จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรีฝนตกหนัก ผู้ประกอบการเพาะพันธุ์กล้าทุเรียนทุกข์หนัก เกิดโรคเชื้อราสีชมพูระบาด
หลังจากในหลายอำเภอของจังหวัดจันทบุรี ได้รับผลกระทบจากมรสุม เกิดพายุฝนตกหนักนานติดต่อกันหลายวัน ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการจำหน่ายกล้าพันธ์ทุเรียน ประสบปัญหาโรคเชื้อราสีชมพูระบาดหนัก ทำให้กล้าทุเรียนยืนต้นตาย ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ มีสาเหตุหลักเกิดจากภาวะอากาศชื้น และน้ำขัง จนทำให้ต้นกล้าทุเรียนเกิดเป็นเชื้อรา และรากเน่า
น.ส.อังสนา ธรรมเกสร อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่11 ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ผู้ประกอบการเพาะกล้า และจำหน่ายกล้าพันธุ์ทุเรียน เปิดเผยว่า ช่วงฤดูมรสุมปีนี้ได้เกิดโรคเชื้อราสีชมพูในกล้าทุเรียนระบาดหนักมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุหลักเกิดจากฝนที่ตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้เกิดเชื้อรา และรากเน่า ต้นกล้าทุเรียนมีใบเหลือง และยืนต้นตาย
นอกจากนี้ ยังเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนที่มากับหน้าฝน ทั้งโรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด และเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งโรคเชื้อราระบาดในช่วงหน้าฝนยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแนวทางการป้องกันเท่านั้น โดยการขยับถุงต้นกล้าแต่ละถุงให้ห่างกันประมาณ 1 ฟุต พร้อมทำการตัดแต่งใบที่น้อยลง เพื่อเปิดช่องให้อากาศได้ถ่ายเทได้สะดวก
นอกจากนี้ ให้ใช้ผ้าทำการปิดหลังคา และด้านข้างป้องกันน้ำฝน ซึ่งผ้าแสลมจะมีช่องให้ลมผ่านได้ ไม่เหมือนกับการสร้างโรงเรือนที่มีผนังกั้นมิดชิด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเชื้อราแพร่ระบาดได้ง่าย
หลังจากในหลายอำเภอของจังหวัดจันทบุรี ได้รับผลกระทบจากมรสุม เกิดพายุฝนตกหนักนานติดต่อกันหลายวัน ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการจำหน่ายกล้าพันธ์ทุเรียน ประสบปัญหาโรคเชื้อราสีชมพูระบาดหนัก ทำให้กล้าทุเรียนยืนต้นตาย ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ มีสาเหตุหลักเกิดจากภาวะอากาศชื้น และน้ำขัง จนทำให้ต้นกล้าทุเรียนเกิดเป็นเชื้อรา และรากเน่า
น.ส.อังสนา ธรรมเกสร อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่11 ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ผู้ประกอบการเพาะกล้า และจำหน่ายกล้าพันธุ์ทุเรียน เปิดเผยว่า ช่วงฤดูมรสุมปีนี้ได้เกิดโรคเชื้อราสีชมพูในกล้าทุเรียนระบาดหนักมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุหลักเกิดจากฝนที่ตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้เกิดเชื้อรา และรากเน่า ต้นกล้าทุเรียนมีใบเหลือง และยืนต้นตาย
นอกจากนี้ ยังเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนที่มากับหน้าฝน ทั้งโรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด และเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งโรคเชื้อราระบาดในช่วงหน้าฝนยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแนวทางการป้องกันเท่านั้น โดยการขยับถุงต้นกล้าแต่ละถุงให้ห่างกันประมาณ 1 ฟุต พร้อมทำการตัดแต่งใบที่น้อยลง เพื่อเปิดช่องให้อากาศได้ถ่ายเทได้สะดวก
นอกจากนี้ ให้ใช้ผ้าทำการปิดหลังคา และด้านข้างป้องกันน้ำฝน ซึ่งผ้าแสลมจะมีช่องให้ลมผ่านได้ ไม่เหมือนกับการสร้างโรงเรือนที่มีผนังกั้นมิดชิด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเชื้อราแพร่ระบาดได้ง่าย