ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - เผยงานยี่เป็งลอยกระทงเชียงใหม่ปีนี้มีคนเจ็บจากการเล่นประทัด-ดอกไม้ไฟแล้วกว่า 20 คน คาดยังมีอีกมากช่วงวันหลัก เผยปี 2554 เจ็บ 136 ตาย 2 กลุ่มเสี่ยงเด็ก-วัยรุ่น หวังปีนี้สถิติจะน้อยลง
วันนี้ (28 พ.ย.) ดร.ทพ.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงสถานการณ์อุบัติเหตุจากการเล่นประทัดและดอกไม้ไฟในช่วงลอยกระทงของเชียงใหม่ปีนี้ว่า มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ามาแล้ว 18 คน (ล่าสุดมีรายงานผู้บาดเจ็บเพิ่มอีก 7 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย รวมยอดผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นเป็น 25 ราย เสียชีวิต 1 ราย) สาเหตุหลักจากความประมาท ซึ่งคาดว่าในช่วง 28-29 พ.ย. 55 ที่เป็นช่วงงานหลักจะมีเหตุอีกหลายรายตามข้อมูลที่มีว่าทุกปีช่วงเวลาดังกล่าวจะเล่นกันมาก แต่ปีนี้คาดหวังว่าจะน้อยกว่าทุกปี เพราะหลายส่วนร่วมรณรงค์กันมาก แต่ก็ยังพบการเล่นและจำหน่ายกันอยู่โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน วัยรุ่นที่ชอบเล่นกันมาก รวมทั้งอุบัติเหตุจากการเล่นก็ยังมีพอๆ กันเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกัน ต้องรอดูอีก 2 วันของงานก่อน
ซึ่งสถิติอุบัติเหตุจากประทัดและดอกไม้ไฟในช่วงลอยกระทงของปี 2551 ลดลงจากปี 2550 โดยมีอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟลดลงจาก 181 ราย (อัตรา 10.65 ต่อแสนประชากร) เป็น 149 ราย (อัตรา 8.97 ต่อแสนประชากร) จากนั้นเพิ่มขึ้นในปี 2552 จำนวนทั้งสิ้น 179 ราย (อัตรา 10.74 ต่อแสนประชากร) แต่ในปี 2553 มีแนวโน้มลดลงอีก โดยมีผู้บาดเจ็บจำนวน 117 ราย (อัตรา 7.02 ต่อแสนประชากร) ส่วนในปี 2554 พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 136 ราย (อัตรา 8.32 ต่อแสนประชากร) โดยเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน ประกอบด้วยผู้บาดเจ็บในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 116 ราย (85.3%) ต่างจังหวัดจำนวน 18 ราย (13.2%) และต่างชาติจำนวน 2 ราย (1.5%) อาจเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดมาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงลอยกระทงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัด และดอกไม้ไฟ และอุบัติเหตุจราจร เพิ่มขึ้นด้วย
รองนายแพทย์ สสจ.เชียงใหม่บอกว่า ปีก่อนมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟจำนวนทั้งสิ้น 136 ราย (อัตรา 8.32 ต่อแสนประชากร) โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องส่งต่อเพื่อรับการรักษาและรับไว้เป็นผู้ป่วยในจำนวน 21 ราย อวัยวะของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ บริเวณมือ, แขน, ขา และเท้า (ร้อยละ 57.35) รองลงมา ได้แก่ บริเวณใบหน้า ตา และหู (ร้อยละ 24.26) และบริเวณศีรษะและคอ (ร้อยละ 6.62) พื้นที่ที่เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟมากที่สุด ได้แก่ อ.กัลยาณิวัฒนา อ.เมือง และ อ.แม่วาง โดยมีอัตราต่อแสนประชากรเท่ากับ 65.47, 19.71 และ 14.04 ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มอายุและเพศผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัด และดอกไม้ไฟ พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี (20 ราย) 15-19 ปี (18 ราย) และ 20-24 ปี (16 ราย) ตามลำดับ เป็นเพศชาย 108 ราย และเพศหญิง 28 ราย อัตราส่วน ชาย:หญิง = 3.9:1 ข้อมูล ผู้เสียชีวิต มีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย
ส่วนข้อมูลด้านอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลลอยกระทง จ.เชียงใหม่ ปี 2554 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 855 ราย (อัตรา 52.33 ต่อแสนประชากร) เพิ่มจากช่วงเวลาปกติร้อยละ 33 ซึ่งโดยทั่วไปช่วงเทศกาลลอยกระทงจะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรสูงกว่าปกติร้อยละ 20-30 การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในช่วงเทศกาลลอยกระทง (วันที่ 7-13 พ.ย. 2554) ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในช่วงเทศกาลลอยกระทงทั้งหมดจำนวน 481 ครั้ง เป็นระดับสูง (ALS) จำนวน 145 ครั้ง (ร้อยละ 30.15) ระดับกลาง (ILS) จำนวน 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.21) ระดับพื้นฐาน (BLS) จำนวน 46 ครั้ง (ร้อยละ 9.56) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (FR) จำนวน 288 ครั้ง (ร้อยละ 59.88) และไม่ระบุระดับบริการจำนวน 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.21) ตามลำดับ
ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณาที่จะเป็นข้อมูลทุกปีคือ ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี และในกลุ่มอายุ 20-29 ปีพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บาดเจ็บที่อายุน้อยที่สุดคือ 6 เดือน (พี่ชายขว้างประทัดใส่)
ดังนั้น นอกจากการป้องกันในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มบุคคลทั่วไปแล้ว ยังต้องเน้นการดูแลในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเน้นย้ำให้ผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้บุตรหลานเล่นตามลำพัง และควรระมัดระวัง ทั้งอุบัติเหตุจากประทัดและดอกไม้ไฟ อุบัติเหตุจราจร การจมน้ำขณะลอยกระทง และความคึกคะนองของการเล่นประทัด ดอกไม้ไฟ เช่น การจุดดอกไม้ไฟใส่ฝูงชน หรือโยนดอกไม้ไฟใส่กัน การเล่นประทัดยักษ์ทำให้เกิดความกลัว บางส่วนไม่กล้าออกมาร่วมงานลอยกระทง ประทัดยักษ์ยังอาจเป็นอันตรายแก่ผู้เล่น ทำให้พิการ และเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้จะมีมาตรการเข้มข้นในการรณรงค์การเล่นประทัดและดอกไม้ไฟอย่างระมัดระวัง มีการตรวจจับ การจำกัดอายุกลุ่มผู้ซื้อ และการจำกัดเวลาขายประทัดและดอกไม้ไฟ สารตั้งต้นการผลิตประทัดและดอกไม้ไฟ แต่ก็พบว่าแนวโน้มความรุนแรงของการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
สาเหตุของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ ได้แก่การจุดประทัดเล่นแล้วแตกใส่มือ การจุดประทัดแล้วโยนใส่ผู้คนหรือนักท่องเที่ยวทำให้ได้รับบาดเจ็บ และการบาดเจ็บจากพลุ ประทัด หรือดอกไม้ไฟที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บหมู่ ยังต้องเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความประมาท และความคึกคะนองของการเล่นประทัด พลุ และดอกไม้ไฟ การปล่อยโคมลอย และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
วันนี้ (28 พ.ย.) ดร.ทพ.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงสถานการณ์อุบัติเหตุจากการเล่นประทัดและดอกไม้ไฟในช่วงลอยกระทงของเชียงใหม่ปีนี้ว่า มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ามาแล้ว 18 คน (ล่าสุดมีรายงานผู้บาดเจ็บเพิ่มอีก 7 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย รวมยอดผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นเป็น 25 ราย เสียชีวิต 1 ราย) สาเหตุหลักจากความประมาท ซึ่งคาดว่าในช่วง 28-29 พ.ย. 55 ที่เป็นช่วงงานหลักจะมีเหตุอีกหลายรายตามข้อมูลที่มีว่าทุกปีช่วงเวลาดังกล่าวจะเล่นกันมาก แต่ปีนี้คาดหวังว่าจะน้อยกว่าทุกปี เพราะหลายส่วนร่วมรณรงค์กันมาก แต่ก็ยังพบการเล่นและจำหน่ายกันอยู่โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน วัยรุ่นที่ชอบเล่นกันมาก รวมทั้งอุบัติเหตุจากการเล่นก็ยังมีพอๆ กันเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกัน ต้องรอดูอีก 2 วันของงานก่อน
ซึ่งสถิติอุบัติเหตุจากประทัดและดอกไม้ไฟในช่วงลอยกระทงของปี 2551 ลดลงจากปี 2550 โดยมีอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟลดลงจาก 181 ราย (อัตรา 10.65 ต่อแสนประชากร) เป็น 149 ราย (อัตรา 8.97 ต่อแสนประชากร) จากนั้นเพิ่มขึ้นในปี 2552 จำนวนทั้งสิ้น 179 ราย (อัตรา 10.74 ต่อแสนประชากร) แต่ในปี 2553 มีแนวโน้มลดลงอีก โดยมีผู้บาดเจ็บจำนวน 117 ราย (อัตรา 7.02 ต่อแสนประชากร) ส่วนในปี 2554 พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 136 ราย (อัตรา 8.32 ต่อแสนประชากร) โดยเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน ประกอบด้วยผู้บาดเจ็บในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 116 ราย (85.3%) ต่างจังหวัดจำนวน 18 ราย (13.2%) และต่างชาติจำนวน 2 ราย (1.5%) อาจเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดมาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงลอยกระทงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัด และดอกไม้ไฟ และอุบัติเหตุจราจร เพิ่มขึ้นด้วย
