กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรี เตือนประชาชนชนรักษาสุขภาพ และดูแลเด็กเล็ก ป้องกันโรคระบาดช่วงฤดูหนาว
วันนี้ (3 ต.ค.) นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ขณะนี้อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูหนาว จากสภาพอากาศจะเป็นบ่อเกิดของการติดเชื้อไวรัสเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส และโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก ดังนั้น ประชาชนจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพ หากร่างกายปรับสภาพไม่ทันจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวอาจเจ็บป่วยได้ง่าย
สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จะใช้มาตรการในการดูแลประชาชนในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ 1.การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในช่วงฤดูหนาว 2.การควบคุมโรค ในกรณีถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อ โดยทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และ 3.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจําตัวเรื้อรัง
เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น เพื่อการป้องกันตนเองไม่ให้เจ็บป่วยในช่วงฤดูหนาว ควรสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายโดยสวมเสื้อผ้าหนาหรือ สวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น สวมผ้าพันคอ หมวก และถุงเท้า พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพิ่มกินผัก และผลไม้หลากสี เช่น ผักคะน้า ตำลึง ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ มะละกอสุก ส้ม ฝรั่ง เป็นต้น ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที และกินอาหารร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ จะช่วยป้องกันโรคติดต่อจากอาหาร และน้ำ และโรคทางเดินหายใจได้
วันนี้ (3 ต.ค.) นพ.นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ขณะนี้อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูหนาว จากสภาพอากาศจะเป็นบ่อเกิดของการติดเชื้อไวรัสเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส และโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก ดังนั้น ประชาชนจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพ หากร่างกายปรับสภาพไม่ทันจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวอาจเจ็บป่วยได้ง่าย
สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จะใช้มาตรการในการดูแลประชาชนในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ 1.การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในช่วงฤดูหนาว 2.การควบคุมโรค ในกรณีถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อ โดยทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และ 3.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจําตัวเรื้อรัง
เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น เพื่อการป้องกันตนเองไม่ให้เจ็บป่วยในช่วงฤดูหนาว ควรสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายโดยสวมเสื้อผ้าหนาหรือ สวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น สวมผ้าพันคอ หมวก และถุงเท้า พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพิ่มกินผัก และผลไม้หลากสี เช่น ผักคะน้า ตำลึง ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ มะละกอสุก ส้ม ฝรั่ง เป็นต้น ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที และกินอาหารร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ จะช่วยป้องกันโรคติดต่อจากอาหาร และน้ำ และโรคทางเดินหายใจได้