มหาสารคาม - สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกระบาดรุนแรงในจังหวัดมหาสารคาม พบผู้ป่วยมียอดสะสม แล้วกว่า 300 ราย
นายแพทย์สุริยา รัตนปริญญา สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ระยะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน และจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ยุงลายอันเป็นพาหะเชื้อไข้เลือดออกเข้าสู่คน วางไข่และแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2555 แล้วจำนวน 366 ราย แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ซึ่งยอดผู้ป่วยสูงกว่าเดือนที่ผ่านมาถึง 33 ราย
โดยมีรายงานผู้ป่วยในเดือนมกราคม 12 ราย กุมภาพันธ์ 13 ราย มีนาคม 14 ราย เมษายน 22 ราย เดือนพฤษภาคม 58 ราย มิถุนายน 113 ราย และกรกฎาคม 132 ราย กระจายในพื้นที่ 13 อำเภอทั้งจังหวัด อัตราป่วยสูงสุด 3 ลำดับแรกที่อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเมืองมหาสารคาม และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
โดยพบผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ขวบ และกลุ่มอายุ 15-24 ปี หากผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม หน้าแดง ตัวแดง และปวดท้องรุนแรง ให้รีบนำบุตรหลานไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
นายแพทย์สุริยา รัตนปริญญา สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ระยะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน และจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ยุงลายอันเป็นพาหะเชื้อไข้เลือดออกเข้าสู่คน วางไข่และแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2555 แล้วจำนวน 366 ราย แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ซึ่งยอดผู้ป่วยสูงกว่าเดือนที่ผ่านมาถึง 33 ราย
โดยมีรายงานผู้ป่วยในเดือนมกราคม 12 ราย กุมภาพันธ์ 13 ราย มีนาคม 14 ราย เมษายน 22 ราย เดือนพฤษภาคม 58 ราย มิถุนายน 113 ราย และกรกฎาคม 132 ราย กระจายในพื้นที่ 13 อำเภอทั้งจังหวัด อัตราป่วยสูงสุด 3 ลำดับแรกที่อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเมืองมหาสารคาม และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
โดยพบผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ขวบ และกลุ่มอายุ 15-24 ปี หากผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม หน้าแดง ตัวแดง และปวดท้องรุนแรง ให้รีบนำบุตรหลานไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป