xs
xsm
sm
md
lg

อุดรธานีจัดประชาคมสร้างทางต่างระดับ จุดตัดมิตรภาพกับถนน 216

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อุดรธานี - กรมทางหลวงจับมือเทศบาลนครอุดรธานี จัดประชาคมโครงการสร้างอุโมงค์และสะพานข้ามแยก ครั้งที่ 1 บริเวณจุดตัดถนนมิตรภาพกับทางหลวงหมายเลข 216 เหตุการจราจรหนาแน่น เผยบริษัทที่ปรึกษาออกแบบมา 5 แนวทาง

วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่ประจักษ์ตรา ดีไซน์ โฮเต็ล นายชยพล ธิติศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 216 (ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี ด้านทิศเหนือ) โดยมีแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม รัฐวิสาหกิจ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้ โครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 216 เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาจังหวัด โดยกรมทางหลวงและเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด และสะพานยกระดับบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 216 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี ระหว่างอุดรธานี-หนองคาย และอุดรธานี-หนองบัวลำภู ด้านทิศเหนือ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร

โดยกรมทางหลวงได้ว่างจ้างบริษัท ไมน์เว คอร์เปอเรชั่น จำกัด และบริษัทคอนซัลแทนท์ออฟ เทคโนโลยี จำกัด สำรวจและออกแบบรายละเอียด เสนอแนวคิด 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ออกแบบให้อุโมงค์ทางลอดขนาด 4 ช่องทางจราจรไป-กลับบนถนนทางหลวงหมายเลข 2 (จ.อุดรธานี-จ.หนองคาย) มีสะพานยกระดับชั้นที่ 2 ขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับบนถนนทางหลวงหมายเลข 216 (จ.สกลนคร-จ.หนองบัวลำภู) และจุดตัดระดับพื้นเป็นสัญญาณไฟจราจร เพื่อรองรับรถที่ต้องการเลี้ยวขวา

รูปแบบที่ 2 ออกแบบให้อุโมงค์ทางลอดขนาด 4 ช่องทางจราจรไป-กลับบนถนนทางหลวงหมายเลข 2 มีสะพานยกระดับชั้นที่ 2 ขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับบนถนนทางหลวงหมายเลข 216 และมีวงเวียนเป็นจุดตัดระดับพื้น เพื่อรองรับรถที่ต้องการเลี้ยวขวา

รูปแบบที่ 3 ออกแบบให้อุโมงค์ทางลอดขนาด 4 ช่องทางจราจรไป-กลับบนถนนทางหลวงหมายเลข 2 มีสะพานยกระดับชั้นที่ 2 ขนาด 3 ช่องจราจ รวิ่งตรงและเลี้ยวขวาบนถนนทางหลวง 216 ทิศทางจ.สกลนคร เพื่อไป จ.หนองบัวลำภู และจ.หนองคาย ออกแบบให้มีสะพานยกระดับที่ 3 ขนาด 2 ช่องจราจรบนถนนทางหลวงหมายเลข 216 ทิศทาง จ.หนองบัวลำภู ไป จ.สกลนคร และมีจุดตัดระดับพื้นเป็นสัญญาณไฟจราจรเพื่อรองรับรถทางตรงและเลี้ยวขาวในทิศทางอื่น

รูปแบบที่ 4 ออกแบบให้มีสะพานยกระดับชั้นที่ 2 ขนาด 3 ช่องจราจรวิ่งตรง และเลี้ยวขวาบนทางหลวงหมายเลข 216 ทิศทา จ.หนองบัวลำภู เพื่อไป จ.สกลนคร และจ.อุดรธานี มีสะพานยกระดับชั้นที่ 3 ขนาด 3 ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 216 ทิศทาง จ.สกลนคร ไป จ.หนองบัวลำภู และจ.หนองคาย และจุดตัดระดับพื้นเป็นสัญญาณไฟจราจร เพื่อรองรับรถที่ต้องการตรงและเลี้ยวทิศทางอื่น

รูปแบบที่ 5 เป็นทางแยกต่างระดับลักษณะแบบ Partial Cloverlraffs Interchangeโดยออกแบบสะพานยกระดับแนวทางหลวงหมายเลข 216 ชั้นที่ 2 เพื่อรองรับรถวิ่งตรงและเลี้ยวขวาจาก จ.สกลนคร ไปยัง จ.หนองบัวลำภู และจ.หนองคาย พร้อมทั้งรับรถเลี้ยวขวาจาก จ.หนองคายไป จ.หนองบัวลำภู ออกแบบสะพายยกระดับระดับที่ 3 เพื่อรับรถวิ่งตรงและเลี้ยวขาวจากจ.หนองบัวลำภู ไป จ.สกลนคร และ จ.อุดรธานี พร้อมทั้งรับรถจาก จ.อุดรธานี ไป จ.สกลนคร และจัดให้ทางหลวงหมายเลข 2 สามารถวิ่งรถตรงผ่านแยกระดับพื้นได้โดยไม่ติดสัญญาณไฟจราจร

กรมทางหลวงจึงได้จัดประชุมปฐมนิเทศครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาและออกแบบรายละเอียด ตลอดจนจัดเตรียมเอกสารข้อมูลประกอบการประวดราคา และประเมินราคาพร้อมกำหนดขอบเขตลงระหว่างโฉนด เพื่อจัดกรรมสิทธิ์ (ถ้ามี) สำหรับโครงการ และเพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความสมบูรณ์แบบทางด้านวิศวกรรม สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
เวทีจัดประชุมครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 216 (ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี ด้านทิศเหนือ)

รูปแบบก่อสร้างทางต่างระดับทั้ง 5 แบบ




กำลังโหลดความคิดเห็น