ตราด - ชลประทานตราด เตรียมมาตรการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง ยังมีความจุรวมอยู่ที่ร้อยละ 72.12 เพียงพอต่อความต้องการ
นายสมคิด สัมมา หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราด กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในจังหวัดตราดว่า ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 6 แห่ง ของจังหวัดตราด คือ อ่างเก็บน้ำเขาระกำ อ่างเก็บน้ำบ้านมะนาว อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง อ่างเก็บน้ำวังปลาหมอ และอ่างเก็บน้ำคลองโสน มีปริมาณกักเก็บน้ำรวมอยู่ที่ 100.880 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุรวมทั้ง 6 อ่าง อยู่ที่ 139.88 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 72.12 ของปริมาณความจุรวมของอ่างเก็บน้ำทั้ง 6 แห่ง
ทั้งนี้ โครงการชลประทานตราดได้ทยอยระบายน้ำอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร และเพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยา โดยเฉพาะการผลักดันน้ำเค็มไม่ให้เข้ามาสู่พื้นที่เกษตรกรรม
นายสมคิด กล่าวต่อว่า สำหรับแผนในการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ โครงชลประทานตราด ได้ทยอยระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเมื่อสิ้นฤดูแล้งประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2556 จะมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการน้ำในพื้นที่ชลประทาน จากนั้นจะเริ่มกักเก็บน้ำในฤดูฝนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือปัญหาภัยแล้ง แม้จะมีบางพื้นที่จุดที่เป็นพื้นที่ลาดชัน จุดที่ยังไม่มีลำคลองตามธรรมชาติ หรืออยู่นอกเขตชลประทาน ทางโครงการชลประทานตราดยังคงเตรียมมาตรการอื่นๆ แก้ไขปัญหา เช่น การรณรงค์ปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมทั้งมีการเตรียมรถบรรทุกน้ำไว้ 13 คัน เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
นายสมคิด สัมมา หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราด กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในจังหวัดตราดว่า ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 6 แห่ง ของจังหวัดตราด คือ อ่างเก็บน้ำเขาระกำ อ่างเก็บน้ำบ้านมะนาว อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง อ่างเก็บน้ำวังปลาหมอ และอ่างเก็บน้ำคลองโสน มีปริมาณกักเก็บน้ำรวมอยู่ที่ 100.880 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุรวมทั้ง 6 อ่าง อยู่ที่ 139.88 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 72.12 ของปริมาณความจุรวมของอ่างเก็บน้ำทั้ง 6 แห่ง
ทั้งนี้ โครงการชลประทานตราดได้ทยอยระบายน้ำอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร และเพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยา โดยเฉพาะการผลักดันน้ำเค็มไม่ให้เข้ามาสู่พื้นที่เกษตรกรรม
นายสมคิด กล่าวต่อว่า สำหรับแผนในการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ โครงชลประทานตราด ได้ทยอยระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเมื่อสิ้นฤดูแล้งประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2556 จะมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการน้ำในพื้นที่ชลประทาน จากนั้นจะเริ่มกักเก็บน้ำในฤดูฝนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือปัญหาภัยแล้ง แม้จะมีบางพื้นที่จุดที่เป็นพื้นที่ลาดชัน จุดที่ยังไม่มีลำคลองตามธรรมชาติ หรืออยู่นอกเขตชลประทาน ทางโครงการชลประทานตราดยังคงเตรียมมาตรการอื่นๆ แก้ไขปัญหา เช่น การรณรงค์ปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมทั้งมีการเตรียมรถบรรทุกน้ำไว้ 13 คัน เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน