จันทบุรี-ชาวอำเภอแหลมสิงห์ เพาะพันธุ์เลี้ยงนกกรงหัวจุกขาย สร้างรายได้อย่างงดงาม หลังมีประชาชนชื่นชอบมาหาซื้อนำไปแข่งขันกันเป็นจำนวนมาก
นายสาธิต โชคดี อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 30/1 หมู่ 9 ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกไว้แข่งขัน เปิดเผยว่า เดิมได้พันธุ์นกกรงหัวจุกมาจากเพื่อนคนหนึ่งที่มีความชื่นชอบในเรื่องนกด้วยกัน ตนเองก็นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน และได้ส่งแข่งขันการประกวดนกกรงหัวจุกทุกครั้ง โดยการแข่งขันนกกรงหัวจุก มี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีกฎกติกากำหนดไว้ โดยดูจากเสียงร้องของนกกรงหัวจุก ปกติแล้วผู้ที่มีความชื่นชอบจะรู้ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ดี
ส่วนในเรื่องของการเพาะพันธุ์ขายนั้น นายสาธิต เล่าว่า ตอนที่ส่งนกไปแข่งขันครั้งแรก ได้รับรางวัลกลับมาบ้าน ตนจึงมีแนวความคิดทดลองเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกดู และสามารถเพาะพันธุ์จนเป็นผลสำเร็จ ปัจจุบัน สามารถเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกได้เป็นจำนวนมาก
“ตอนแรกตั้งใจที่จะเพาะเอาไว้ส่งแข่งขันอย่างเดียว แต่พอเริ่มมีเพื่อนๆ ในวงการที่เลี้ยงนก ประชาชน และผู้ที่สนใจรู้ข่าวก็มาหาที่บ้าน และขอซื้อพันธุ์นกกรงหัวจุกต่อ ซึ่งช่วงแรกได้ปฏิเสธไม่ขายให้ใคร เพราะคิดว่าตนเองไม่อยากขายสิ่งที่ตนรักให้แก่คนอื่น แต่กลับมาคิดอีกทีว่าเป็นเพื่อนๆ ประชาชน และผู้ที่สนใจที่มีความชื่นชอบในเรื่องนกด้วยกันก็ขายให้ โดยราคาขึ้นอยู่กับเพื่อนคนที่ซื้อว่าจะให้ราคาเท่าไร เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่รักที่ชื่นชอบเหมือนกัน จึงไม่ได้กำหนดราคาตายตัว” นายสาธิตกล่าว
ปัจจุบัน ยึดเป็นอาชีพเพาะพันธุ์นกกรงจุกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมีรายได้ตกเดือน 10,000-20,000 บาท นอกจากนี้ นกกรงหัวจุกที่เพาะพันธุ์แล้ว ยังมีการส่งเข้าร่วมการแข่งขันทุกครั้งเมื่อมีการจัดการแข่งขันอีกด้วย
นายสาธิต โชคดี อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 30/1 หมู่ 9 ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกไว้แข่งขัน เปิดเผยว่า เดิมได้พันธุ์นกกรงหัวจุกมาจากเพื่อนคนหนึ่งที่มีความชื่นชอบในเรื่องนกด้วยกัน ตนเองก็นำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน และได้ส่งแข่งขันการประกวดนกกรงหัวจุกทุกครั้ง โดยการแข่งขันนกกรงหัวจุก มี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีกฎกติกากำหนดไว้ โดยดูจากเสียงร้องของนกกรงหัวจุก ปกติแล้วผู้ที่มีความชื่นชอบจะรู้ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ดี
ส่วนในเรื่องของการเพาะพันธุ์ขายนั้น นายสาธิต เล่าว่า ตอนที่ส่งนกไปแข่งขันครั้งแรก ได้รับรางวัลกลับมาบ้าน ตนจึงมีแนวความคิดทดลองเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกดู และสามารถเพาะพันธุ์จนเป็นผลสำเร็จ ปัจจุบัน สามารถเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกได้เป็นจำนวนมาก
“ตอนแรกตั้งใจที่จะเพาะเอาไว้ส่งแข่งขันอย่างเดียว แต่พอเริ่มมีเพื่อนๆ ในวงการที่เลี้ยงนก ประชาชน และผู้ที่สนใจรู้ข่าวก็มาหาที่บ้าน และขอซื้อพันธุ์นกกรงหัวจุกต่อ ซึ่งช่วงแรกได้ปฏิเสธไม่ขายให้ใคร เพราะคิดว่าตนเองไม่อยากขายสิ่งที่ตนรักให้แก่คนอื่น แต่กลับมาคิดอีกทีว่าเป็นเพื่อนๆ ประชาชน และผู้ที่สนใจที่มีความชื่นชอบในเรื่องนกด้วยกันก็ขายให้ โดยราคาขึ้นอยู่กับเพื่อนคนที่ซื้อว่าจะให้ราคาเท่าไร เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่รักที่ชื่นชอบเหมือนกัน จึงไม่ได้กำหนดราคาตายตัว” นายสาธิตกล่าว
ปัจจุบัน ยึดเป็นอาชีพเพาะพันธุ์นกกรงจุกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมีรายได้ตกเดือน 10,000-20,000 บาท นอกจากนี้ นกกรงหัวจุกที่เพาะพันธุ์แล้ว ยังมีการส่งเข้าร่วมการแข่งขันทุกครั้งเมื่อมีการจัดการแข่งขันอีกด้วย