ชัยนาท - จังหวัดชัยนาท พร้อมคณะสงฆ์ และหน่วยงานราชการใน จ.ชัยนาท ร่วมประชุมโครงการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เตรียมสร้าง “หมู่บ้านรักษาศีล 5” เพื่อพัฒนาสู่ความปรองดอง สมานฉันท์
ที่วัดสระไม้แดง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ได้มีการเชิญคณะสงฆ์ และหน่วยงานราชการต่างๆ เข้าร่วมประชุมโครงการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยฝ่ายสงฆ์ ประกอบไปด้วย เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท รองเจ้าคณะภาค 3 ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท คณะสงฆ์จากทุกอำเภอของจังหวัดชัยนาท
และฝ่ายบ้านเมือง นำโดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทุกอำเภอ ตัวแทนภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งนอกจากนั้น ยังมีพระธรรมปิฎก เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี พร้อมประธานชมรมสระบุรีร่มเย็น มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในการเป็นจังหวัดต้นแบบที่รณรงค์ให้คนในบ้าน หมู่บ้าน ชุมชน อำเภอ และจังหวัดสมัครใจเข้าร่วมโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ที่นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เคยบุกเบิกมาก่อนหน้าในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ในการนำดำริจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่พระสังฆราช ที่ต้องการเห็นคนไทยปฏิบัติตามหลักของศีล 5
จากมติของคณะเถรสมาคม และมติของ คสช. ที่เห็นชอบให้มีการรณรงค์สานต่อโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมใน 76 จังหวัด เนื่องจากศีล 5 ที่เป็นเรื่องธรรมดาของพุทธศาสนิกชน กลับมีอำนาจมากจนสามารถเป็นหลักประกันให้แก่สังคม เพราะเมื่อคนมีศีล จะก่อให้เกิดความสุขแก่คนใน ครอบครัว ขยายสู่หมู่บ้าน และชุมชน ส่งผลให้เกิดความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติสุขอย่างแท้จริงในสังคมไทย ซึ่งเส้นทางแห่งความสำเร็จนั้นจะมาจากการขับเคลื่อนของทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายบ้านเมืองทุกระดับ ที่ร่วมชี้แจงให้พระสงฆ์ทุกรูป ประชาชนทุกคนรับรู้ถึงโครงการนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
เริ่มจากการมีกรรมการบริหารของแต่ละหมู่บ้าน การเลือกหมู่บ้านนำร่องที่มีความพร้อม การลงทะเบียนในใบสมัคร การมีฐานข้อมูลบุคคลที่มีตัวตนในเว็บไซต์ ประกอบกับการจัดกิจกรรมในด้านธรรมะอย่างต่อเนื่อง โดยมีเกณฑ์จากคนที่รักษาศีล 5 จำนวน 50% ของคนในบ้าน เช่น ในบ้านมี 4 คน รักษาศีล 2 คน ก็ถือว่าเป็น “ครอบครัวรักษาศีล 5” และ 50% ของจำนวนครอบครัว ก็จะเป็น “หมู่บ้านรักษาศีล 5” และค่อยพัฒนาให้เป็น 80% และ 100% ในโอกาสต่อไป อีกทั้งสถานศึกษาก็เป็นอีกแหล่งที่สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น 76 จังหวัดในขณะนี้ จึงกำลังร่วมกันเรียกความสุขของคนไทยให้กลับคืนมา จากโครงการที่ชื่อว่า “หมู่บ้านรักษาศีล 5” โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ www.sila5.com
ที่วัดสระไม้แดง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ได้มีการเชิญคณะสงฆ์ และหน่วยงานราชการต่างๆ เข้าร่วมประชุมโครงการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยฝ่ายสงฆ์ ประกอบไปด้วย เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท รองเจ้าคณะภาค 3 ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท คณะสงฆ์จากทุกอำเภอของจังหวัดชัยนาท
และฝ่ายบ้านเมือง นำโดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทุกอำเภอ ตัวแทนภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งนอกจากนั้น ยังมีพระธรรมปิฎก เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี พร้อมประธานชมรมสระบุรีร่มเย็น มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในการเป็นจังหวัดต้นแบบที่รณรงค์ให้คนในบ้าน หมู่บ้าน ชุมชน อำเภอ และจังหวัดสมัครใจเข้าร่วมโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ที่นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เคยบุกเบิกมาก่อนหน้าในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ในการนำดำริจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่พระสังฆราช ที่ต้องการเห็นคนไทยปฏิบัติตามหลักของศีล 5
จากมติของคณะเถรสมาคม และมติของ คสช. ที่เห็นชอบให้มีการรณรงค์สานต่อโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมใน 76 จังหวัด เนื่องจากศีล 5 ที่เป็นเรื่องธรรมดาของพุทธศาสนิกชน กลับมีอำนาจมากจนสามารถเป็นหลักประกันให้แก่สังคม เพราะเมื่อคนมีศีล จะก่อให้เกิดความสุขแก่คนใน ครอบครัว ขยายสู่หมู่บ้าน และชุมชน ส่งผลให้เกิดความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติสุขอย่างแท้จริงในสังคมไทย ซึ่งเส้นทางแห่งความสำเร็จนั้นจะมาจากการขับเคลื่อนของทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายบ้านเมืองทุกระดับ ที่ร่วมชี้แจงให้พระสงฆ์ทุกรูป ประชาชนทุกคนรับรู้ถึงโครงการนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
เริ่มจากการมีกรรมการบริหารของแต่ละหมู่บ้าน การเลือกหมู่บ้านนำร่องที่มีความพร้อม การลงทะเบียนในใบสมัคร การมีฐานข้อมูลบุคคลที่มีตัวตนในเว็บไซต์ ประกอบกับการจัดกิจกรรมในด้านธรรมะอย่างต่อเนื่อง โดยมีเกณฑ์จากคนที่รักษาศีล 5 จำนวน 50% ของคนในบ้าน เช่น ในบ้านมี 4 คน รักษาศีล 2 คน ก็ถือว่าเป็น “ครอบครัวรักษาศีล 5” และ 50% ของจำนวนครอบครัว ก็จะเป็น “หมู่บ้านรักษาศีล 5” และค่อยพัฒนาให้เป็น 80% และ 100% ในโอกาสต่อไป อีกทั้งสถานศึกษาก็เป็นอีกแหล่งที่สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น 76 จังหวัดในขณะนี้ จึงกำลังร่วมกันเรียกความสุขของคนไทยให้กลับคืนมา จากโครงการที่ชื่อว่า “หมู่บ้านรักษาศีล 5” โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ www.sila5.com