ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - “แม่โจ้โพล” สำรวจพบคนวัยทํางานร้อยละ 40 เดือดร้อนรายได้ไม่พอกับรายจ่าย วอนรัฐช่วยด่วน ชี้ราคาน้ำมันพุ่งเป็นเหตุทำสินค้าแพงขึ้น จี้รัฐบาลลดนโยบายประชานิยมทำสิ้นเปลืองงบ
ศูนย์วิจัยและพยากรณ์เศรษฐกิจ สังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “คนไทยกับภาวะค่าครองชีพ” ในปัจจุบัน จากภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยสอบถามคนวัยทำงานทั่วประเทศ ช่วงอายุ 25-35 ปี จำนวน 703 คน แบ่งเป็นภาคเหนือร้อยละ 26.5 กลางร้อยละ 23.0 ตะวันออกเฉียงเหนือ 23.3 ภาคใต้ ร้อยละ 27.2 โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 40.3 หญิงร้อยละ 59.7 ระหว่างวันที่ 5-20 พฤษภาคม 55 พบว่า
ในประเด็นค่าใช้จ่ายต่อวันของประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน พบว่าร้อยละ 56.9 มีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 101-300 บาท/วัน รองลงมาร้อยละ 27.0 มีค่าใช้จ่ายระหว่าง 301-500 บาท/วัน และร้อยละ 10.7 มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 500 บาท/วัน มีเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้นที่มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100 บาท/วัน
ประเด็นรายได้กับรายจ่ายในแต่ละเดือนว่าเพียงพอหรือไม่ พบว่าร้อยละ 40.0 บอกว่ารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 36.7 เกือบไม่พอใช้ในแต่ละเดือน มีเพียงร้อยละ 23.9 เท่านั้นที่บอกว่ารายได้เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน
ขณะที่ความพึงพอใจต่อมาตรการที่ส่งผลต่อการลดค่าครองชีพ พบว่า อันดับ 1 ประชาชนพอใจโครงการรถเมล์ฟรี/ค่าไฟฟรี (จำกัดจำนวนหน่วย) อันดับ 2 โครงการคาราวานธงฟ้า อันดับ 3 การปรับขึ้นเงินเดือนและค่าครองชีพ 15,000 บาท อันดับ 4 โครงการร้านค้าถูกทั้งแผ่นดิน และอันดับ 5 การเพิ่มค่าแรง 300 บาท/วัน ตามลำดับ
และจากการสอบถามว่าประชาชนมีข้อเสนอต่อมาตรการลดค่าครองชีพอย่างไร พบว่าร้อยละ 38.0 เห็นว่าควรออกมาตรการอื่นเพิ่มเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้ประโยชน์ทุกกลุ่ม ร้อยละ 26.3 เห็นว่าควรใช้มาตรการแก้ไขที่ต้นเหตุ ด้วยการคุมราคาสินค้าที่มีผลต่อการปรับราคาสินค้าอื่นๆ ร้อยละ 24.5 เห็นว่าควรมีมาตรการต่อเนื่องและทำให้เป็นระบบ ร้อยละ 6.84 เห็นว่าไม่ควรทำโครงการประชานิยมเพราะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และร้อยละ 4.4 เห็นว่ารัฐบาลควรแสดงข้อมูลเรื่องต้นทุนราคาสินค้าที่แท้จริงต่อประชาชนก่อนมีการปรับราคาสินค้าขึ้น
ส่วนประเด็นการปรับขึ้นราคาสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด 3 อันดับแรก ปรากฏว่าอันดับแรกร้อยละ 90.0 คือการปรับขึ้นราคาน้ำมัน อันดับ 2 ร้อยละ 66.9 การขึ้นราคาสินค้าของใช้ในครัวเรือน และอันดับ 3 ร้อยละ 65.3 การขึ้นราคาสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ประเด็นการปรับตัวรับกับค่าครองชีพในปัจจุบัน พบว่าประชาชนในกลุ่มวัยทำงานร้อยละ 59.0 พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง ร้อยละ 32.1 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และร้อยละ 8.9 หารายได้เสริม
เมื่อสอบถามถึงความต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลืออย่างไร พบว่าร้อยละ 34.8 เห็นควรให้ปรับค่าแรงและรายได้ทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าครองชีพ ร้อยละ 32.3 ให้ควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 23.1 ให้ลดหรือควบคุมราคาน้ำมัน เพราะเป็นต้นทุนการขนส่งที่สำคัญ หากค่าขนส่งขึ้นราคาสินค้าย่อมขึ้นตามไปด้วย และร้อยละ 9.8 ให้มีมาตรการลดค่าครองชีพประชาชนต่อไป เช่น สินค้าธงฟ้า ฯลฯ
และจากการสอบถามพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงที่ต้นทุน ไม่ใช่ปลายเหตุ รวมทั้งให้ควบคุมราคาน้ำมัน ไม่ควรใช้นโยบายประชานิยมเพื่อหาเสียงหรือผลประโยชน์เพียงอย่างเดียวเพราะสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ควบคุมราคาสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ และตรวจสอบการขึ้นราคาสินค้าของผู้ผลิตว่าเหมาะสมหรือไม่เพื่อช่วยประชาชนได้อย่างแท้จริง
