ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ดีเอสไอจับมือมหาดไทย-ยุติธรรมนำร่องล้างทุจริตทะเบียนราษฎรที่ “เวียงแหง” หลังพบคนไร้สถานะขึ้นทะเบียนเพิ่มปี 50-51 ผิดปกติเกือบ 2 หมื่นคน เผยอำเภอชายแดนมีพิรุธเพียบ
วันนี้ (24 ม.ค.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดร.ธวัชชัย ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย และคณะเข้าหารือกับนายอดิศร กำเนิดศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสุรพล สัตยารักษ์ ปลัดจังหวัด ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด เพื่อแจ้งถึงแนวนโยบายที่กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และดีเอสไอ จะตรวจสอบและแก้ปัญหาการทุจริตระบบทะเบียนราษฎร ตามที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำหนดพื้นที่นำร่อง ที่ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ จังหวัดได้รายงานไปยังส่วนกลางว่ามีเหตุผิดปกติเกี่ยวกับระบบทะเบียนราษฎร กรณีการขึ้นทะเบียนให้บุคคลไร้สถานะทางทะเบียน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2548-2549 ที่ให้บุคคลไร้สถานะที่อยู่ในประเทศไทยก่อนเดือนตุลาคม 2542 สามารถขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบเป็นผู้มีสถานะทางทะเบียนได้ แต่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นในปี 2550-2551 ผิดปกติกว่า 19,000 ราย ซึ่งจังหวัดได้ตรวจสอบ และกำลังอยู่ระหว่างสอบวินัยข้าราชการที่เกี่ยวข้องของอำเภออยู่ไม่ต่ำกว่า 5 ราย
นายธาริตกล่าวว่า ดีเอสไอได้รับข้อมูลการทุจริตระบบทะเบียนราษฎรจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดน ซึ่งเชียงใหม่เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการร้องเรียนและมีข้อมูลการกระทำผิด รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมเห็นว่าจะต้องเร่งจัดการปัญหาให้หมดไป ซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางป้องปรามและปราบปรามการกระทำผิด รวมถึงการแก้ไข รองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 ด้วย
“ไม่ได้หมายความว่าเชียงใหม่มีปัญหาที่เดียว แต่เป็นการนำร่องเท่านั้น ซึ่งดีเอสไอได้เปิดศูนย์ดำเนินการเรื่องนี้ที่เชียงใหม่เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่เป้าหมาย คือ อ.เวียงแหงในเวลา 2 เดือน เริ่มเดือนกุมภาพันธ์นี้เ ก่อนที่จะขยายไปพื้นที่อื่นต่อไป”
นายธาริตย้ำว่า การได้มาซึ่งเอกสารสิทธิทางทะเบียนเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ต่างประเทศค่อนข้างซีเรียส เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ส่อเจตนาว่าจะก่อเหตุร้ายได้ตลอดเวลา และจากข้อมูลหัวขบวนกลุ่มค้ายาเสพติดหรือก่อการร้ายก็ใช้ช่องนี้ เช่น ทำพาสปอร์ตปลอม บัตรประจำตัวประชาชนปลอม ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก แค่เพียงทราบว่ามีการทำเอกสารปลอมเกิดขึ้นก็เป็นปัญหาน่าห่วงแล้ว จึงได้ร่วมมือกันจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ
“ยอมรับว่าอำเภอชายแดนพบข้อมูลการกระทำผิดหมด กรณีเชียงใหม่ก็มีทั้ง 5 อำเภอ ส่วนรายละเอียดหรือพื้นที่ขอเก็บเป็นความลับเพื่อไม่ให้เกิดผลต่อการดำเนินการ ซึ่งวันที่ 11 กุมภาพันธ์จะจัดเวิร์กชอปทุกอำเภอในเชียงใหม่ จะมีฝ่ายทะเบียน รวมทั้งท้องถิ่นเข้าร่วม เพื่อให้ทราบนโยบายและแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน”
