xs
xsm
sm
md
lg

สวนสัตว์เปิดเขาเขียวจัดเสวนา “การรีดน้ำเชื้อและความเป็นไปได้ในการผสมเทียมช้างเอเชีย”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จัดประชุมเสวนาการรีดน้ำเชื้อและความเป็นไปได้ในการผสมเทียมช้างเอเชีย แห่งแรกในองค์การสวนสัตว์



นายสุริยา แสงพงค์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เผยว่า การจัดเสวนาในครั้งเนื่องจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สังกัดองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ การศึกษาวิจัย การให้ข้อมูลทางด้านสัตว์ป่า และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นธรรมชาติให้แก่ประชาชน
 
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว มีช้างอยู่ในความดูแลประมาณ 10 เชือก ซึ่งมีเพศเมียชื่อ “พังจันทร์เพ็ญ” เป็นช้างที่มีรูปร่างดี สวยงามที่สุดใน 7 สวน ขององค์การสวนสัตว์ แต่ไม่ยอมผสมพันธุ์กับช้างเพศผู้ตัวใดเลย ทำให้เป็นที่มาของโครงการ “การทดลองผสมเทียมช้างเอเชียของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เพื่อเป็นต้นแบบสู่การขยายพันธุ์ช้างไทยในโครงการคชอาณาจักร”
 
ในการดำเนินงานครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว คณะสัตวแพทยศาสตร์ สำนักอนุรักษ์ วิจัย และการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

โดยกระบวนการหลักๆ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ การรีดน้ำเชื้อเพื่อดูลักษณะและความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อ การสกัดฮอร์โมนเพื่อหาวงรอบที่เหมาะสมในการผสมเทียม และการแช่แข็งน้ำเชื้อเพื่อดูลักษณะและความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อ การสกัดฮอร์โมนเพื่อหาวงรอบที่เหมาะสมในการผสมเทียม และการแช่แข็งน้ำเชื้อ

โดยที่ผ่านมา ทีมงานสัตวแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินงานในการผสมเทียมจะทำการผสมเทียม 3-4 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในช่วงการตกไข่ของช้างจริงๆ ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากในการผสมเทียมช้าง ความพยายามที่ผ่านมาสามารถทำให้มีลูกช้างที่เกิดจากการผสมเทียม(ด้วยน้ำเชื้อสด) แล้ว 1 เชือก ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง และถือว่าเป็นความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ไทย และหวังว่าในขั้นต่อไปเราจะมีลูกช้างที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อช้างแช่แข็งในอนาคต

จากความสำเร็จดังกล่าวทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จึงได้ประสานงานกับทีมงานชุดเดิมเพื่อการศึกษาต่อเนื่องในการผสมเทียมช้างเอเชียภายในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว อีกทั้งยังเป็นการฝึกนักวิทยาศาสตร์ขององค์การสวนสัตว์ ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการใช้องค์ความรู้ทางสรีรวิทยาสัตว์ป่ามาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มจำนวนสัตว์ป่าหายาก เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น