พะเยา - สสจ.พะเยา เตือนชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว ระวังใช้ยาเร่แก้ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ อาจเกิดพิษร้ายจากสเตียรอยด์ แนะไม่ควรกินยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น
นายฉลอง อัครชิโนเรศ นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมพิฒนา) ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา ในปีที่ผ่านมาพบว่ามักมีการเร่ขายยาที่มีการโอ้อวดสรรพคุณบำบัดโรค เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ยาคลายเส้น คลายกล้ามเนื้อ ยากษัยเส้น ยาประดง ซึ่งจากการสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น มักพบการปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำ ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ทำให้เจ็บป่วยเรื้อรัง เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
นายฉลอง เปิดเผยอีกว่า โดยทั่วไปอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน มักเกิดจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดวิธี การเอี้ยวตัว นั่ง ยืน และเดินนานๆ เมื่อมีอาการปวดเกิดขึ้น ควรหยุดพักหรือลดการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนที่ปวด ซึ่งจะช่วยลดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด
หลังจากนั้น อาจใช้วิธีการประคบ หรือการบีบนวด ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด คลายความปวดเมื่อยได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจใช้ยาแก้ปวดชนิดทาภายนอกก่อนใช้ยารับประทาน ทั้งนี้ไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ เพราะยากแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อบางชนิดผสมยาพาราเซตามอล อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในทางที่ผิด เช่น กินยาป้องกันก่อนที่จะมีอาการปวด การใช้ยาร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรอ่านฉลากยา และวิธีการใช้ยาอย่างละเอียด พร้อมทั้งให้สังเกตวันหมดอายุ และลักษณะยาว่าเสื่อมสภาพหรือไม่ หากจะซื้อยาควรเลือกยาที่มีเลขทะเบียนตำรับ และควรเลือกซื้อยาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาต ไม่ซื้อยาเร่ขาย หรือตามคำโฆษณาอวดอ้าง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต)ใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลทุกแห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ หรือที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา โทร.054-409145-7 ในวันเวลาราชการ
นายฉลอง อัครชิโนเรศ นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมพิฒนา) ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา ในปีที่ผ่านมาพบว่ามักมีการเร่ขายยาที่มีการโอ้อวดสรรพคุณบำบัดโรค เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ยาคลายเส้น คลายกล้ามเนื้อ ยากษัยเส้น ยาประดง ซึ่งจากการสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น มักพบการปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำ ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ทำให้เจ็บป่วยเรื้อรัง เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
นายฉลอง เปิดเผยอีกว่า โดยทั่วไปอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน มักเกิดจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดวิธี การเอี้ยวตัว นั่ง ยืน และเดินนานๆ เมื่อมีอาการปวดเกิดขึ้น ควรหยุดพักหรือลดการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนที่ปวด ซึ่งจะช่วยลดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด
หลังจากนั้น อาจใช้วิธีการประคบ หรือการบีบนวด ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด คลายความปวดเมื่อยได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจใช้ยาแก้ปวดชนิดทาภายนอกก่อนใช้ยารับประทาน ทั้งนี้ไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ เพราะยากแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อบางชนิดผสมยาพาราเซตามอล อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในทางที่ผิด เช่น กินยาป้องกันก่อนที่จะมีอาการปวด การใช้ยาร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรอ่านฉลากยา และวิธีการใช้ยาอย่างละเอียด พร้อมทั้งให้สังเกตวันหมดอายุ และลักษณะยาว่าเสื่อมสภาพหรือไม่ หากจะซื้อยาควรเลือกยาที่มีเลขทะเบียนตำรับ และควรเลือกซื้อยาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาต ไม่ซื้อยาเร่ขาย หรือตามคำโฆษณาอวดอ้าง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต)ใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลทุกแห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ หรือที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา โทร.054-409145-7 ในวันเวลาราชการ