ตาก - นักวิชาการจัดหางานจังหวัดฯ พร้อม ตชด.-ตม.ผสานกำลังปิดล้อมโรงงานเย็บรองเท้าในแม่สอด พบใช้แรงงานเถื่อนเต็มโรงงาน ขณะที่พนักงานโรงงานอ้างเพิ่งเปิดได้ไม่กี่เดือน แถมแรงงานเคลื่อนย้ายบ่อย กระทบการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน
วันนี้ (31 ก.ค.) นายอุบล แมลงภู่ นักวิชาการผู้ชำนาญการ 5 จัดหางานจังหวัดตาก, ร.ต.อ.อัครฤทธิ์ อ่อนนวล รองสารวัตรตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก และ ร.ต.ท.บำรุง เชื้อเดช รองผู้บังคับการกองร้อย ตชด.ที่ 346 อ.แม่สอด ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ปิดล้อมโรงงานเย็บรองเท้าซายน์ม่อน เลขที่ 261 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่กาษา ถนนสาย อ.แม่สอด-แม่ระมาด พร้อมหมายศาลเข้าตรวจค้นในโรงงาน พบแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานทั้งหมด 61 คน แยกเป็นชาย 20 คน หญิง 41 คน กำลังนั่งเย็บรองเท้าอยู่
เจ้าหน้าที่จึงเรียกคนงานทั้งหมดมาตรวจสอบเอกสารทางราชการ ปรากฏว่าไม่มีเอกสาร เช่น ทร.38 และบัตรอนุญาตทำงานมาแสดง จึงนำแรงงานพม่าทั้งหมดขึ้นรถยนต์ของ ตม. ไปสอบปากคำ ก่อนส่งให้ตำรวจ สภ.แม่สอดดำเนินคดีต่อไป
ขณะที่เจ้าหน้าที่ของโรงงานดังกล่าวได้บอกเจ้าหน้าที่ว่า กำลังจะทำบัตรอนุญาตทำงานให้แรงงานพม่าทั้งหมด แต่มีปัญหาแรงงานไม่หยุดนิ่ง บางคนลากลับบ้าน และเพิ่งได้เปิดกิจการเย็บรองเท้าได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
อย่างไรก็ดี สถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวในอำเภอแม่สอดส่วนมากไม่มีบัตรอนุญาตทำงาน หรือหนังสือเดินทางแรงงานที่ทางการพม่าออกให้ตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลพม่า เพราะแรงงานพม่ามักหนีออกจากพื้นที่อำเภอแม่สอดไปยังพื้นที่ชั้นใน ทำให้นายจ้างจำเป็นต้องหาแรงงานผิดกฎหมายมาทดแทนตลอดเวลา
วันนี้ (31 ก.ค.) นายอุบล แมลงภู่ นักวิชาการผู้ชำนาญการ 5 จัดหางานจังหวัดตาก, ร.ต.อ.อัครฤทธิ์ อ่อนนวล รองสารวัตรตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก และ ร.ต.ท.บำรุง เชื้อเดช รองผู้บังคับการกองร้อย ตชด.ที่ 346 อ.แม่สอด ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ปิดล้อมโรงงานเย็บรองเท้าซายน์ม่อน เลขที่ 261 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่กาษา ถนนสาย อ.แม่สอด-แม่ระมาด พร้อมหมายศาลเข้าตรวจค้นในโรงงาน พบแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานทั้งหมด 61 คน แยกเป็นชาย 20 คน หญิง 41 คน กำลังนั่งเย็บรองเท้าอยู่
เจ้าหน้าที่จึงเรียกคนงานทั้งหมดมาตรวจสอบเอกสารทางราชการ ปรากฏว่าไม่มีเอกสาร เช่น ทร.38 และบัตรอนุญาตทำงานมาแสดง จึงนำแรงงานพม่าทั้งหมดขึ้นรถยนต์ของ ตม. ไปสอบปากคำ ก่อนส่งให้ตำรวจ สภ.แม่สอดดำเนินคดีต่อไป
ขณะที่เจ้าหน้าที่ของโรงงานดังกล่าวได้บอกเจ้าหน้าที่ว่า กำลังจะทำบัตรอนุญาตทำงานให้แรงงานพม่าทั้งหมด แต่มีปัญหาแรงงานไม่หยุดนิ่ง บางคนลากลับบ้าน และเพิ่งได้เปิดกิจการเย็บรองเท้าได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
อย่างไรก็ดี สถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวในอำเภอแม่สอดส่วนมากไม่มีบัตรอนุญาตทำงาน หรือหนังสือเดินทางแรงงานที่ทางการพม่าออกให้ตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลพม่า เพราะแรงงานพม่ามักหนีออกจากพื้นที่อำเภอแม่สอดไปยังพื้นที่ชั้นใน ทำให้นายจ้างจำเป็นต้องหาแรงงานผิดกฎหมายมาทดแทนตลอดเวลา