หนองคาย - ชาวสวนยางพาราหนองคาย ชี้รัฐบาลทำผิดพลาดนโยบายบริหารจัดการยาง ทำราคายางตกต่ำ ชี้ข้ออ้างรัฐจากกลไกตลาดโลกเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แนะรัฐควรแทรกแซงให้เร็วเหมือนราคาข้าว หากปล่อยไว้ชาวสวนอาจต้องตัดใจขายสวนทิ้ง
นายเสน่ห์ สรสิทธิ เกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านฝายแตก ต.สีกาย อ.เมืองหนองคาย กล่าวว่า ช่วงนี้ราคาขายยางก้อนถ้วย ณ ตลาดรับซื้อยางพารา อ.รัตนวาปี อยู่ที่ ก.ก.ละ 43 บาท การที่ราคายางพาราตกต่ำ ไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่ชัดเจน แต่โดยส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลหาตลาดไม่ได้ เพราะเมื่อปี 51-52 ราคายางพาราขั้นต่ำ ก.ก.ละ 60-90 บาท ส่วนยางแผ่นได้ราคาสูงถึง 120 บาท
หลังจากนั้น ปี 54-55 ราคายางพาราเริ่มตกต่ำลงเรื่อยๆ เกษตรกรเห็นว่าราคายางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 50-60 บาทจึงจะอยู่ได้ เพราะต้นทุนสูง ปุ๋ยกระสอบละ 1,150 บาท และอื่นๆ ปรับราคาขึ้นต่อเนื่องแต่ราคาขายกลับลดลง
ขณะที่นายวิทยา กลางรักษ์ เกษตรกรชาว อ.เมืองหนองคาย กล่าวว่า สาเหตุของราคายางพาราตกต่ำน่าจะมาจากนโยบายรัฐบาล เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลชุดที่แล้วกับชุดนี้ รัฐบาลในชุดที่แล้วเข้ามาราคายางอยู่ที่กิโลกรัมละ 70-80 บาท ต่อมา ราคาขยับถึง 180 บาท แล้วก็หมดไป เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาราคาดิ่งลงเรื่อยๆ จนราคายางแผ่นอยู่ที่ 60-70 กว่าบาท การที่รัฐบาลอ้างว่าเป็นเพราะตลาดโลกมันเป็นเพียงข้ออ้างส่วนหนึ่งเท่านั้น
โดยข้อเท็จจริงแล้วน่าจะมาการบริหารจัดการ โดยทางออกอยู่ที่การแทรกแซงราคาของรัฐบาลต้องช่วยเหลือเกษตรกร เมื่อเทียบกับข้าวแล้วรัฐบาลยังเข้ามาแทรกแซง แต่ยางพารารัฐบาลกลับไม่เข้ามาช่วยเหลือเลย ขณะที่ราคาปุ๋ยสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเทียบกับรายรับรายจ่ายของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ปรากฏว่า ถ้าราคาอยู่ที่ 70 บาท ชาวสวนอยู่ไม่ได้แน่ ราคาที่อยู่ได้ต้อง 90 บาทขึ้นไป หากครอบครัวหนึ่งทำสวนยางพารา 10 ไร่ จะมีรายได้เพียง 5,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้เกษตรกรคงลำบาก อาจถึงขั้นต้องขายสวนทิ้งให้แก่นายทุนที่เข้ามากว้านซื้อ คนที่ได้ประโยชน์คือ นายทุน เหมือนรัฐบาลขึ้นราคาให้ไร่ละ 2,000 บาท เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ถ้าจะให้ถูกจุดต้องแก้ที่ราคาขาย เจ้าของสวน และคนกรีดก็จะได้ราคาดี
นายเสน่ห์ สรสิทธิ เกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านฝายแตก ต.สีกาย อ.เมืองหนองคาย กล่าวว่า ช่วงนี้ราคาขายยางก้อนถ้วย ณ ตลาดรับซื้อยางพารา อ.รัตนวาปี อยู่ที่ ก.ก.ละ 43 บาท การที่ราคายางพาราตกต่ำ ไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่ชัดเจน แต่โดยส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลหาตลาดไม่ได้ เพราะเมื่อปี 51-52 ราคายางพาราขั้นต่ำ ก.ก.ละ 60-90 บาท ส่วนยางแผ่นได้ราคาสูงถึง 120 บาท
หลังจากนั้น ปี 54-55 ราคายางพาราเริ่มตกต่ำลงเรื่อยๆ เกษตรกรเห็นว่าราคายางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 50-60 บาทจึงจะอยู่ได้ เพราะต้นทุนสูง ปุ๋ยกระสอบละ 1,150 บาท และอื่นๆ ปรับราคาขึ้นต่อเนื่องแต่ราคาขายกลับลดลง
ขณะที่นายวิทยา กลางรักษ์ เกษตรกรชาว อ.เมืองหนองคาย กล่าวว่า สาเหตุของราคายางพาราตกต่ำน่าจะมาจากนโยบายรัฐบาล เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลชุดที่แล้วกับชุดนี้ รัฐบาลในชุดที่แล้วเข้ามาราคายางอยู่ที่กิโลกรัมละ 70-80 บาท ต่อมา ราคาขยับถึง 180 บาท แล้วก็หมดไป เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาราคาดิ่งลงเรื่อยๆ จนราคายางแผ่นอยู่ที่ 60-70 กว่าบาท การที่รัฐบาลอ้างว่าเป็นเพราะตลาดโลกมันเป็นเพียงข้ออ้างส่วนหนึ่งเท่านั้น
โดยข้อเท็จจริงแล้วน่าจะมาการบริหารจัดการ โดยทางออกอยู่ที่การแทรกแซงราคาของรัฐบาลต้องช่วยเหลือเกษตรกร เมื่อเทียบกับข้าวแล้วรัฐบาลยังเข้ามาแทรกแซง แต่ยางพารารัฐบาลกลับไม่เข้ามาช่วยเหลือเลย ขณะที่ราคาปุ๋ยสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเทียบกับรายรับรายจ่ายของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ปรากฏว่า ถ้าราคาอยู่ที่ 70 บาท ชาวสวนอยู่ไม่ได้แน่ ราคาที่อยู่ได้ต้อง 90 บาทขึ้นไป หากครอบครัวหนึ่งทำสวนยางพารา 10 ไร่ จะมีรายได้เพียง 5,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้เกษตรกรคงลำบาก อาจถึงขั้นต้องขายสวนทิ้งให้แก่นายทุนที่เข้ามากว้านซื้อ คนที่ได้ประโยชน์คือ นายทุน เหมือนรัฐบาลขึ้นราคาให้ไร่ละ 2,000 บาท เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ถ้าจะให้ถูกจุดต้องแก้ที่ราคาขาย เจ้าของสวน และคนกรีดก็จะได้ราคาดี