ศูนย์ข่าวศรีราชา - พัทยาถกปัญหาความปลอดภัยทางทะเลซ้ำซาก หลังเกิดอุบัติภัยทางทะเลรอบ 3 ใน 2 เดือน
วันนี้ (3 ต.ค.) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา องค์กรภาคธุรกิจ สมาชิกสภาเมืองพัทยา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทยา รวมถึงตัวแทนผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว เพื่อร่วมหารือ และกำหนดมาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการ และการกำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลของเมืองพัทยา หลังเกิดอุบัติเหตุนักท่องเที่ยวสาวชาวอินเดีย ถูกใบพัดเรือยนต์ลากร่มพาราชู้ตฟันจนเสียชีวิตกลางทะเล ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 เดือน ที่สร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาอย่างรุนแรง
นายณัฐ กล่าวว่า อุบัติภัยทางทะเลของเมืองพัทยาถือว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากมาตรฐานในการให้บริการ การควบคุมกำกับดูแล และมาตรการในการป้องกันปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวยังมีปัญหา ซึ่งที่ผ่านมา ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้บูรณาการร่วมกับภาคท้องถิ่นคือ จังหวัดชลบุรี เมืองพัทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยทางทะเลขึ้นเพื่อกำกับดูและและควบคุมอย่างจริงจัง
นอกจากนั้น ยังมอบอำนาจให้แก่ท้องถิ่นโดยกรมเจ้าท่า เพื่อจัดสรรอำนาจให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบมาตรฐานของผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาในอนาคต ทั้งเรื่องคุณภาพของเรือ อุปกรณ์กู้ภัย ใบอนุญาตเดินเรือ นายท้าย หรือการบรรทุกนักท่องเที่ยวเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเริ่มปฏิบัติงานแต่ก็เกิดปัญหาซ้ำซากขึ้นอีก
นายณัฐ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการจัดประชุมร่วมเพื่อกำหนดมาตรการที่ชัดเจนและเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นกรณีของการเร่งออกประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเจ็ตสกีแล้ว ยังได้จัดทำร่างของการกำหนดเขต และพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง และเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการประกอบการที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากอุบัติภัยทางทะเลขึ้นอีก เช่น การกำหนดเขตว่ายน้ำตลอดแนวชายหาดจำนวน 17 จุด ในพื้นที่ 300x150 เมตร
การกำหนดพื้นที่เขตสันทนาการในการเดินเรือลากกล้วย เรือเจ็ตสกี เรือร้านอาหาร เรือลากร่มพาราเซล ซึ่งมีการกำหนด และระบุพื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งการเข้าออกของเรือเร็วทุกประเภทที่รับส่งนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาด เพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน และอันตรายที่จะเกิดขึ้น
ด้านนายสนิท บุญมาฉาย สมาชิกสภาเมืองพัทยา ในฐานะประธานชมรมเรือท่องเที่ยวพัทยา กล่าวว่า เห็นชอบกับแนวทางการทำงานที่จะก่อให้เกิดมาตรฐานด้านการให้บริการ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะการกำหนดเขตว่ายน้ำที่ชัดเจน แต่การกำหนดเขตพื้นที่การเดินเรือ หรือกิจกรรมทางน้ำที่ทางกรมเจ้าท่าจัดทำนั้น ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และการทำกินของผู้ประกอบการ เช่น เขตเรือลากกล้วย ที่กำหนดเขตพื้นที่ความกว้างใน 2 โซน เพียงระยะ 800 เมตร ความกว้าง 200 เมตร ซึ่งสภาพความเป็นจริงไม่สามารถประกอบการได้หากเกิดภาวะน้ำลง เช่นเดียวกับเขตโซนเล่นเรือเจ็ตสกีที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน
นอกจากนี้ การแบ่งแนวเขตของผู้ประกอบการของทั้ง 2 ประเภทที่ไม่ให้ประกอบกิจการปะปนทับซ้อนพื้นที่กันนั้นก็ทำให้การทำกินลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการจัดแบ่งอย่างชัดเจนโดยเรือเจ็ตสกีพัทยาเหนือถึงพัทยากลาง และเรือลากกล้วยเล่นโซนพัทยากลางถึงพัทยาใต้ ที่สำคัญแนวสัญจรการเดินเรือเร็วเข้าออกชายหาดนั้นมีการเพิ่มระยะทางที่อ้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงในด้านเชื้อเพลิงที่ต้องเพิ่มขึ้นอีก 75% ซึ่งแนวทางเหล่านี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คงจะไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องมีการปรับแก้ใหม่เพื่อความเหมาะสม
ขณะที่นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า มาตรการเหล่านี้จำเป็นต้องจัดทำ และดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ เร่งรัดให้กรมเจ้าท่าออกกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาเจ็ตสกีซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
