ศูนย์ข่าวศรีราชา - อพท. เดินหน้ากิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนฯ ต่ำ ในพื้นที่จังหวัดตราด โดยเฉพาะพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยง เพื่อให้เป็นจุดนำร่องในการเรียนรู้ พร้อมตั้งเป้าปี ’56 เตรียมขยายสู่พื้นที่พิเศษอื่นอีก 6 แห่ง ทั้งเชียงราย เลย และกรุงเทพฯ
น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในประเทศ ความต้องการ ความท้าทาย และการแนะนำคู่มือจัดการแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนฯ ต่ำ ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมบ้านปูรีสอร์ท จังหวัดตราด โดยมีองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ที่มี พล.ต.หญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) และผู้ประกอบการโรงแรม รวมทั้งชุมชนต่างๆ เข้าร่วม
โดยมีวิทยากรชาวเยอรมันจาก GIZ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ด้านจัดการท่องเที่ยวด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศให้แก่ผู้ร่วมประชุม
ทั้งนี้ พล.ต.หญิงจรัสพิมพ์ กล่าวว่า อพท.ได้นำร่องในการส่งเสริมการจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนฯ ต่ำในจังหวัดตราดมานานถึง 4 ปีแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาะหมาก โดยได่เผยแพร่ ให้แนวคิด และความรู้แก่ผู้ประกอบการในการงานจนประสบความสำเร็จ และผู้ประกอบการที่พักล้วนให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศ ตั้งแต่การใช้ในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
โดยในปีงบประมาณ 2556 ได้พุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมให้ตัวนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่บรรยากาศ จากกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การมอบคู่มือท่องเที่ยวของเกาะหมาก ที่ประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยว LOW CARBON เช่น กิจกรรมปั่นจักรยานเที่ยวแทนการใช้รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ การรับประทานเมนูลดโลกร้อน เป็นต้น
นอกจากนั้น ในปีนี้ อพท.ยังมุ่งขยายแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนฯ ต่ำไปยังเกาะอื่นๆ เพิ่มเติมโดยผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ และยังมุ่งขยายไปยังพื้นที่พิเศษ ทั้ง 6 พื้นที่ของ อพท.อีกด้วย โดยได้ดำเนินการจัดในพื้นที่จังหวัดตราดเป็นแห่งแรกเพื่อให้เป็นพื้นที่ศึกษาของแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ จากนั้น จะขยายไปในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เลย และกรุงเทพฯ
น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในประเทศ ความต้องการ ความท้าทาย และการแนะนำคู่มือจัดการแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนฯ ต่ำ ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมบ้านปูรีสอร์ท จังหวัดตราด โดยมีองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ที่มี พล.ต.หญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) และผู้ประกอบการโรงแรม รวมทั้งชุมชนต่างๆ เข้าร่วม
โดยมีวิทยากรชาวเยอรมันจาก GIZ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ด้านจัดการท่องเที่ยวด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศให้แก่ผู้ร่วมประชุม
ทั้งนี้ พล.ต.หญิงจรัสพิมพ์ กล่าวว่า อพท.ได้นำร่องในการส่งเสริมการจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนฯ ต่ำในจังหวัดตราดมานานถึง 4 ปีแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาะหมาก โดยได่เผยแพร่ ให้แนวคิด และความรู้แก่ผู้ประกอบการในการงานจนประสบความสำเร็จ และผู้ประกอบการที่พักล้วนให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศ ตั้งแต่การใช้ในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
โดยในปีงบประมาณ 2556 ได้พุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมให้ตัวนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่บรรยากาศ จากกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การมอบคู่มือท่องเที่ยวของเกาะหมาก ที่ประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยว LOW CARBON เช่น กิจกรรมปั่นจักรยานเที่ยวแทนการใช้รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ การรับประทานเมนูลดโลกร้อน เป็นต้น
นอกจากนั้น ในปีนี้ อพท.ยังมุ่งขยายแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนฯ ต่ำไปยังเกาะอื่นๆ เพิ่มเติมโดยผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ และยังมุ่งขยายไปยังพื้นที่พิเศษ ทั้ง 6 พื้นที่ของ อพท.อีกด้วย โดยได้ดำเนินการจัดในพื้นที่จังหวัดตราดเป็นแห่งแรกเพื่อให้เป็นพื้นที่ศึกษาของแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ จากนั้น จะขยายไปในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เลย และกรุงเทพฯ