สระบุรี - จังหวัดสระบุรี เตรียพร้อมรับมือน้ำจากเขื่อนป่าสักที่จะปล่อยน้ำลงมา 600 ลบ.ม. เผยอำเภอวังม่วง เป็นด่านแรกที่อาจจะโดนน้ำท่วม
นายชรัส บุญณสะ ปลัดจังหวัดสระบุรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า ช่วงนี้ยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง เพราะขณะนี้ทางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปล่อยน้ำจากเดิม 200 ลูกบาศก์เมตร เป็น 400 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งยังไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก แต่ถ้ามีการปล่อยน้ำในระดับ 600 ลูกบาศก์เมตรจะมีผลกระทบแน่นอน เพราะจะทำให้น้ำบ่าเข้าท่วมริมตลิ่ง บ้านเรือนประชาชนใน อ.วังม่วง เป็นพื้นที่แรก จากนั้นเส้นทางน้ำจะผ่านไปที่ อ.แก่งคอย อ.วิหารแดง อ.เมือง อ.เส้าไห้ ก่อนเข้าสู่ จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ได้ประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าอยู่แล้ว พร้อมกับได้มีการซักซ้อมแผนป้องกันอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์แล้วในปีนี้ไม่น่าจะท่วมเหมือนเมื่อปี 2554 เพราะจากปริมาณฝน หรือน้ำในเขื่อนยังอยู่ในเงื่อนไขที่ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง และร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 2-6 ตุลาคม 2556 ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ในระยะนี้
นายชรัส บุญณสะ ปลัดจังหวัดสระบุรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า ช่วงนี้ยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง เพราะขณะนี้ทางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปล่อยน้ำจากเดิม 200 ลูกบาศก์เมตร เป็น 400 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งยังไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก แต่ถ้ามีการปล่อยน้ำในระดับ 600 ลูกบาศก์เมตรจะมีผลกระทบแน่นอน เพราะจะทำให้น้ำบ่าเข้าท่วมริมตลิ่ง บ้านเรือนประชาชนใน อ.วังม่วง เป็นพื้นที่แรก จากนั้นเส้นทางน้ำจะผ่านไปที่ อ.แก่งคอย อ.วิหารแดง อ.เมือง อ.เส้าไห้ ก่อนเข้าสู่ จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ได้ประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าอยู่แล้ว พร้อมกับได้มีการซักซ้อมแผนป้องกันอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์แล้วในปีนี้ไม่น่าจะท่วมเหมือนเมื่อปี 2554 เพราะจากปริมาณฝน หรือน้ำในเขื่อนยังอยู่ในเงื่อนไขที่ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง และร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 2-6 ตุลาคม 2556 ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ในระยะนี้