำลังไฟ 400 kW เป็นที่เรียบร้อยได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว พร้อมกับเดินระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ระบบ “สมาร์ท กริด” และป้อนไปใช้งานวิทยาลัยพลังงานทดแทนทั่วบริเวณ รวมทั้งป้อนเข้าสู่ระบบจ่ายไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วย
ดร.สุขฤดี สุขใจ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงกรณีที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร ได้ริเริ่มดำเนินการระบบ “ไมโครกริด” เป็นแห่งแรกของเอเชียเมื่อประมาณ 2-3 ปีมาแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจาก “เนโดะ” ของประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าจะช่วยให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 120 kW แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของวิทยาลัย จึงได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม พร้อมกับจัดทำโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการเสนอต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุน ในการเพิ่มกำลังการผลิตอีก 400 kW
จึงส่งผลให้มีกำลังผลิตรวมแล้วกว่า 500kW พร้อมกับพัฒนาให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมเป็นระบบเดียวกันในชื่อ “สมาร์ท กริด” โดยมีระบบบริหารจัดการแบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Building Energy Management (BEM)
สำหรับในแง่ของส่วนประกอบหลักสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการนั้น ผศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร ระบุว่ามีด้วยกัน 2 แบบ แบบแรกเป็นการติดตั้งแบบกราวนด์เมาท์ (ตั้งบนพื้น) มีกำลังผลิต 350 kW อีกแบบคือติดตั้งแบบ “รูฟท็อป” (ติดตั้งบนหลังคา) มีกำลังผลิต 50 kW โดยมีระบบสะสมพลังงานจากแบตเตอรี่ที่มีความจุ 100 kW ต่อชั่วโมง ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นระบบบริหารจัดการ พลังงานแบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (BEM) ที่ให้ประโยชน์ยิ่งกว่าระบบผลิตไฟฟ้าในอดีต ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานในลักษณะแยกจากกัน
แต่หลังจากที่ได้งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ แล้ววิทยาลัยพลังงานทดแทนจึงได้พัฒนาระบบต่างๆ ให้สามารถสื่อสารเข้ากันได้ ทั้งการผลิตไฟฟ้า และการควบคุมการใช้งานที่เราสามารถกำหนดการใช้ในแต่ละวันและแต่ละช่วงเวลาได้
ด้วยเหตุนี้ ระบบดังกล่าวจึงมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการควบคุมในเรื่องความต้องการกระแสไฟฟ้าสูงสุด โดย ดร.สุขฤดี สุขใจ ได้ยกตัวอย่างการติดเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมแสงสว่างในอาคาร ซึ่งหากไม่มีคนอยู่ในห้องก็จะไม่มีการจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังหลอดไฟและเครื่องปรับอากาศ แต่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าตามปกติเฉพาะเมื่อมีคนอยู่เท่านั้น ทำให้ช่วยลดค่ากระแสไฟฟ้าได้ร้อยละ 30-40
“ที่ผ่านมามีหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชนเดินทางมาศึกษาดูงานที่วิทยาลัยของเราเกือบทุกวัน ต้องถือว่าบรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานทุกประการ และเราเองก็มีความเต็มใจอย่างยิ่งสำหรับการแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยีในเรื่องนี้” ผอ.วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร กล่าวส่งท้าย
ช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดร.สุขฤดี สุขใจ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือ มน. ได้เปิดเผยถึงผลสำเร็จของการดำเนินโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ ซึ่งวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2557 จากกองทุนอนุรักษ์พลังงานโดยผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และปัจจุบันการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กับระบบการเก็บและจ่ายกระแสไฟฟ้าด้วยกำลังไฟ 400 kW เป็นที่เรียบร้อยได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว พร้อมกับเดินระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ระบบ “สมาร์ท กริด” และป้อนไปใช้งานวิทยาลัยพลังงานทดแทนทั่วบริเวณ รวมทั้งป้อนเข้าสู่ระบบจ่ายไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วย
ดร.สุขฤดี สุขใจ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงกรณีที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร ได้ริเริ่มดำเนินการระบบ “ไมโครกริด” เป็นแห่งแรกของเอเชียเมื่อประมาณ 2-3 ปีมาแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจาก “เนโดะ” ของประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าจะช่วยให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 120 kW แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของวิทยาลัย จึงได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม พร้อมกับจัดทำโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการเสนอต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุน ในการเพิ่มกำลังการผลิตอีก 400 kW
จึงส่งผลให้มีกำลังผลิตรวมแล้วกว่า 500kW พร้อมกับพัฒนาให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมเป็นระบบเดียวกันในชื่อ “สมาร์ท กริด” โดยมีระบบบริหารจัดการแบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Building Energy Management (BEM)
สำหรับในแง่ของส่วนประกอบหลักสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการนั้น ผศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร ระบุว่ามีด้วยกัน 2 แบบ แบบแรกเป็นการติดตั้งแบบกราวนด์เมาท์ (ตั้งบนพื้น) มีกำลังผลิต 350 kW อีกแบบคือติดตั้งแบบ “รูฟท็อป” (ติดตั้งบนหลังคา) มีกำลังผลิต 50 kW โดยมีระบบสะสมพลังงานจากแบตเตอรี่ที่มีความจุ 100 kW ต่อชั่วโมง ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นระบบบริหารจัดการ พลังงานแบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (BEM) ที่ให้ประโยชน์ยิ่งกว่าระบบผลิตไฟฟ้าในอดีต ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานในลักษณะแยกจากกัน
แต่หลังจากที่ได้งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ แล้ววิทยาลัยพลังงานทดแทนจึงได้พัฒนาระบบต่างๆ ให้สามารถสื่อสารเข้ากันได้ ทั้งการผลิตไฟฟ้า และการควบคุมการใช้งานที่เราสามารถกำหนดการใช้ในแต่ละวันและแต่ละช่วงเวลาได้
ด้วยเหตุนี้ ระบบดังกล่าวจึงมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการควบคุมในเรื่องความต้องการกระแสไฟฟ้าสูงสุด โดย ดร.สุขฤดี สุขใจ ได้ยกตัวอย่างการติดเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมแสงสว่างในอาคาร ซึ่งหากไม่มีคนอยู่ในห้องก็จะไม่มีการจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังหลอดไฟและเครื่องปรับอากาศ แต่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าตามปกติเฉพาะเมื่อมีคนอยู่เท่านั้น ทำให้ช่วยลดค่ากระแสไฟฟ้าได้ร้อยละ 30-40
“ที่ผ่านมามีหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชนเดินทางมาศึกษาดูงานที่วิทยาลัยของเราเกือบทุกวัน ต้องถือว่าบรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานทุกประการ และเราเองก็มีความเต็มใจอย่างยิ่งสำหรับการแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยีในเรื่องนี้” ผอ.วิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร กล่าวส่งท้าย