จันทบุรี - เจ้างาบิดนำโขลงช้างป่ากว่า 40 ตัว เดินข้ามคูดักช้างเข้ามาในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน 2 หมู่บ้าน ขณะเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เตรียมขยายพื้นที่คูดักช้างให้ครอบคลุมพื้นที่
ผู้สื่อข่าวรายงานปัญหาโขลงช้างป่ากว่า 40 ตัว ที่ยังอยู่ในพื้นที่การเกษตรหมู่ที่ 1 และ 9 ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี มานานกว่า 2 สัปดาห์ ยังไม่มีท่าทีจะกลับขึ้นเขากล้วย หรือเขาปอ ยังคงรุกคืบเข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรจนเสียหายเป็นวงกว้าง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ผู้ปกครอง และนักเรียนหวาดระแวงขณะส่งบุตรหลานขึ้นรถตู้ และรถบัสที่จอดรอริมถนนในหมู่บ้าน เพราะกลัวช้างป่าจะข้ามถนนมาทำร้าย
แม้ในช่วงเช้า และช่วงเย็นจะมีเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทหาร ตำรวจ และผู้นำท้องถิ่นจะเข้ามาดูแลนักเรียน และชาวบ้านก็ตาม แต่ความกลัวของชาวบ้านใน 2 หมู่บ้านยังไม่หมดไป ขณะที่เจ้างาบิด นำโขลงช้างป่าข้ามคูดักช้างที่ได้ก่อสร้างกว่า 80% เข้ามาในพื้นที่การเกษตรได้ เพราะความแห้งแล้งทำให้น้ำในคูดักช้างแห้งขอด โขลงช้างป่าจึงเดินข้ามคูดักช้างมาได้อย่างสบาย
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ยังคงเห็นด้วยกับทางอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านที่ได้มีการประชุมและตกลงร่วมกันใน 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.คูดักช้างที่ยังไม่แล้วเสร็จจะเดินหน้าต่อไป เพราะเป็นการชะลอช้างป่าที่จะเข้ามาทำร้ายชาวบ้าน หรือวิ่งไล่รถนักเรียน 2.เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน อำเภอ ผู้นำท้องถิ่น จะนำป้ายมาติดเตือนตลอดแนวเส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านได้รับรู้ถึงพฤติกรรมของช้างป่า และให้ความรู้ชาวบ้านเมื่อเจอช้างป่าจะต้องหลีกเหลี่ยง หรือลดการเผชิญหน้าอย่างไร และ 3.เจ้าหน้าที่เขต อำเภอ และผู้นำท้องถิ่น จะเข้าไปสางเถาวัลย์ที่เป็นแหล่งอาศัยของโขลงช้างป่ากว่า 40 ตัวที่เหลือในพื้นที่ เพื่อไม่ให้โขลงช้างป่ามีแหล่งพัก หรือแหล่งหลบซ่อนตัว จะทำให้โขลงช้างป่าไม่มีที่พักในการหลบแดด หลบฝน และกลับขึ้นเขาหรือเข้าป่าไปเอง ซึ่งชาวบ้านอยากให้รีบดำเนินการโดยด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานปัญหาโขลงช้างป่ากว่า 40 ตัว ที่ยังอยู่ในพื้นที่การเกษตรหมู่ที่ 1 และ 9 ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี มานานกว่า 2 สัปดาห์ ยังไม่มีท่าทีจะกลับขึ้นเขากล้วย หรือเขาปอ ยังคงรุกคืบเข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรจนเสียหายเป็นวงกว้าง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ผู้ปกครอง และนักเรียนหวาดระแวงขณะส่งบุตรหลานขึ้นรถตู้ และรถบัสที่จอดรอริมถนนในหมู่บ้าน เพราะกลัวช้างป่าจะข้ามถนนมาทำร้าย
แม้ในช่วงเช้า และช่วงเย็นจะมีเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทหาร ตำรวจ และผู้นำท้องถิ่นจะเข้ามาดูแลนักเรียน และชาวบ้านก็ตาม แต่ความกลัวของชาวบ้านใน 2 หมู่บ้านยังไม่หมดไป ขณะที่เจ้างาบิด นำโขลงช้างป่าข้ามคูดักช้างที่ได้ก่อสร้างกว่า 80% เข้ามาในพื้นที่การเกษตรได้ เพราะความแห้งแล้งทำให้น้ำในคูดักช้างแห้งขอด โขลงช้างป่าจึงเดินข้ามคูดักช้างมาได้อย่างสบาย
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ยังคงเห็นด้วยกับทางอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านที่ได้มีการประชุมและตกลงร่วมกันใน 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.คูดักช้างที่ยังไม่แล้วเสร็จจะเดินหน้าต่อไป เพราะเป็นการชะลอช้างป่าที่จะเข้ามาทำร้ายชาวบ้าน หรือวิ่งไล่รถนักเรียน 2.เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน อำเภอ ผู้นำท้องถิ่น จะนำป้ายมาติดเตือนตลอดแนวเส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านได้รับรู้ถึงพฤติกรรมของช้างป่า และให้ความรู้ชาวบ้านเมื่อเจอช้างป่าจะต้องหลีกเหลี่ยง หรือลดการเผชิญหน้าอย่างไร และ 3.เจ้าหน้าที่เขต อำเภอ และผู้นำท้องถิ่น จะเข้าไปสางเถาวัลย์ที่เป็นแหล่งอาศัยของโขลงช้างป่ากว่า 40 ตัวที่เหลือในพื้นที่ เพื่อไม่ให้โขลงช้างป่ามีแหล่งพัก หรือแหล่งหลบซ่อนตัว จะทำให้โขลงช้างป่าไม่มีที่พักในการหลบแดด หลบฝน และกลับขึ้นเขาหรือเข้าป่าไปเอง ซึ่งชาวบ้านอยากให้รีบดำเนินการโดยด่วน