บุรีรัมย์ - รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.บุรีรัมย์ ยันผลตรวจปริมาณ และคุณภาพข้าวในสต๊อกทั้งโกดัง และโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำ 12 แห่ง ไม่พบเน่าเสีย หรือสูญหาย กำชับตรวจสอบต่อเนื่อง ส่วนคดีทุจริตรับจำนำข้าวปี 54/55 กว่า 44 ล้านบาท ยังอยู่ในชั้นอัยการตรวจสอบสำนวนเพื่อพิจารณาสั่งฟ้อง
วันนี้ (28 มิ.ย.) พ.ต.อ.รวีวรรธน์ เทียนสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกมาระบุถึงผลการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) การค้าภายในจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ธ.ก.ส. และคลังจังหวัด จำนวน 12 ชุดปฏิบัติการ ออกตรวจสต๊อกข้าวในโกดัง 6 แห่ง และโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวนาปรังอีก 6 แห่ง รวม 12 แห่งว่า
จากการตรวจสอบทั้งปริมาณ และคุณภาพข้าวในสต๊อก ไม่พบข้าวสูญหาย เน่าเสีย หรือมีการทุจริตแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจสอบข้าวในสต๊อกอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการฉวยโอกาสกระทำทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ เคยมีการทุจริตในโครงการฯ มาแล้วในปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายแก่งบประมาณของรัฐมากถึง 44 ล้านบาท ดังนั้น ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อป้องกันการกระทำทุจริตอย่างเข้มงวด
รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ยังระบุถึงความคืบหน้าคดีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวปี 54/55 ที่ อ.หนองกี่ ที่สร้างความเสียหายแก่งบประมาณของรัฐมากกว่า 44 ล้านบาทด้วยว่า ทางพนักงานสอบสวนผู้ดูแลรับผิดชอบคดีได้สรุปสำนวนส่งอัยการไปแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสำนวนของพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้องศาลตามขั้นตอน
คดีดังกล่าวมีผู้ร่วมกระทำผิดที่ถูกแจ้งข้อหา “ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่” จำนวน 31 ราย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.), ผู้ช่วย อคส., เจ้าของท่าข้าวธนพลพืชผล อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์, นักการเมืองท้องถิ่น, ผู้ใหญ่บ้าน, ตัวแทนเกษตรกร และเกษตรกร
วันนี้ (28 มิ.ย.) พ.ต.อ.รวีวรรธน์ เทียนสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกมาระบุถึงผลการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) การค้าภายในจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ธ.ก.ส. และคลังจังหวัด จำนวน 12 ชุดปฏิบัติการ ออกตรวจสต๊อกข้าวในโกดัง 6 แห่ง และโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวนาปรังอีก 6 แห่ง รวม 12 แห่งว่า
จากการตรวจสอบทั้งปริมาณ และคุณภาพข้าวในสต๊อก ไม่พบข้าวสูญหาย เน่าเสีย หรือมีการทุจริตแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจสอบข้าวในสต๊อกอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการฉวยโอกาสกระทำทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ เคยมีการทุจริตในโครงการฯ มาแล้วในปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายแก่งบประมาณของรัฐมากถึง 44 ล้านบาท ดังนั้น ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อป้องกันการกระทำทุจริตอย่างเข้มงวด
รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ยังระบุถึงความคืบหน้าคดีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวปี 54/55 ที่ อ.หนองกี่ ที่สร้างความเสียหายแก่งบประมาณของรัฐมากกว่า 44 ล้านบาทด้วยว่า ทางพนักงานสอบสวนผู้ดูแลรับผิดชอบคดีได้สรุปสำนวนส่งอัยการไปแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสำนวนของพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้องศาลตามขั้นตอน
คดีดังกล่าวมีผู้ร่วมกระทำผิดที่ถูกแจ้งข้อหา “ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่” จำนวน 31 ราย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.), ผู้ช่วย อคส., เจ้าของท่าข้าวธนพลพืชผล อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์, นักการเมืองท้องถิ่น, ผู้ใหญ่บ้าน, ตัวแทนเกษตรกร และเกษตรกร