รองนายแพทย์ สสจ.เชียงใหม่บอกว่า ปีก่อนมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟจำนวนทั้งสิ้น 136 ราย (อัตรา 8.32 ต่อแสนประชากร) โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องส่งต่อเพื่อรับการรักษาและรับไว้เป็นผู้ป่วยในจำนวน 21 ราย อวัยวะของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ บริเวณมือ, แขน, ขา และเท้า (ร้อยละ 57.35) รองลงมา ได้แก่ บริเวณใบหน้า ตา และหู (ร้อยละ 24.26) และบริเวณศีรษะและคอ (ร้อยละ 6.62) พื้นที่ที่เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัดและดอกไม้ไฟมากที่สุด ได้แก่ อ.กัลยาณิวัฒนา อ.เมือง และ อ.แม่วาง โดยมีอัตราต่อแสนประชากรเท่ากับ 65.47, 19.71 และ 14.04 ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มอายุและเพศผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุประทัด และดอกไม้ไฟ พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี (20 ราย) 15-19 ปี (18 ราย) และ 20-24 ปี (16 ราย) ตามลำดับ เป็นเพศชาย 108 ราย และเพศหญิง 28 ราย อัตราส่วน ชาย:หญิง = 3.9:1 ข้อมูล ผู้เสียชีวิต มีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย
ส่วนข้อมูลด้านอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลลอยกระทง จ.เชียงใหม่ ปี 2554 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 855 ราย (อัตรา 52.33 ต่อแสนประชากร) เพิ่มจากช่วงเวลาปกติร้อยละ 33 ซึ่งโดยทั่วไปช่วงเทศกาลลอยกระทงจะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรสูงกว่าปกติร้อยละ 20-30 การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในช่วงเทศกาลลอยกระทง (วันที่ 7-13 พ.ย. 2554) ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในช่วงเทศกาลลอยกระทงทั้งหมดจำนวน 481 ครั้ง เป็นระดับสูง (ALS) จำนวน 145 ครั้ง (ร้อยละ 30.15) ระดับกลาง (ILS) จำนวน 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.21) ระดับพื้นฐาน (BLS) จำนวน 46 ครั้ง (ร้อยละ 9.56) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (FR) จำนวน 288 ครั้ง (ร้อยละ 59.88) และไม่ระบุระดับบริการจำนวน 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.21) ตามลำดับ
ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณาที่จะเป็นข้อมูลทุกปีคือ ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี และในกลุ่มอายุ 20-29 ปีพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บาดเจ็บที่อายุน้อยที่สุดคือ 6 เดือน (พี่ชายขว้างประทัดใส่)
ดังนั้น นอกจากการป้องกันในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มบุคคลทั่วไปแล้ว ยังต้องเน้นการดูแลในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเน้นย้ำให้ผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้บุตรหลานเล่นตามลำพัง และควรระมัดระวัง ทั้งอุบัติเหตุจากประทัดและดอกไม้ไฟ อุบัติเหตุจราจร การจมน้ำขณะลอยกระทง และความคึกคะนองของการเล่นประทัด ดอกไม้ไฟ เช่น การจุดดอกไม้ไฟใส่ฝูงชน หรือโยนดอกไม้ไฟใส่กัน การเล่นประทัดยักษ์ทำให้เกิดความกลัว บางส่วนไม่กล้าออกมาร่วมงานลอยกระทง ประทัดยักษ์ยังอาจเป็นอันตรายแก่ผู้เล่น ทำให้พิการ และเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้จะมีมาตรการเข้มข้นในการรณรงค์การเล่นประทัดและดอกไม้ไฟอย่างระมัดระวัง มีการตรวจจับ การจำกัดอายุกลุ่มผู้ซื้อ และการจำกัดเวลาขายประทัดและดอกไม้ไฟ สารตั้งต้นการผลิตประทัดและดอกไม้ไฟ แต่ก็พบว่าแนวโน้มความรุนแรงของการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
สาเหตุของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ ได้แก่การจุดประทัดเล่นแล้วแตกใส่มือ การจุดประทัดแล้วโยนใส่ผู้คนหรือนักท่องเที่ยวทำให้ได้รับบาดเจ็บ และการบาดเจ็บจากพลุ ประทัด หรือดอกไม้ไฟที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บหมู่ ยังต้องเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความประมาท และความคึกคะนองของการเล่นประทัด พลุ และดอกไม้ไฟ การปล่อยโคมลอย และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น