จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรีร่วมกับศิษย์เก่าชมรมรามคำแหงจันทบุรี จัดงานรำลึกวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2555 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
วันนี้ (17 ม.ค.55) ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่มพลังมวลชน และประชาชนร่วมวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ และถวายราชสดุดี ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ให้วันที่ 17 มกราคม ขอทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคำแหงหมาราชและเป็นวันรัฐพิธีและไม่ถือเป็นวันหยุด
การดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงเป็นนักการทหาร นักปกครอง นักการฑูต และนักปราชญ์ที่กล้าหาญ เห็นได้จากการกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และทรงมีพระเมตตา เอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชน ให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพอย่างเสรี โดยทรงยกเลิกจังกอบให้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกินแก่ประชาชน ทรงกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆ ทั้งที่ใกล้เคียงและห่างไกล
นอกจากนั้นทรงให้ความสำคัญทางพระพุทธศาสนา สนับสนุนการเผยแพร่หลักธรรมและสร้างศาสนวัตถุ และที่สำคัญได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความเป็นอารยชนของอาณาจักรสุโขทัย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2376 ในขณะทรงผนวช ที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้จัดรัฐพิธีน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขึ้น
นายวิชิต กล่าวต่อไปว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ ชมรมศิษย์เก่ารามคำแหงจันทบุรี ได้จัดการประกวดคัดลายมือสืบสานตำนานลายสือไทย มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมประกวดคัดลายมือทั้งสิ้น 34 โรงเรียน รวม 67 คน โดยผลการประกวด รางวัลชนะเลิศได้แก่ เด็กหญิง ลัธลิมา คำสุข จากโรงเรียนสฤษดิเดช รองอันดับหนึ่งได้แก่ เด็กหญิง ธมลวรรณ อยู่นุช จากโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ รองอันดับสอง ได้แก่เด็กหญิงสหัสยา คอนหน่าย จากโรงเรียนสฤษดิเดช รางวัลชมเชยได้แก่ เด็กหญิงจันทร์รดา พันทรดี จากโรงเรียนบ้านโพธิ์และเด็กหญิง ณัฐชา มณีฉาย จากโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์
สำหรับการประกวดคัดลายสือไทยครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการให้ความสำคัญของอักษรไทย ที่ต้องแข่งขันภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัวนักเรียนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สร้างการให้ความสำคัญของการเขียนอักษรไทยให้สวยงามและถูกต้องตามแบบแผน พร้อมกับส่งเสริมลายมือของเด็กไทยไปพร้อมกัน
วันนี้ (17 ม.ค.55) ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่มพลังมวลชน และประชาชนร่วมวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ และถวายราชสดุดี ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ให้วันที่ 17 มกราคม ขอทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคำแหงหมาราชและเป็นวันรัฐพิธีและไม่ถือเป็นวันหยุด
การดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงเป็นนักการทหาร นักปกครอง นักการฑูต และนักปราชญ์ที่กล้าหาญ เห็นได้จากการกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และทรงมีพระเมตตา เอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชน ให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพอย่างเสรี โดยทรงยกเลิกจังกอบให้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกินแก่ประชาชน ทรงกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆ ทั้งที่ใกล้เคียงและห่างไกล
นอกจากนั้นทรงให้ความสำคัญทางพระพุทธศาสนา สนับสนุนการเผยแพร่หลักธรรมและสร้างศาสนวัตถุ และที่สำคัญได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความเป็นอารยชนของอาณาจักรสุโขทัย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2376 ในขณะทรงผนวช ที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้จัดรัฐพิธีน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขึ้น
นายวิชิต กล่าวต่อไปว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ ชมรมศิษย์เก่ารามคำแหงจันทบุรี ได้จัดการประกวดคัดลายมือสืบสานตำนานลายสือไทย มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมประกวดคัดลายมือทั้งสิ้น 34 โรงเรียน รวม 67 คน โดยผลการประกวด รางวัลชนะเลิศได้แก่ เด็กหญิง ลัธลิมา คำสุข จากโรงเรียนสฤษดิเดช รองอันดับหนึ่งได้แก่ เด็กหญิง ธมลวรรณ อยู่นุช จากโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ รองอันดับสอง ได้แก่เด็กหญิงสหัสยา คอนหน่าย จากโรงเรียนสฤษดิเดช รางวัลชมเชยได้แก่ เด็กหญิงจันทร์รดา พันทรดี จากโรงเรียนบ้านโพธิ์และเด็กหญิง ณัฐชา มณีฉาย จากโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์
สำหรับการประกวดคัดลายสือไทยครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการให้ความสำคัญของอักษรไทย ที่ต้องแข่งขันภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัวนักเรียนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สร้างการให้ความสำคัญของการเขียนอักษรไทยให้สวยงามและถูกต้องตามแบบแผน พร้อมกับส่งเสริมลายมือของเด็กไทยไปพร้อมกัน