มหาสารคาม - กลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ที่มหาสารคาม ร่วมกันสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์กระดาษสาที่ได้จากเส้นใยของกก สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
นายสุรัตน์ ดีแดง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน หัวหนอง เหล่ายาว ตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเสริมนอกเหนือจากเนื้อหาวิชาหลักๆ แล้วได้ให้นักเรียนมีการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงโดยอาศัยครูที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน รวมถึงวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
รวมถึงเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอโกสุมพิสัย ที่ได้ก่อตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ได้ถ่ายทอดความรู้สาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะการทำพานบายศรีที่ทำจากกระดาษสาที่ผลิตขึ้นจากกกล้วนผลิตและทำขึ้นจากฝีมือนักเรียน มองด้วยตาจะไม่รู้ว่าทำจากกระดาษ
ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ ที่นักเรียนร่วมกันทำผลิตภัณฑ์ชิ้นงานออกมา นำไปขายได้เป็นรายได้เข้ากลุ่ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากกกอีหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งกล่องทิชชู แจกัน หมวก กล่องข้าว กระเป๋าถือ และสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ที่ใช้ในการประดับบ้านเรือน หากไม่บอกคงไม่เชื่อว่าเป็นฝีมือของนักเรียน ซึ่งเริ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มยุวเกษตรกรเมื่อปี 2552
ปัจจุบันมีสมาชิกชาย-หญิง รวม 41 คน แต่กว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น สมาชิกต่างต้องใช้ความเพียร ฝึกฝน เพิ่มประสบประการณ์ลองผิดลองถูกมานานนับปี โดยมีปราชญ์ชาวบ้าน และ อาจารย์เยาวดี วุฒิพงษ์ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ของโรงเรียนได้ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำผลิตภัณฑ์จากกกไปสู่ลูกศิษย์โดยไม่ปิดบัง หวังเพียงเห็นลูกศิษย์มีฝีมืออยู่ระดับแนวหน้าและนำไปเป็นอาชีพได้เมื่อสำเร็จการศึกษา
จึงได้ผลิตภัณฑ์และชิ้นงานที่โดดเด่นเป็นความภาคภูมิใจของสมาชิกยุวเกษตรกร ครูผู้สอน และผู้บริหารของโรงเรียนดังที่ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นผลิตออกมา
นายสุรัตน์ ดีแดง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน หัวหนอง เหล่ายาว ตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเสริมนอกเหนือจากเนื้อหาวิชาหลักๆ แล้วได้ให้นักเรียนมีการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงโดยอาศัยครูที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน รวมถึงวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
รวมถึงเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอโกสุมพิสัย ที่ได้ก่อตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ได้ถ่ายทอดความรู้สาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะการทำพานบายศรีที่ทำจากกระดาษสาที่ผลิตขึ้นจากกกล้วนผลิตและทำขึ้นจากฝีมือนักเรียน มองด้วยตาจะไม่รู้ว่าทำจากกระดาษ
ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ ที่นักเรียนร่วมกันทำผลิตภัณฑ์ชิ้นงานออกมา นำไปขายได้เป็นรายได้เข้ากลุ่ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากกกอีหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งกล่องทิชชู แจกัน หมวก กล่องข้าว กระเป๋าถือ และสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ที่ใช้ในการประดับบ้านเรือน หากไม่บอกคงไม่เชื่อว่าเป็นฝีมือของนักเรียน ซึ่งเริ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มยุวเกษตรกรเมื่อปี 2552
ปัจจุบันมีสมาชิกชาย-หญิง รวม 41 คน แต่กว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น สมาชิกต่างต้องใช้ความเพียร ฝึกฝน เพิ่มประสบประการณ์ลองผิดลองถูกมานานนับปี โดยมีปราชญ์ชาวบ้าน และ อาจารย์เยาวดี วุฒิพงษ์ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ของโรงเรียนได้ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำผลิตภัณฑ์จากกกไปสู่ลูกศิษย์โดยไม่ปิดบัง หวังเพียงเห็นลูกศิษย์มีฝีมืออยู่ระดับแนวหน้าและนำไปเป็นอาชีพได้เมื่อสำเร็จการศึกษา
จึงได้ผลิตภัณฑ์และชิ้นงานที่โดดเด่นเป็นความภาคภูมิใจของสมาชิกยุวเกษตรกร ครูผู้สอน และผู้บริหารของโรงเรียนดังที่ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นผลิตออกมา