ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สสจ.เชียงใหม่ห่วงไข้เลือดออกระบาดหนักสุดในช่วงหลายปี เหตุมีการระบาดของเชื้อพร้อมกันครบทั้ง 4 สายพันธุ์ เผยช่วง 5 เดือนที่ผ่านมามีผู้ป่วยแล้วกว่า 2,000 คน ตาย 2 สั่ง อสม.ลงพื้นที่ให้คำแนะนำป้องกัน รวมทั้งจัด อสม.ต่างด้าวดูแลแนะนำชุมชนต่างด้าวด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน
วันนี้ (5 มิ.ย.) นพ.วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2556 จนถึงปัจจุบัน จ.เชียงใหม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้วกว่า 2,000 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย เฉพาะเดือนพฤษภาคมมีผู้ป่วยกว่า 700 ราย ซึ่งยอมรับว่าสถิติผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังคงมีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมที่ปกติจะเป็นช่วงไข้เลือดออกระบาดมากที่สุดอยู่แล้ว ประกอบกับปีนี้พบการระบาดของโรคพร้อมกันทั้ง 4 สายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์น่าจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้จัดอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ออกให้คำแนะนำการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะตามแหล่งชุมชน และโรงเรียน เพราะพบว่ามักเป็นแหล่งที่มีการระบาดของโรค รวมทั้งแนะนำให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่อยู่ภายในบ้านเรือนด้วย
ขณะเดียวกัน การป้องกันการระบาดในชุมชนหรือกลุ่มคนต่างด้าวนั้นพบว่ามีปัญหาตามแนวชายแดนหนักที่สุดคือ อ.แม่อาย เนื่องจากดูแลป้องกันและควบคุมโรคไม่ถูกวิธี ทั้งนี้ ได้มีการจัด อสม.ต่างด้าวออกให้การดูแลและแนะนำโดยเฉพาะแล้ว
นพ.วัฒนากล่าวว่า ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่มักจะพบว่ามีการแสดงอาการรุนแรงในกลุ่มเด็กเล็ก ขณะที่ปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเป็นผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่ที่เสียชีวิตไปทั้ง 2 รายอายุระหว่าง 20-25 ปี ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้ระมัดระวังดูแลตัวเองเป็นอย่างดีด้วย ทั้งนี้หากมีอาการป่วยควรพบแพทย์โดยเร็ว
วันนี้ (5 มิ.ย.) นพ.วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2556 จนถึงปัจจุบัน จ.เชียงใหม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้วกว่า 2,000 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย เฉพาะเดือนพฤษภาคมมีผู้ป่วยกว่า 700 ราย ซึ่งยอมรับว่าสถิติผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังคงมีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมที่ปกติจะเป็นช่วงไข้เลือดออกระบาดมากที่สุดอยู่แล้ว ประกอบกับปีนี้พบการระบาดของโรคพร้อมกันทั้ง 4 สายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์น่าจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้จัดอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ออกให้คำแนะนำการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะตามแหล่งชุมชน และโรงเรียน เพราะพบว่ามักเป็นแหล่งที่มีการระบาดของโรค รวมทั้งแนะนำให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่อยู่ภายในบ้านเรือนด้วย
ขณะเดียวกัน การป้องกันการระบาดในชุมชนหรือกลุ่มคนต่างด้าวนั้นพบว่ามีปัญหาตามแนวชายแดนหนักที่สุดคือ อ.แม่อาย เนื่องจากดูแลป้องกันและควบคุมโรคไม่ถูกวิธี ทั้งนี้ ได้มีการจัด อสม.ต่างด้าวออกให้การดูแลและแนะนำโดยเฉพาะแล้ว
นพ.วัฒนากล่าวว่า ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่มักจะพบว่ามีการแสดงอาการรุนแรงในกลุ่มเด็กเล็ก ขณะที่ปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเป็นผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยผู้ป่วยในจังหวัดเชียงใหม่ที่เสียชีวิตไปทั้ง 2 รายอายุระหว่าง 20-25 ปี ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้ระมัดระวังดูแลตัวเองเป็นอย่างดีด้วย ทั้งนี้หากมีอาการป่วยควรพบแพทย์โดยเร็ว