พะเยา - “แม่ญิงเมืองกว๊านพะเยา” ยื่น “กมธ.สตรีฯ”ดัน “3 ตำแหน่ง”รองรับผู้นำสตรี ขณะที่“เจ๊ต้อย-ลดาวัลลิ์” ออกโรงนำ “เสียงสตรีฯ”ล่า 50,000 ชื่อหนุนอีกแรง ชงสัดส่วน ส.อบต.หญิง-ชาย 1 ต่อ 1 ทั่วประเทศ
นางสุภัคสร วรรณปลูก ประธานเครือข่ายแม่ญิงพะเยา เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการผลักดันเรื่องให้รัฐบาลออกประกาศหรือกฎหมายแต่งตั้งผู้นำสตรีเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผช.ผญบ.) สารวัตรกำนัน และ รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ว่า ทางเครือข่าย ฯ ได้ทำหนังสือยื่นถึงนางสาวอรุณี ชำนาญยา ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 ที่ผ่านมาแล้ว โดยเสนอให้มีผลบังคับใช้ต่อผู้นำสตรีทั่วประเทศ โดยให้มีตำแหน่งรองรับผู้นำสตรีที่ทุ่มเททำงานเพื่อชุมชน บ้านเมืองและประชาชนอย่างเต็มที่
ซึ่งนางสาวอรุณี ระบุว่า หลังจากที่ตนได้รับเรื่องจากทางเครือข่าย ฯ แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการ ฯ จากนั้นจะนำเสนอเพื่อขอเข้าบรรจุเป็นวาระในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป คาดว่าต้องรอให้มีการพิจารณาเรื่องงบประมาณไปก่อน เพราะเรื่องของการแต่งตั้งดังกล่าวนั้นจะเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ต้องพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องและสามารถดำเนินการได้ ว่าจะเป็นประกาศกฎกระทรวงหรือเป็นการแก้กฎหมาย ต้องร่วมกันพิจารณาอย่างเต็มที่
ด้านนางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย(ทรท.) สมาชิกบ้านเลขที่ 111 กล่าวในฐานะผู้ก่อตั้งชมรมเสียงสตรี ว่า ด้วยนโยบายของชมรมเสียงสตรีในปี 2555 คือ การเน้นนำเสนอสตรีให้มีบทบาทที่สำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยจะมีการผลักดันให้แก้ไขกฎหมาย ระเบียบราชการ ไม่ให้จำกัดสิทธิ์ของสตรี และขณะเดียวกันให้ส่งเสริมสิทธิของสตรีทางการเมือง เช่น กำหนดสัดส่วนให้สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(ส.อบต.) ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็นสัดส่วน 1:1 ในทุก อบต.ทั่วประเทศ
“แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงว่าการเรียกร้องดังกล่าวของ ส.อบต. จะไปปิดกั้นสิทธิ์ของผู้หญิงในกรณีที่หากจะเลือก ส.อบต.ผู้หญิงทั้ง 2 คน ซึ่งตรงนี้ไม่เป็นปัญหา แต่ว่าเราไม่อยากรวบตำแหน่ง ส.อบต.ไว้เป็นของผู้หญิงทั้ง 2 คน อยากให้กระจายบทบาท ชาย-หญิง พร้อมกันนี้สนับสนุนกำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้หญิงเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน โดยให้มีสัดส่วนชาย-หญิงร่วมด้วย และที่สำคัญจะเสนอแก้ไข และ ออกกฎหมายที่ส่งเสริมบทบาทสตรีบางฉบับ ซึ่งมีการระดมรายชื่อภาคประชาชนของเสียงสตรีจำนวน 50,000 ชื่อ จากนั้นจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป” นางลดาวัลลิ์ กล่าว
นางสุภัคสร วรรณปลูก ประธานเครือข่ายแม่ญิงพะเยา เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการผลักดันเรื่องให้รัฐบาลออกประกาศหรือกฎหมายแต่งตั้งผู้นำสตรีเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(ผช.ผญบ.) สารวัตรกำนัน และ รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ว่า ทางเครือข่าย ฯ ได้ทำหนังสือยื่นถึงนางสาวอรุณี ชำนาญยา ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 ที่ผ่านมาแล้ว โดยเสนอให้มีผลบังคับใช้ต่อผู้นำสตรีทั่วประเทศ โดยให้มีตำแหน่งรองรับผู้นำสตรีที่ทุ่มเททำงานเพื่อชุมชน บ้านเมืองและประชาชนอย่างเต็มที่
ซึ่งนางสาวอรุณี ระบุว่า หลังจากที่ตนได้รับเรื่องจากทางเครือข่าย ฯ แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการ ฯ จากนั้นจะนำเสนอเพื่อขอเข้าบรรจุเป็นวาระในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป คาดว่าต้องรอให้มีการพิจารณาเรื่องงบประมาณไปก่อน เพราะเรื่องของการแต่งตั้งดังกล่าวนั้นจะเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ต้องพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องและสามารถดำเนินการได้ ว่าจะเป็นประกาศกฎกระทรวงหรือเป็นการแก้กฎหมาย ต้องร่วมกันพิจารณาอย่างเต็มที่
ด้านนางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย(ทรท.) สมาชิกบ้านเลขที่ 111 กล่าวในฐานะผู้ก่อตั้งชมรมเสียงสตรี ว่า ด้วยนโยบายของชมรมเสียงสตรีในปี 2555 คือ การเน้นนำเสนอสตรีให้มีบทบาทที่สำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยจะมีการผลักดันให้แก้ไขกฎหมาย ระเบียบราชการ ไม่ให้จำกัดสิทธิ์ของสตรี และขณะเดียวกันให้ส่งเสริมสิทธิของสตรีทางการเมือง เช่น กำหนดสัดส่วนให้สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(ส.อบต.) ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็นสัดส่วน 1:1 ในทุก อบต.ทั่วประเทศ
“แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงว่าการเรียกร้องดังกล่าวของ ส.อบต. จะไปปิดกั้นสิทธิ์ของผู้หญิงในกรณีที่หากจะเลือก ส.อบต.ผู้หญิงทั้ง 2 คน ซึ่งตรงนี้ไม่เป็นปัญหา แต่ว่าเราไม่อยากรวบตำแหน่ง ส.อบต.ไว้เป็นของผู้หญิงทั้ง 2 คน อยากให้กระจายบทบาท ชาย-หญิง พร้อมกันนี้สนับสนุนกำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้หญิงเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน โดยให้มีสัดส่วนชาย-หญิงร่วมด้วย และที่สำคัญจะเสนอแก้ไข และ ออกกฎหมายที่ส่งเสริมบทบาทสตรีบางฉบับ ซึ่งมีการระดมรายชื่อภาคประชาชนของเสียงสตรีจำนวน 50,000 ชื่อ จากนั้นจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป” นางลดาวัลลิ์ กล่าว