มหาสารคาม - จังหวัดมหาสารคาม จัดงานกระบือไทยก้าวไกลสู่อาเซียน พัฒนา และอนุรักษ์การเลี้ยงกระบือให้สามารถผลิต และส่งออก รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พร้อมจัดโซนนิ่งขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อแบบครบวงจร
วันนี้ (14 ธ.ค.) ที่ด่านกักกันสัตว์มหาสารคาม อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม นายอดุล จันทนปุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดงานกระบือไทยก้าวไกลสู่อาเซียน ครั้งที่ 1 พร้อมเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งจากสถิติเมื่อปี 2553 จังหวัดมีกระบือ 38,083 ตัว แต่ในปี 2556 ลดลงเหลือเพียง 26,235 ตัว
ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรขาดแรงจูงใจในการเลี้ยง เลิกเลี้ยง และขาย ทำให้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กระบือถูกส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์ และส่งจำหน่ายประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรหันกลับมาเลี้ยงกระบือให้มากขึ้น สามารถผลิตกระบือที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ พร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 จึงได้ร่วมกันจัดงานดังกล่าวขึ้น
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2557 จังหวัดยังเป็น 1 ใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ที่กำหนดเป็นพื้นที่โซนนิ่งส่งเสริมการผลิตโคเนื้อ พร้อมปรับตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ใหม่ กำหนดให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งผลิตโคเนื้อครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีการเลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ประมาณ 120,000 ตัว เกษตรกร 30,000 ครอบครัว
โดยจังหวัดมหาสารคาม มีโคเนื้อมากเป็นอันดับ 10 ของประเทศ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด จึงได้พัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อแบบครบวงจรให้แก่เกษตร เป้าหมายใน 108 ตำบล สร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรในการพัฒนาโคเนื้อคุณภาพดีปีละ 20,000 ตัว มีลูกโคเนื้อคุณภาพดีเกิดปีละ 8,000-10,000 ตัว รวมมูลค่าสัตว์มีชีวิตไม่น้อยกว่า 120-150 ล้านบาทต่อปี
วันนี้ (14 ธ.ค.) ที่ด่านกักกันสัตว์มหาสารคาม อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม นายอดุล จันทนปุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดงานกระบือไทยก้าวไกลสู่อาเซียน ครั้งที่ 1 พร้อมเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งจากสถิติเมื่อปี 2553 จังหวัดมีกระบือ 38,083 ตัว แต่ในปี 2556 ลดลงเหลือเพียง 26,235 ตัว
ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรขาดแรงจูงใจในการเลี้ยง เลิกเลี้ยง และขาย ทำให้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กระบือถูกส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์ และส่งจำหน่ายประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรหันกลับมาเลี้ยงกระบือให้มากขึ้น สามารถผลิตกระบือที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ พร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 จึงได้ร่วมกันจัดงานดังกล่าวขึ้น
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2557 จังหวัดยังเป็น 1 ใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ที่กำหนดเป็นพื้นที่โซนนิ่งส่งเสริมการผลิตโคเนื้อ พร้อมปรับตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ใหม่ กำหนดให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งผลิตโคเนื้อครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีการเลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ประมาณ 120,000 ตัว เกษตรกร 30,000 ครอบครัว
โดยจังหวัดมหาสารคาม มีโคเนื้อมากเป็นอันดับ 10 ของประเทศ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด จึงได้พัฒนาระบบการผลิตโคเนื้อแบบครบวงจรให้แก่เกษตร เป้าหมายใน 108 ตำบล สร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรในการพัฒนาโคเนื้อคุณภาพดีปีละ 20,000 ตัว มีลูกโคเนื้อคุณภาพดีเกิดปีละ 8,000-10,000 ตัว รวมมูลค่าสัตว์มีชีวิตไม่น้อยกว่า 120-150 ล้านบาทต่อปี