ด้าน ดร.ธวัชชัยกล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเป็นห่วง เพราะกลุ่มมิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางก่อเหตุ และการดำเนินการในอดีตก็ผิดพลาด จึงไม่อยากให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น กรณีบันทึกในบัตรประชาชนว่ามีการเกิดวันที่ 30 หรือ 31 กุมภาพันธ์ ตามที่เป็นข่าวอยู่ หรือแม้แต่การทุจริตเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรในหลายพื้นที่ กรณี อ.เวียงแหง ไม่ได้หมายความว่าตัวเลขที่พบกว่า 19,000 คนนั้นจะผิดหมด แต่เพิ่มผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากมติ ครม. จึงต้องตรวจสอบให้ชัดเจน ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการทางวินัยและอาญาแน่นอน โดยการเริ่มต้นจัดระบบทะเบียนราษฎรอย่างจริงจังในครั้งนี้ถือเป็นการจัดการให้รัดกุมมากขึ้น
นายอดิศรกล่าวว่า ทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจ กำชับทุกส่วนให้ดูแล แต่ก็พบปัญหาอยู่ แม้จะไม่มากแต่ก็เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ แต่บางครั้งก็เห็นใจในการบริการที่ต้องอำนวยความสะดวกให้ประชาชนอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชาก็ไม่ทันระวัง ลงนามตามเจ้าหน้าที่เสนอก็กลายเป็นผู้กระทำผิด จึงต้องทำเรื่องนี้ให้รัดกุมมากขึ้น ส่วนกรณีของ อ.เวียงแหง อยู่ระหว่างการสอบสวนทางวินัยผู้เกี่ยวข้อง และรายงานต่อส่วนกลางไปแล้ว จึงมีการนำร่องเรื่องนี้ ซึ่งยืนยันว่าทางจังหวัดเอาจริง ไม่ละเว้น ไม่ปกป้องช่วยเหลือผู้ทำผิดแน่นอน รวมทั้งผู้บงการด้วย ถ้าพบหลักฐานก็ต้องเอาผิด ไม่ให้ใครมาเป็นแพะแน่นอน
วันนี้ (24 ม.ค.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดร.ธวัชชัย ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย และคณะเข้าหารือกับนายอดิศร กำเนิดศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสุรพล สัตยารักษ์ ปลัดจังหวัด ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด เพื่อแจ้งถึงแนวนโยบายที่กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และดีเอสไอ จะตรวจสอบและแก้ปัญหาการทุจริตระบบทะเบียนราษฎร ตามที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำหนดพื้นที่นำร่อง ที่ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ จังหวัดได้รายงานไปยังส่วนกลางว่ามีเหตุผิดปกติเกี่ยวกับระบบทะเบียนราษฎร กรณีการขึ้นทะเบียนให้บุคคลไร้สถานะทางทะเบียน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2548-2549 ที่ให้บุคคลไร้สถานะที่อยู่ในประเทศไทยก่อนเดือนตุลาคม 2542 สามารถขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบเป็นผู้มีสถานะทางทะเบียนได้ แต่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นในปี 2550-2551 ผิดปกติกว่า 19,000 ราย ซึ่งจังหวัดได้ตรวจสอบ และกำลังอยู่ระหว่างสอบวินัยข้าราชการที่เกี่ยวข้องของอำเภออยู่ไม่ต่ำกว่า 5 ราย
