พะเยา - เครือข่ายแม่ญิงฯ เสนอทำโซนนิ่งผักตบชวาในกว๊านพะเยา ย้ำกว๊านฯเป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้าน พร้อมเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าฯ
นางชรีพร ยอดฟ้า สมาชิกเครือข่ายแม่ญิงพะเยา ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวถึงการกำจัดผักตบชวาในกว๊านพะเยา ว่า ตนเห็นด้วยในหลักการของการกำจัดผักตบชวาในกว๊านพะเยาของจังหวัด ที่มีแผนพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันผักตบชวาในกว๊านพะเยาก็มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้รากช่วยกรองน้ำเสีย หรือประโยชน์ต่อกลุ่มอาชีพ คือ สร้างอาชีพด้านการจักสานผักตบชวาให้กลุ่มอาชีพมีรายได้
ดังนั้น รายละเอียดของการกำจัดผักตบชวาในกว๊านพะเยา ควรจะมีการเลือกกำจัดในส่วนที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ออกไป แล้วปล่อยให้ผักตบชวาที่สมบูรณ์คงอยู่เหมือนเดิมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการจักสานของกลุ่มอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป
พร้อมกันนี้ทางกลุ่มอาชีพจักสานผักตบชวา มีแผนในอนาคตเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เพื่อเพิ่มมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้หากก้านผักตบชวาใหญ่และสมบูรณ์จะยิ่งสร้างรายได้แก่ผู้เก็บก้านผักตบชวาในกว๊านพะเยามากขึ้นตามไปด้วย
ด้านนางอารีย์ แสนสุข สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวเสริมว่า แนวทางการกำจัดผักตบชวาให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมในกว๊านฯ และด้านรายได้ของกลุ่มอาชีพ คือ การจัดทำโซนนิ่งหรือพื้นที่อยู่สำหรับผักตบชวาในกว๊านฯ
โดยในพื้นที่ใดที่กลุ่มอาชีพต้องการใช้ผักตบชวาเป็นวัตถุดิบจักสาน ก็ต้องทำทุ่นกันไม่ให้ผักตบชวาลอยไปในพื้นที่อื่น และให้อยู่ในขอบเขตที่จัดทำไว้ไม่เป็นวัชพืชน้ำสร้างมลพิษให้แก่กว๊านพะเยา โดยในรายละเอียดการทำโซนนิ่งผักตบชวาในกว๊านพะเยานั้น ทางเครือข่ายฯ ได้ทำเป็นแผนงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา เมื่อคราวการประชุมวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เพื่อให้ทางคณะทำงานฯ นำไปจัดทำแผนต่อไป
นางชรีพร ยอดฟ้า สมาชิกเครือข่ายแม่ญิงพะเยา ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวถึงการกำจัดผักตบชวาในกว๊านพะเยา ว่า ตนเห็นด้วยในหลักการของการกำจัดผักตบชวาในกว๊านพะเยาของจังหวัด ที่มีแผนพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันผักตบชวาในกว๊านพะเยาก็มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้รากช่วยกรองน้ำเสีย หรือประโยชน์ต่อกลุ่มอาชีพ คือ สร้างอาชีพด้านการจักสานผักตบชวาให้กลุ่มอาชีพมีรายได้
ดังนั้น รายละเอียดของการกำจัดผักตบชวาในกว๊านพะเยา ควรจะมีการเลือกกำจัดในส่วนที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ออกไป แล้วปล่อยให้ผักตบชวาที่สมบูรณ์คงอยู่เหมือนเดิมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการจักสานของกลุ่มอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป
พร้อมกันนี้ทางกลุ่มอาชีพจักสานผักตบชวา มีแผนในอนาคตเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เพื่อเพิ่มมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้หากก้านผักตบชวาใหญ่และสมบูรณ์จะยิ่งสร้างรายได้แก่ผู้เก็บก้านผักตบชวาในกว๊านพะเยามากขึ้นตามไปด้วย
ด้านนางอารีย์ แสนสุข สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวเสริมว่า แนวทางการกำจัดผักตบชวาให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมในกว๊านฯ และด้านรายได้ของกลุ่มอาชีพ คือ การจัดทำโซนนิ่งหรือพื้นที่อยู่สำหรับผักตบชวาในกว๊านฯ
โดยในพื้นที่ใดที่กลุ่มอาชีพต้องการใช้ผักตบชวาเป็นวัตถุดิบจักสาน ก็ต้องทำทุ่นกันไม่ให้ผักตบชวาลอยไปในพื้นที่อื่น และให้อยู่ในขอบเขตที่จัดทำไว้ไม่เป็นวัชพืชน้ำสร้างมลพิษให้แก่กว๊านพะเยา โดยในรายละเอียดการทำโซนนิ่งผักตบชวาในกว๊านพะเยานั้น ทางเครือข่ายฯ ได้ทำเป็นแผนงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา เมื่อคราวการประชุมวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เพื่อให้ทางคณะทำงานฯ นำไปจัดทำแผนต่อไป