ศูนย์ข่าวศรีราชา - คณะกรรมการที่ปรึกษายุทธศาสตร์เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ จัดประชุมสรุปผลงานวาระ 4 ปี ชี้นโยบายเร่งด่วนมี 11 ด้าน ขณะเดียวกัน ยังเตรียมผลักดันโครงการสำคัญที่ยังไม่แล้วเสร็จให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง
ที่ห้องประชุมทัพพระยา ศาลาว่าการเมืองพัทยา คณะกรรมการที่ปรึกษายุทธศาสตร์เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อสรุปนโยบายเร่งด่วนตลอดระยะเวลา 4 ปี ก่อนหมดวาระในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา ดร.วิษณุ พะลายานนท์ ประธานคณะยุทธศาสตร์ นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา คณะกรรมการ สมาชิกสภาเมืองพัทยา และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้าร่วม
โดยในที่ประชุมได้สรุปนโยบายเร่งด่วน 11 ด้าน ทั้งที่เป็นรูปธรรม และที่กำลังจะมีการสานต่อในสมัยหน้า เช่น นโยบายเมืองพัทยาปลอดภัยด้วยการจัดตั้งหน่วยอาสาพัทยา 2310 นโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรและด้าน IT ซึ่งได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรทั่วพื้นที่เมืองพัทยา โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการตรวจนับปริมาณรถในแต่ละทางแยก รวมถึงการติดตั้งไฟคนข้ามถนนในพื้นสาธารณะเสี่ยงภัยจำนวน 42 ทางข้าม
นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ที่ได้มีการดำเนินการจัดสร้างโครงการแก้มลิงที่บริเวณถนนเลียบทางรถไฟเพื่อเป็นพื้นที่ถ่ายเทน้ำในช่วงฤดูฝน การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ได้แก่ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดพัทยา บริเวณพัทยาเหนือ-พัทยาใต้ ซึ่งจะทำการตกแต่งสภาพภูมิทัศน์ตลอดแนวชายหาดใหม่ รวมทั้งการขยายผิวการ จราจรบนถนนสายชายหาด เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในปี 2555 นี้
ขณะที่นโยบายซึ่งได้มีการดำเนินงานไปแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการขอรับความเห็นชอบเพื่อจัดทำ ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากสังคมทั่วไป เช่น โครงการรถรางไฟฟ้าเมืองพัทยา ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการศึกษาจนแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการดำเนินการขั้นตอนสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก คือ การศึกษาด้านกฎหมาย การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการทำประชาพิจารณ์จากภาคประชาชน ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้จะมีการดำเนินการหลังจากการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาในสมัยหน้าไปแล้ว พร้อมผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเวลา 8 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาของเมืองพัทยา หรือโครงการระบบน้ำแบบรีไซเคิล ด้วยการเสนอนำน้ำดิบที่ผ่านมาการบำบัดของเมืองพัทยาวันละ 8.5 หมื่นลูกบาศก์เมตรมาเข้าระบบการกรองในรูแบบที่ทันสมัยเพื่อให้ได้น้ำดิบคุณภาพ ก่อนจ่ายป้อนส่งต่อไปยังสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคพัทยา เพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาในการอุปโภคบริโภค ต่อภาคประชาชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนในงบประมาณกว่า 7-8 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการผลักดันอย่างจริงจังต่อไปในการบริหารจัดการหลังการเลือกตั้งในสมัยหน้าที่กำลังจะมาถึงนี้
ที่ห้องประชุมทัพพระยา ศาลาว่าการเมืองพัทยา คณะกรรมการที่ปรึกษายุทธศาสตร์เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อสรุปนโยบายเร่งด่วนตลอดระยะเวลา 4 ปี ก่อนหมดวาระในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา ดร.วิษณุ พะลายานนท์ ประธานคณะยุทธศาสตร์ นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา คณะกรรมการ สมาชิกสภาเมืองพัทยา และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้าร่วม
โดยในที่ประชุมได้สรุปนโยบายเร่งด่วน 11 ด้าน ทั้งที่เป็นรูปธรรม และที่กำลังจะมีการสานต่อในสมัยหน้า เช่น นโยบายเมืองพัทยาปลอดภัยด้วยการจัดตั้งหน่วยอาสาพัทยา 2310 นโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรและด้าน IT ซึ่งได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรทั่วพื้นที่เมืองพัทยา โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการตรวจนับปริมาณรถในแต่ละทางแยก รวมถึงการติดตั้งไฟคนข้ามถนนในพื้นสาธารณะเสี่ยงภัยจำนวน 42 ทางข้าม
นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ที่ได้มีการดำเนินการจัดสร้างโครงการแก้มลิงที่บริเวณถนนเลียบทางรถไฟเพื่อเป็นพื้นที่ถ่ายเทน้ำในช่วงฤดูฝน การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ได้แก่ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดพัทยา บริเวณพัทยาเหนือ-พัทยาใต้ ซึ่งจะทำการตกแต่งสภาพภูมิทัศน์ตลอดแนวชายหาดใหม่ รวมทั้งการขยายผิวการ จราจรบนถนนสายชายหาด เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในปี 2555 นี้
ขณะที่นโยบายซึ่งได้มีการดำเนินงานไปแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการขอรับความเห็นชอบเพื่อจัดทำ ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากสังคมทั่วไป เช่น โครงการรถรางไฟฟ้าเมืองพัทยา ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการศึกษาจนแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการดำเนินการขั้นตอนสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก คือ การศึกษาด้านกฎหมาย การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการทำประชาพิจารณ์จากภาคประชาชน ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้จะมีการดำเนินการหลังจากการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาในสมัยหน้าไปแล้ว พร้อมผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเวลา 8 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาของเมืองพัทยา หรือโครงการระบบน้ำแบบรีไซเคิล ด้วยการเสนอนำน้ำดิบที่ผ่านมาการบำบัดของเมืองพัทยาวันละ 8.5 หมื่นลูกบาศก์เมตรมาเข้าระบบการกรองในรูแบบที่ทันสมัยเพื่อให้ได้น้ำดิบคุณภาพ ก่อนจ่ายป้อนส่งต่อไปยังสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคพัทยา เพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาในการอุปโภคบริโภค ต่อภาคประชาชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนในงบประมาณกว่า 7-8 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการผลักดันอย่างจริงจังต่อไปในการบริหารจัดการหลังการเลือกตั้งในสมัยหน้าที่กำลังจะมาถึงนี้