ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้ว่าฯ กนอ.ไม่หวั่นนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบจากการหยุดส่งก๊าซให้ไทยของประเทศพม่า ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ มั่นใจมีพลังงานใช้เพียงพอ ชี้โซนที่อาจได้รับผลกระทบคือโซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงกรณีที่ประเทศพม่าจะหยุดส่งก๊าซให้ไทย ในวันที่ 5 เมษายนนี้ เพื่อดำเนินการซ่อมท่อส่งก๊าซประจำปีหลังประสบปัญหาแท่นขุดเจาะน้ำมันทรุดตัวว่า ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ไม่มีความน่าเป็นห่วงเรื่องพลังงาน และมั่นใจว่าพลังงานที่มีในระบบยังเพียงพอต่อความต้องการ
ทั้งนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อดูแลเรื่องการจ่ายไฟฟ้าให้แก่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการประชุมเพื่อวางแผนการจัดการภาวะวิกฤตในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน ที่การนิคมฯ สำนักงานใหญ่ โดยในส่วนของการนิคมฯ นั้น รัฐบาลได้มอบหมายให้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการลดการผลิตในช่วงเวลาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี จากการประเมินของการนิคมฯ พบว่า นิคมอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวน่าจะอยู่ในโซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี และนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่โซนภาคใต้
“ในส่วนผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่วิตกกังวลว่าอาจได้รับผลกระทบนั้น คงต้องรอผลการประชุมในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์นี้อีกครั้ง ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งดูแลเรื่องการจ่ายไฟฟ้าให้การนิคมอุตสาหกรรมจะมีมาตรการอย่างไร แต่เท่าที่ทราบคือ ก๊าซจากพม่าที่มาเข้ายังโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกของจังหวัดราชบุรี จะเป็นโซนที่มีปัญหา และอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้ากระตุกได้” นายวีรพงศ์กล่าว
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงกรณีที่ประเทศพม่าจะหยุดส่งก๊าซให้ไทย ในวันที่ 5 เมษายนนี้ เพื่อดำเนินการซ่อมท่อส่งก๊าซประจำปีหลังประสบปัญหาแท่นขุดเจาะน้ำมันทรุดตัวว่า ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ไม่มีความน่าเป็นห่วงเรื่องพลังงาน และมั่นใจว่าพลังงานที่มีในระบบยังเพียงพอต่อความต้องการ
ทั้งนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อดูแลเรื่องการจ่ายไฟฟ้าให้แก่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการประชุมเพื่อวางแผนการจัดการภาวะวิกฤตในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน ที่การนิคมฯ สำนักงานใหญ่ โดยในส่วนของการนิคมฯ นั้น รัฐบาลได้มอบหมายให้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการลดการผลิตในช่วงเวลาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี จากการประเมินของการนิคมฯ พบว่า นิคมอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวน่าจะอยู่ในโซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี และนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่โซนภาคใต้
“ในส่วนผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่วิตกกังวลว่าอาจได้รับผลกระทบนั้น คงต้องรอผลการประชุมในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์นี้อีกครั้ง ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งดูแลเรื่องการจ่ายไฟฟ้าให้การนิคมอุตสาหกรรมจะมีมาตรการอย่างไร แต่เท่าที่ทราบคือ ก๊าซจากพม่าที่มาเข้ายังโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกของจังหวัดราชบุรี จะเป็นโซนที่มีปัญหา และอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้ากระตุกได้” นายวีรพงศ์กล่าว