มหาสารคาม - ห่วงโรคมือ เท้า ปากเริ่มระบาดหนักในจังหวัดมหาสารคาม โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ล่าสุดเดือนมิถุนายนพบเด็กป่วยกว่า 11 ราย สูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมานับเท่าตัว
วันนี้ (30 มิ.ย.) ทีมระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 45 ราย โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนพบเด็กป่วยมากที่สุดถึง 11 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนๆ ถึงเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต้องสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ขณะนี้กำลังสังเกตอาการอยู่อีกจำนวนหนึ่ง
โดยทีมระบาดวิทยาได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สำรวจและลงพื้นที่ให้ความรู้แก่โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กต่างๆ ให้มีความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เพื่อหาแนวทางป้องกัน
พร้อมทั้งแนะนำให้คุณครู หรือพี่เลี้ยงเด็กหมั่นสังเกตอาการเด็กเจ็บป่วยอย่างใกล้ชิด ทำความสะอาดโรงเรียนหรือสถานที่เลี้ยงเด็กให้สะอาดสม่ำเสมอ ไม่ให้แออัด และมีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมือ เท้า ปากในโรงเรียนหรือสถานที่เลี้ยงเด็กได้
นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน หลายพื้นที่อากาศเย็นและชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ
จึงฝากเตือนถึงผู้ปกครองให้ดูแลสุขภาพบุตรหลานโดยเฉพาะเด็กช่วงอายุระหว่าง 2-4 ขวบ เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการมีไข้ปานกลางถึงไข้สูง ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดง ตุ่มพองขึ้นตามมือเท้า ลักษณะไม่คัน หากพบให้รีบไปพบแพทย์ เพราะโรคนี้รักษาได้ ส่วนใหญ่มักอาการไม่รุนแรง หายได้เองภายใน 7-10 วัน มีน้อยมากที่จะมีโรคแทรกซ้อน
วันนี้ (30 มิ.ย.) ทีมระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 45 ราย โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนพบเด็กป่วยมากที่สุดถึง 11 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนๆ ถึงเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต้องสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ขณะนี้กำลังสังเกตอาการอยู่อีกจำนวนหนึ่ง
โดยทีมระบาดวิทยาได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สำรวจและลงพื้นที่ให้ความรู้แก่โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กต่างๆ ให้มีความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เพื่อหาแนวทางป้องกัน
พร้อมทั้งแนะนำให้คุณครู หรือพี่เลี้ยงเด็กหมั่นสังเกตอาการเด็กเจ็บป่วยอย่างใกล้ชิด ทำความสะอาดโรงเรียนหรือสถานที่เลี้ยงเด็กให้สะอาดสม่ำเสมอ ไม่ให้แออัด และมีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมือ เท้า ปากในโรงเรียนหรือสถานที่เลี้ยงเด็กได้
นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน หลายพื้นที่อากาศเย็นและชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ
จึงฝากเตือนถึงผู้ปกครองให้ดูแลสุขภาพบุตรหลานโดยเฉพาะเด็กช่วงอายุระหว่าง 2-4 ขวบ เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการมีไข้ปานกลางถึงไข้สูง ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดง ตุ่มพองขึ้นตามมือเท้า ลักษณะไม่คัน หากพบให้รีบไปพบแพทย์ เพราะโรคนี้รักษาได้ ส่วนใหญ่มักอาการไม่รุนแรง หายได้เองภายใน 7-10 วัน มีน้อยมากที่จะมีโรคแทรกซ้อน