xs
xsm
sm
md
lg

“สยามลวดเหล็ก” เปิดธนาคารพัฒนาชุมชน และ ร.ร.บ้านมาบตอง ตามโครงการ School-Bird

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บ.สยามลวดเหล็กฯเปิดธนาคารพัฒนาชุมชนและร.ร.บ้านมาบตอง
ระยอง - “สยามลวดเหล็ก” เปิดธนาคารพัฒนาชุมชน และโรงเรียนบ้านมาบตอง ตามโครงการ School -Bird พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง

วันนี้ (3 ก.ย.) ที่ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านมาบตอง หมู่ 10 บ้านมาบตอง ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ที่ใช้เป็นธนาคารพัฒนาชุมชน และโรงเรียนบ้านมาบตอง หมู่ 10 และบ้านชากไม้รวก หมู่ 11 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง นายชอง เป๊ก ฮุง กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด เป็นประธาน พร้อมด้วย นายนิกร อ่องอ่อน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส-ทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป นายโชคชัย บัวดิษฐ์ นายปราโมทย์ ฉันทมิตร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองละลอก และคณะผู้บริหาร ร่วมในพิธีเปิด “ธนาคารพัฒนาชุมชนและโรงเรียนบ้านมาบตอง” โดยมีชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และนักเรียนร่วมในพิธีจำนวนมาก

นายชอง เป๊ก ฮุง กล่าวผ่านล่ามว่า บริษัทได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง(School-Bird) ตั้งแต่ปี 2555 รวม 3 ปี มีการดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน สร้างความยั่งยืนให้แก่คนในชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียน 11 หมู่บ้านใน ต.หนองละลอก และครั้งนี้บริษัทได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งธนาคารพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นการเสริมการออม สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เป็นแหล่งความรู้ในการจัดการรายได้ และการประกอบอาชีพให้แก่คนในชุมชน และนักเรียน

สำหรับกองทุนธนาคารพัฒนาชุมชน เป็นกองทุนที่ทุกคนในชุมชนร่วมกันเป็นเจ้าของ บริหารงานโดยคณะกรรมการธนาคารพัฒนาชุมชน ตั้งขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้แก่ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในการลงทุนประกอบอาชีพ และส่งเสริมให้มีการออมเงินให้แก่ชุมชน โครงการต่างๆ ที่บริษัทร่วมกับชุมชนที่ผ่านมา จะเกิดประโยชน์ และสร้างความสุขให้แก่ชุมชน ซึ่งบริษัทจะทำโครงการที่ดีและให้การสนับสนุนโครงการเพื่อชุมชนต่อไป

ด้าน นายนิกร กล่าวว่า บริษัทให้การสนับสนุนโครงการ School- Bird มานานรวม 3 ปี โดยร่วมกับมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ เป็นเงิน 12 ล้านบาท และโครงการธนาคารพัฒนาชุมชน ก็เป็น 1 ใน โครงการ School -Bird มีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนกู้นำไปประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน นำดอกผลไปพัฒนาชุมชน การศึกษา สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่บริษัทคาดหวังว่าจะทำให้ชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยบริษัทให้การสนับสนุนเงินกองทุนครั้งแรกหมู่บ้านละ 100,000 บาท ให้กู้รายละ 10,000 บาท หมุนเวียนกันไป โดยเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพัฒนาชุมชนร้อยละ 1 บาท เพื่อนำรายได้ไปพัฒนาในชุมชนต่อไป
มีชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมนี้จำนวนมาก
ชาวบ้านจะเป็นผู้บริหารและจัดการโครงการธนาคารแห่งนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น