ศูนย์วิจัยและพยากรณ์เศรษฐกิจ สังกัดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “คนไทยกับภาวะค่าครองชีพ” ในปัจจุบัน จากภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยสอบถามคนวัยทำงานทั่วประเทศ ช่วงอายุ 25-35 ปี จำนวน 703 คน แบ่งเป็นภาคเหนือร้อยละ 26.5 กลางร้อยละ 23.0 ตะวันออกเฉียงเหนือ 23.3 ภาคใต้ ร้อยละ 27.2 โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 40.3 หญิงร้อยละ 59.7 ระหว่างวันที่ 5-20 พฤษภาคม 55 พบว่า
ในประเด็นค่าใช้จ่ายต่อวันของประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน พบว่าร้อยละ 56.9 มีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 101-300 บาท/วัน รองลงมาร้อยละ 27.0 มีค่าใช้จ่ายระหว่าง 301-500 บาท/วัน และร้อยละ 10.7 มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 500 บาท/วัน มีเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้นที่มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100 บาท/วัน
ประเด็นรายได้กับรายจ่ายในแต่ละเดือนว่าเพียงพอหรือไม่ พบว่าร้อยละ 40.0 บอกว่ารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 36.7 เกือบไม่พอใช้ในแต่ละเดือน มีเพียงร้อยละ 23.9 เท่านั้นที่บอกว่ารายได้เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน
ขณะที่ความพึงพอใจต่อมาตรการที่ส่งผลต่อการลดค่าครองชีพ พบว่า อันดับ 1 ประชาชนพอใจโครงการรถเมล์ฟรี/ค่าไฟฟรี (จำกัดจำนวนหน่วย) อันดับ 2 โครงการคาราวานธงฟ้า อันดับ 3 การปรับขึ้นเงินเดือนและค่าครองชีพ 15,000 บาท อันดับ 4 โครงการร้านค้าถูกทั้งแผ่นดิน และอันดับ 5 การเพิ่มค่าแรง 300 บาท/วัน ตามลำดับ
และจากการสอบถามว่าประชาชนมีข้อเสนอต่อมาตรการลดค่าครองชีพอย่างไร พบว่าร้อยละ 38.0 เห็นว่าควรออกมาตรการอื่นเพิ่มเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้ประโยชน์ทุกกลุ่ม ร้อยละ 26.3 เห็นว่าควรใช้มาตรการแก้ไขที่ต้นเหตุ ด้วยการคุมราคาสินค้าที่มีผลต่อการปรับราคาสินค้าอื่นๆ ร้อยละ 24.5 เห็นว่าควรมีมาตรการต่อเนื่องและทำให้เป็นระบบ ร้อยละ 6.84 เห็นว่าไม่ควรทำโครงการประชานิยมเพราะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และร้อยละ 4.4 เห็นว่ารัฐบาลควรแสดงข้อมูลเรื่องต้นทุนราคาสินค้าที่แท้จริงต่อประชาชนก่อนมีการปรับราคาสินค้าขึ้น
ส่วนประเด็นการปรับขึ้นราคาสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด 3 อันดับแรก ปรากฏว่าอันดับแรกร้อยละ 90.0 คือการปรับขึ้นราคาน้ำมัน อันดับ 2 ร้อยละ 66.9 การขึ้นราคาสินค้าของใช้ในครัวเรือน และอันดับ 3 ร้อยละ 65.3 การขึ้นราคาสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ประเด็นการปรับตัวรับกับค่าครองชีพในปัจจุบัน พบว่าประชาชนในกลุ่มวัยทำงานร้อยละ 59.0 พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง ร้อยละ 32.1 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และร้อยละ 8.9 หารายได้เสริม
เมื่อสอบถามถึงความต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลืออย่างไร พบว่าร้อยละ 34.8 เห็นควรให้ปรับค่าแรงและรายได้ทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าครองชีพ ร้อยละ 32.3 ให้ควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 23.1 ให้ลดหรือควบคุมราคาน้ำมัน เพราะเป็นต้นทุนการขนส่งที่สำคัญ หากค่าขนส่งขึ้นราคาสินค้าย่อมขึ้นตามไปด้วย และร้อยละ 9.8 ให้มีมาตรการลดค่าครองชีพประชาชนต่อไป เช่น สินค้าธงฟ้า ฯลฯ
และจากการสอบถามพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงที่ต้นทุน ไม่ใช่ปลายเหตุ รวมทั้งให้ควบคุมราคาน้ำมัน ไม่ควรใช้นโยบายประชานิยมเพื่อหาเสียงหรือผลประโยชน์เพียงอย่างเดียวเพราะสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ควบคุมราคาสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ และตรวจสอบการขึ้นราคาสินค้าของผู้ผลิตว่าเหมาะสมหรือไม่เพื่อช่วยประชาชนได้อย่างแท้จริง