บุรีรัมย์ - ชาวนา 2 หมู่บ้าน ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ กว่า 50 คน รวมตัวร้องรัฐช่วยหลังรายชื่อตกหล่นไม่มีสิทธิรับเงินไร่ละ 1,000 บาท พร้อมอ้างที่ผ่านมาลงทะเบียนทุกปีและได้รับเงินภัยพิบัติแล้ง น้ำท่วมมาตลอด จึงขอให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ หรือแก้ไขหลักเกณฑ์มาตรการช่วยเหลือชาวนาให้ได้รับประโยชน์ทุกราย
วันนี้ (14 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาบ้านตะแบง หมู่ 2 และบ้านโนนสำราญ หมู่ 1 ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ กว่า 50 คน ออกมารวมตัวกันบริเวณหน้าที่ทำการผู้ใหญ่บ้านบ้านตะแบงเพื่อเรียกร้องสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิตให้แก่ชาวนาผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล ด้วยการจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยให้ชาวนาไปขึ้นทะเบียนผู้ผลิตปลูกข้าว ปี 2557/58 ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ
ปรากฏว่าชาวนาทั้งสองหมู่บ้านไม่สามารถขึ้นทะเบียนรับเงินดังกล่าวได้ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าชาวนาเหล่านี้ไม่มีรายชื่อในสารบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เมื่อปี 2552 ทำให้ไม่มีรายชื่ออยู่ในสารบบ ทั้งที่ทุกรายมีหลักฐานเป็นสมุดทะเบียนเกษตรกรมาแสดง พร้อมอ้างว่าที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือภัยพิบัติทั้งภัยแล้ง และน้ำท่วมทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายจากทางราชการมาโดยตลอด
แต่การขึ้นทะเบียนผู้ผลิตปลูกข้าว ปี 2557/58 เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากทางรัฐบาลในครั้งนี้กลับไม่มีสิทธิทำให้รายชื่อตกหล่นไม่มีชื่อในสารบบ จึงเรียกร้องให้ทางภาครัฐและเกษตรจังหวัดเข้ามาตรวจสอบสิทธิของเกษตรกรทั้งสองหมู่บ้านดังกล่าวอย่างเร่งด่วนด้วยว่ากรณีดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะชาวนาที่มาร้องเรียนครั้งนี้ได้ทำนาจริง แต่ทำไมถึงขาดสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือ
พร้อมขอให้รัฐบาลได้แก้ไขหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือชาวนาในครั้งนี้ ได้ครอบคลุมถึงชาวนาที่ทำนาจริงทุกราย เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่ต่างยากจนและมีหนี้สินด้วยกันทุกราย เพื่อจะได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อปัจจัยการผลิตเป็นการแบ่งเบาภาระลดปัญหาความเดือดร้อนของชาวนาได้
ทั้งนี้ มีชาวนาบางรายในหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน โดยมีเอกสารสิทธิเป็น ภบท.5 และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2552 แต่กลับได้รับสิทธิในการช่วยเหลือ จึงคิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
นางวิภาดา ธนะวรรณสกุล ชาวนาบ้านตะแบง หมู่ 2 ต.หัวฝาย อ.แคนดง บอกว่า อยากทราบสาเหตุว่าลงทะเบียนเกษตรกรทุกปีและได้รับการช่วยเหลือทั้งภัยแล้งน้ำท่วมมาตลอด แต่การที่รัฐจะช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เหตุใดรายชื่อตกหล่น จึงอยากให้ทางราชการช่วยตรวจสอบและมาชี้แจงกับชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านยังสับสนกับมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว
ด้าน นางสาวสุจิตย์ หลามเทียม ชาวนาบ้านตะแบง กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลออกมาตรการใหม่ช่วยเหลือชาวนาทุกคน จะให้ขึ้นทะเบียนใหม่ก็ยอม พร้อมตรวจสอบชาวนาทุกรายได้ทำนาจริงแต่ไม่มีสิทธิเพราะเหตุใด
ขณะที่ นายสนอง กมลพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านตะแบง หมู่ 2 ต.หัวฝาย อ.แคนดง กล่าวว่า ในหมู่บ้านมีเกษตรกรทำนา 65 ราย พื้นที่นา 692 ไร่ ได้นำรายชื่อชาวนาที่ตกหล่นส่งให้เกษตรอำเภอแล้ว แต่ไม่แจ้งสาเหตุการตกหล่นของรายชื่อให้ทราบทำให้ไม่สามารถชี้แจงกับชาวบ้านได้ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและชี้แจงกับชาวบ้านด้วยตัวเองอีกครั้ง
