ศูนย์ข่าวขอนแก่น - สภาการศึกษาไทยเดินหน้าขยายผลแนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา หรือ Constructionism สู่การปฏิบัติ ผนึกสถานศึกษา 45 แห่งผลักดันการศึกษาไทยและขยายผลในอนาคตต่อไป
วันนี้ (10 มี.ค.) ที่โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2557 เรื่องมหกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและการศึกษาทางเลือกโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อนุกรรมการสภาศึกษา ผู้บริหารและครูจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อร่วมนำแนวคิดและองค์ความรู้ เรื่องการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา หรือ Constructionism
มาประยุกต์และปรับใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษาไทยในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การจัดการเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ ตามแนวคิดจากศาสตราจารย์ Seymour Papert และDr.paulo Blikstein จากมหาวิทยาลัย Stanford พร้อมเน้นการสนับสนุนให้สถานศึกษาต้นแบบ 6 แห่งในประเทศไทย นำร่องความคิดดังกล่าว มีสถานศึกษาจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญารวมทั้งสิ้น 45 แห่ง
โดยในครั้งนี้เปิดเวทีให้ผู้จัดการศึกษา ร่วมมหกรรมแสดงผลงานจากแนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา หรือ Constructionism รวม 24 แห่งได้แก่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ วางแผนและลงมือทำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ ซึ่งเป็นอีกสถานบันการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อันจะเป็นการขยายผลในอนาคตต่อไป
วันนี้ (10 มี.ค.) ที่โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2557 เรื่องมหกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและการศึกษาทางเลือกโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อนุกรรมการสภาศึกษา ผู้บริหารและครูจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อร่วมนำแนวคิดและองค์ความรู้ เรื่องการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา หรือ Constructionism
มาประยุกต์และปรับใช้เพื่อสนับสนุนการศึกษาไทยในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การจัดการเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ ตามแนวคิดจากศาสตราจารย์ Seymour Papert และDr.paulo Blikstein จากมหาวิทยาลัย Stanford พร้อมเน้นการสนับสนุนให้สถานศึกษาต้นแบบ 6 แห่งในประเทศไทย นำร่องความคิดดังกล่าว มีสถานศึกษาจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญารวมทั้งสิ้น 45 แห่ง
โดยในครั้งนี้เปิดเวทีให้ผู้จัดการศึกษา ร่วมมหกรรมแสดงผลงานจากแนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา หรือ Constructionism รวม 24 แห่งได้แก่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ วางแผนและลงมือทำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ ซึ่งเป็นอีกสถานบันการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อันจะเป็นการขยายผลในอนาคตต่อไป