ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สำรวจพบโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากภัยแล้ง น้ำท่วม โรคพืช ฯลฯ ยังมีเกษตรกรเข้าร่วมน้อย ทั้งที่ส่วนใหญ่เคยเจอภัยพิบัติกันถ้วนหน้า
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สอบถามความคิดเห็นจากเกษตรกรจํานวน 784 ราย (ภาคเหนือร้อยละ 33.2 ภาคกลางร้อยละ 30.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 22.8 ภาคใต้ร้อยละ 13.4) เกี่ยวกับ “เกษตรกร กับโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร” เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคพืช โรคแมลงระบาด ฯลฯ พบว่ามีเกษตรกรถึง 83.7% เคยประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากภัยพิบัติ ในจำนวนนี้ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม 53.7% ภัยแล้ง 23.6% และปัญหาโรคแมลงระบาด 13.4% แต่มีเกษตรกรอยู่ 16.3% ไม่เคยประสบปัญหาภัยพิบัติ
จากการสอบถามถึงโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ 62.3% ทราบว่ามีโครงการนี้อยู่ อีก 37.2% ไม่ทราบว่ามีโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร โดยมีเกษตรกรมากถึง 90.4% สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่จนถึงขณะนี้ยังมีเกษตรกรมากถึง 80.5% ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ มีเพียง 19.5% เท่านั้นที่เข้าร่วมโครงการแล้ว อีก 9.6% ไม่สนใจที่จะเข้าร่วม
เมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของเบี้ยประกันภัยที่เกษตรกรจะต้องจ่ายเอง 60 บาท/ไร่ พบว่า 71.2% เห็นว่าเหมาะสมดี 28.8% เห็นว่าไม่เหมาะสม โดยมองว่าควรมีอัตราเบี้ยประกันอยู่ที่ 38 บาท/ไร่
จากการสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ พบว่า 80.1% เห็นว่าจะสามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้เพราะเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น-ป้องกันล่วงหน้า หากผลผลิตได้รับความเสียหายก็ยังได้รับค่าชดเชยใช้เป็นทุนในการผลิตฤดูกาลใหม่ได้ มีเพียง 19.9% เท่านั้นที่คิดว่าไม่น่าจะมีส่วนช่วยเหลือได้ เนื่องจากเห็นว่าค่าชดเชยที่จะได้อยู่ในอัตราต่ำ ช่วยได้เพียงบางส่วนเพราะต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งยังไม่มั่นใจในโครงการ การเบิกจ่ายค่าชดเชยล่าช้า และโครงการดังกล่าวไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สอบถามความคิดเห็นจากเกษตรกรจํานวน 784 ราย (ภาคเหนือร้อยละ 33.2 ภาคกลางร้อยละ 30.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 22.8 ภาคใต้ร้อยละ 13.4) เกี่ยวกับ “เกษตรกร กับโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร” เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคพืช โรคแมลงระบาด ฯลฯ พบว่ามีเกษตรกรถึง 83.7% เคยประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากภัยพิบัติ ในจำนวนนี้ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม 53.7% ภัยแล้ง 23.6% และปัญหาโรคแมลงระบาด 13.4% แต่มีเกษตรกรอยู่ 16.3% ไม่เคยประสบปัญหาภัยพิบัติ
จากการสอบถามถึงโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ 62.3% ทราบว่ามีโครงการนี้อยู่ อีก 37.2% ไม่ทราบว่ามีโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร โดยมีเกษตรกรมากถึง 90.4% สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่จนถึงขณะนี้ยังมีเกษตรกรมากถึง 80.5% ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ มีเพียง 19.5% เท่านั้นที่เข้าร่วมโครงการแล้ว อีก 9.6% ไม่สนใจที่จะเข้าร่วม
เมื่อสอบถามถึงความเหมาะสมของเบี้ยประกันภัยที่เกษตรกรจะต้องจ่ายเอง 60 บาท/ไร่ พบว่า 71.2% เห็นว่าเหมาะสมดี 28.8% เห็นว่าไม่เหมาะสม โดยมองว่าควรมีอัตราเบี้ยประกันอยู่ที่ 38 บาท/ไร่
จากการสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ พบว่า 80.1% เห็นว่าจะสามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้เพราะเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น-ป้องกันล่วงหน้า หากผลผลิตได้รับความเสียหายก็ยังได้รับค่าชดเชยใช้เป็นทุนในการผลิตฤดูกาลใหม่ได้ มีเพียง 19.9% เท่านั้นที่คิดว่าไม่น่าจะมีส่วนช่วยเหลือได้ เนื่องจากเห็นว่าค่าชดเชยที่จะได้อยู่ในอัตราต่ำ ช่วยได้เพียงบางส่วนเพราะต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งยังไม่มั่นใจในโครงการ การเบิกจ่ายค่าชดเชยล่าช้า และโครงการดังกล่าวไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่