วันนี้ (14 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาบ้านตะแบง หมู่ 2 และบ้านโนนสำราญ หมู่ 1 ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ กว่า 50 คน ออกมารวมตัวกันบริเวณหน้าที่ทำการผู้ใหญ่บ้านบ้านตะแบงเพื่อเรียกร้องสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิตให้แก่ชาวนาผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล ด้วยการจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยให้ชาวนาไปขึ้นทะเบียนผู้ผลิตปลูกข้าว ปี 2557/58 ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ
ปรากฏว่าชาวนาทั้งสองหมู่บ้านไม่สามารถขึ้นทะเบียนรับเงินดังกล่าวได้ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าชาวนาเหล่านี้ไม่มีรายชื่อในสารบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เมื่อปี 2552 ทำให้ไม่มีรายชื่ออยู่ในสารบบ ทั้งที่ทุกรายมีหลักฐานเป็นสมุดทะเบียนเกษตรกรมาแสดง พร้อมอ้างว่าที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือภัยพิบัติทั้งภัยแล้ง และน้ำท่วมทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายจากทางราชการมาโดยตลอด
แต่การขึ้นทะเบียนผู้ผลิตปลูกข้าว ปี 2557/58 เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากทางรัฐบาลในครั้งนี้กลับไม่มีสิทธิทำให้รายชื่อตกหล่นไม่มีชื่อในสารบบ จึงเรียกร้องให้ทางภาครัฐและเกษตรจังหวัดเข้ามาตรวจสอบสิทธิของเกษตรกรทั้งสองหมู่บ้านดังกล่าวอย่างเร่งด่วนด้วยว่ากรณีดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะชาวนาที่มาร้องเรียนครั้งนี้ได้ทำนาจริง แต่ทำไมถึงขาดสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือ
พร้อมขอให้รัฐบาลได้แก้ไขหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือชาวนาในครั้งนี้ ได้ครอบคลุมถึงชาวนาที่ทำนาจริงทุกราย เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่ต่างยากจนและมีหนี้สินด้วยกันทุกราย เพื่อจะได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อปัจจัยการผลิตเป็นการแบ่งเบาภาระลดปัญหาความเดือดร้อนของชาวนาได้
ทั้งนี้ มีชาวนาบางรายในหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน โดยมีเอกสารสิทธิเป็น ภบท.5 และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2552 แต่กลับได้รับสิทธิในการช่วยเหลือ จึงคิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
นางวิภาดา ธนะวรรณสกุล ชาวนาบ้านตะแบง หมู่ 2 ต.หัวฝาย อ.แคนดง บอกว่า อยากทราบสาเหตุว่าลงทะเบียนเกษตรกรทุกปีและได้รับการช่วยเหลือทั้งภัยแล้งน้ำท่วมมาตลอด แต่การที่รัฐจะช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เหตุใดรายชื่อตกหล่น จึงอยากให้ทางราชการช่วยตรวจสอบและมาชี้แจงกับชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านยังสับสนกับมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว
ด้าน นางสาวสุจิตย์ หลามเทียม ชาวนาบ้านตะแบง กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลออกมาตรการใหม่ช่วยเหลือชาวนาทุกคน จะให้ขึ้นทะเบียนใหม่ก็ยอม พร้อมตรวจสอบชาวนาทุกรายได้ทำนาจริงแต่ไม่มีสิทธิเพราะเหตุใด
ขณะที่ นายสนอง กมลพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านตะแบง หมู่ 2 ต.หัวฝาย อ.แคนดง กล่าวว่า ในหมู่บ้านมีเกษตรกรทำนา 65 ราย พื้นที่นา 692 ไร่ ได้นำรายชื่อชาวนาที่ตกหล่นส่งให้เกษตรอำเภอแล้ว แต่ไม่แจ้งสาเหตุการตกหล่นของรายชื่อให้ทราบทำให้ไม่สามารถชี้แจงกับชาวบ้านได้ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและชี้แจงกับชาวบ้านด้วยตัวเองอีกครั้ง