ศรีสะเกษ - เขื่อนราษีไศลเตรียมพร่องน้ำรับมือการระบายน้ำจากเขื่อนใหญ่โคราช รวมทั้งฤดูฝนที่จะมาเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา ขณะปริมาณน้ำในเขื่อนยังคงมีมากถึงร้อยละ 84
วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เขื่อนราษีไศล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายจำรัส สวนจันทร์ หัวหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ว่าจะมีการพร่องน้ำออกจากเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ในจ.นครราชสีมา เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 50 ไปจนถึงเดือน มิ.ย.55 ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางเขื่อนราษีไศลก็ต้องมีการรักษาระดับน้ำเช่นเดียวกันหากมีการพร่องน้ำจากเหนือเขื่อนมาในปริมาณเท่าใดทางเขื่อนต้องระบายออกเท่านั้น เพื่อรักษาระดับน้ำในเขื่อนให้อยู่ในปริมาณที่เก็บกักเพียงพอสำหรับการเกษตรและรักษาระบบนิเวศท้ายเขื่อนด้วย ซึ่งขณะนี้เขื่อนราษีไศลมีปริมาณน้ำอยู่กว่า 64 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุเขื่อน
นายจำรัสกล่าวต่อว่า ขณะนี้ทางเขื่อนราษีไศลมีการปิดประตูระบายน้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554 ที่ผ่านมาแล้ว แต่ได้ยกบานระบายน้ำเพียง 1 บาน เพื่อระบายน้ำออกจากเขื่อนบ้าง และรักษาระบบนิเวศวิทยาท้ายเขื่อนอีกด้วย และในวันนี้ (1 ก.พ.) ก็ได้มีการปรับยกบานประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 บานแล้วเพื่อพร่องน้ำออกจากเขื่อน และเพื่อเตรียมรับมือน้ำที่จะเข้ามาในช่วงฤดูฝนซึ่งจะมาเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา
วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เขื่อนราษีไศล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายจำรัส สวนจันทร์ หัวหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ว่าจะมีการพร่องน้ำออกจากเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ในจ.นครราชสีมา เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 50 ไปจนถึงเดือน มิ.ย.55 ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางเขื่อนราษีไศลก็ต้องมีการรักษาระดับน้ำเช่นเดียวกันหากมีการพร่องน้ำจากเหนือเขื่อนมาในปริมาณเท่าใดทางเขื่อนต้องระบายออกเท่านั้น เพื่อรักษาระดับน้ำในเขื่อนให้อยู่ในปริมาณที่เก็บกักเพียงพอสำหรับการเกษตรและรักษาระบบนิเวศท้ายเขื่อนด้วย ซึ่งขณะนี้เขื่อนราษีไศลมีปริมาณน้ำอยู่กว่า 64 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุเขื่อน
นายจำรัสกล่าวต่อว่า ขณะนี้ทางเขื่อนราษีไศลมีการปิดประตูระบายน้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554 ที่ผ่านมาแล้ว แต่ได้ยกบานระบายน้ำเพียง 1 บาน เพื่อระบายน้ำออกจากเขื่อนบ้าง และรักษาระบบนิเวศวิทยาท้ายเขื่อนอีกด้วย และในวันนี้ (1 ก.พ.) ก็ได้มีการปรับยกบานประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 บานแล้วเพื่อพร่องน้ำออกจากเขื่อน และเพื่อเตรียมรับมือน้ำที่จะเข้ามาในช่วงฤดูฝนซึ่งจะมาเร็วกว่าทุกปีที่ผ่านมา