วันนี้ (3 ต.ค.) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา องค์กรภาคธุรกิจ สมาชิกสภาเมืองพัทยา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทยา รวมถึงตัวแทนผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว เพื่อร่วมหารือ และกำหนดมาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการ และการกำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลของเมืองพัทยา หลังเกิดอุบัติเหตุนักท่องเที่ยวสาวชาวอินเดีย ถูกใบพัดเรือยนต์ลากร่มพาราชู้ตฟันจนเสียชีวิตกลางทะเล ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 เดือน ที่สร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาอย่างรุนแรง
นายณัฐ กล่าวว่า อุบัติภัยทางทะเลของเมืองพัทยาถือว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากมาตรฐานในการให้บริการ การควบคุมกำกับดูแล และมาตรการในการป้องกันปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวยังมีปัญหา ซึ่งที่ผ่านมา ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้บูรณาการร่วมกับภาคท้องถิ่นคือ จังหวัดชลบุรี เมืองพัทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยทางทะเลขึ้นเพื่อกำกับดูและและควบคุมอย่างจริงจัง
นอกจากนั้น ยังมอบอำนาจให้แก่ท้องถิ่นโดยกรมเจ้าท่า เพื่อจัดสรรอำนาจให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบมาตรฐานของผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาในอนาคต ทั้งเรื่องคุณภาพของเรือ อุปกรณ์กู้ภัย ใบอนุญาตเดินเรือ นายท้าย หรือการบรรทุกนักท่องเที่ยวเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเริ่มปฏิบัติงานแต่ก็เกิดปัญหาซ้ำซากขึ้นอีก
นายณัฐ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการจัดประชุมร่วมเพื่อกำหนดมาตรการที่ชัดเจนและเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นกรณีของการเร่งออกประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเจ็ตสกีแล้ว ยังได้จัดทำร่างของการกำหนดเขต และพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง และเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการประกอบการที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากอุบัติภัยทางทะเลขึ้นอีก เช่น การกำหนดเขตว่ายน้ำตลอดแนวชายหาดจำนวน 17 จุด ในพื้นที่ 300x150 เมตร
การกำหนดพื้นที่เขตสันทนาการในการเดินเรือลากกล้วย เรือเจ็ตสกี เรือร้านอาหาร เรือลากร่มพาราเซล ซึ่งมีการกำหนด และระบุพื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งการเข้าออกของเรือเร็วทุกประเภทที่รับส่งนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาด เพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน และอันตรายที่จะเกิดขึ้น
ด้านนายสนิท บุญมาฉาย สมาชิกสภาเมืองพัทยา ในฐานะประธานชมรมเรือท่องเที่ยวพัทยา กล่าวว่า เห็นชอบกับแนวทางการทำงานที่จะก่อให้เกิดมาตรฐานด้านการให้บริการ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะการกำหนดเขตว่ายน้ำที่ชัดเจน แต่การกำหนดเขตพื้นที่การเดินเรือ หรือกิจกรรมทางน้ำที่ทางกรมเจ้าท่าจัดทำนั้น ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และการทำกินของผู้ประกอบการ เช่น เขตเรือลากกล้วย ที่กำหนดเขตพื้นที่ความกว้างใน 2 โซน เพียงระยะ 800 เมตร ความกว้าง 200 เมตร ซึ่งสภาพความเป็นจริงไม่สามารถประกอบการได้หากเกิดภาวะน้ำลง เช่นเดียวกับเขตโซนเล่นเรือเจ็ตสกีที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน
นอกจากนี้ การแบ่งแนวเขตของผู้ประกอบการของทั้ง 2 ประเภทที่ไม่ให้ประกอบกิจการปะปนทับซ้อนพื้นที่กันนั้นก็ทำให้การทำกินลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการจัดแบ่งอย่างชัดเจนโดยเรือเจ็ตสกีพัทยาเหนือถึงพัทยากลาง และเรือลากกล้วยเล่นโซนพัทยากลางถึงพัทยาใต้ ที่สำคัญแนวสัญจรการเดินเรือเร็วเข้าออกชายหาดนั้นมีการเพิ่มระยะทางที่อ้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงในด้านเชื้อเพลิงที่ต้องเพิ่มขึ้นอีก 75% ซึ่งแนวทางเหล่านี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คงจะไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องมีการปรับแก้ใหม่เพื่อความเหมาะสม
ขณะที่นายรณกิจ เอกะสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า มาตรการเหล่านี้จำเป็นต้องจัดทำ และดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ เร่งรัดให้กรมเจ้าท่าออกกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาเจ็ตสกีซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้