นายธาริตกล่าวว่า ดีเอสไอได้รับข้อมูลการทุจริตระบบทะเบียนราษฎรจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดน ซึ่งเชียงใหม่เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการร้องเรียนและมีข้อมูลการกระทำผิด รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรมเห็นว่าจะต้องเร่งจัดการปัญหาให้หมดไป ซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางป้องปรามและปราบปรามการกระทำผิด รวมถึงการแก้ไข รองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 ด้วย
“ไม่ได้หมายความว่าเชียงใหม่มีปัญหาที่เดียว แต่เป็นการนำร่องเท่านั้น ซึ่งดีเอสไอได้เปิดศูนย์ดำเนินการเรื่องนี้ที่เชียงใหม่เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่เป้าหมาย คือ อ.เวียงแหงในเวลา 2 เดือน เริ่มเดือนกุมภาพันธ์นี้เ ก่อนที่จะขยายไปพื้นที่อื่นต่อไป”
นายธาริตย้ำว่า การได้มาซึ่งเอกสารสิทธิทางทะเบียนเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ต่างประเทศค่อนข้างซีเรียส เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ส่อเจตนาว่าจะก่อเหตุร้ายได้ตลอดเวลา และจากข้อมูลหัวขบวนกลุ่มค้ายาเสพติดหรือก่อการร้ายก็ใช้ช่องนี้ เช่น ทำพาสปอร์ตปลอม บัตรประจำตัวประชาชนปลอม ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก แค่เพียงทราบว่ามีการทำเอกสารปลอมเกิดขึ้นก็เป็นปัญหาน่าห่วงแล้ว จึงได้ร่วมมือกันจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ
“ยอมรับว่าอำเภอชายแดนพบข้อมูลการกระทำผิดหมด กรณีเชียงใหม่ก็มีทั้ง 5 อำเภอ ส่วนรายละเอียดหรือพื้นที่ขอเก็บเป็นความลับเพื่อไม่ให้เกิดผลต่อการดำเนินการ ซึ่งวันที่ 11 กุมภาพันธ์จะจัดเวิร์กชอปทุกอำเภอในเชียงใหม่ จะมีฝ่ายทะเบียน รวมทั้งท้องถิ่นเข้าร่วม เพื่อให้ทราบนโยบายและแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน”
ด้าน ดร.ธวัชชัยกล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเป็นห่วง เพราะกลุ่มมิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางก่อเหตุ และการดำเนินการในอดีตก็ผิดพลาด จึงไม่อยากให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น กรณีบันทึกในบัตรประชาชนว่ามีการเกิดวันที่ 30 หรือ 31 กุมภาพันธ์ ตามที่เป็นข่าวอยู่ หรือแม้แต่การทุจริตเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรในหลายพื้นที่ กรณี อ.เวียงแหง ไม่ได้หมายความว่าตัวเลขที่พบกว่า 19,000 คนนั้นจะผิดหมด แต่เพิ่มผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากมติ ครม. จึงต้องตรวจสอบให้ชัดเจน ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการทางวินัยและอาญาแน่นอน โดยการเริ่มต้นจัดระบบทะเบียนราษฎรอย่างจริงจังในครั้งนี้ถือเป็นการจัดการให้รัดกุมมากขึ้น
นายอดิศรกล่าวว่า ทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจ กำชับทุกส่วนให้ดูแล แต่ก็พบปัญหาอยู่ แม้จะไม่มากแต่ก็เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ แต่บางครั้งก็เห็นใจในการบริการที่ต้องอำนวยความสะดวกให้ประชาชนอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชาก็ไม่ทันระวัง ลงนามตามเจ้าหน้าที่เสนอก็กลายเป็นผู้กระทำผิด จึงต้องทำเรื่องนี้ให้รัดกุมมากขึ้น ส่วนกรณีของ อ.เวียงแหง อยู่ระหว่างการสอบสวนทางวินัยผู้เกี่ยวข้อง และรายงานต่อส่วนกลางไปแล้ว จึงมีการนำร่องเรื่องนี้ ซึ่งยืนยันว่าทางจังหวัดเอาจริง ไม่ละเว้น ไม่ปกป้องช่วยเหลือผู้ทำผิดแน่นอน รวมทั้งผู้บงการด้วย ถ้าพบหลักฐานก็ต้องเอาผิด ไม่ให้ใครมาเป็นแพะแน่นอน