xs
xsm
sm
md
lg

“ยูเนสโก” รุดตรวจความเสียหายโบราณสถานกรุงเก่าที่ถูกน้ำท่วมก่อนบูรณะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


พระนครศรีอยุธยา - อธิบดีกรมศิลปากร และคณะ พาคณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การ “ยูเนสโก” ตระเวนตรวจสภาพความเสียหายโบราณในสถานกรุงเก่า ที่ถูกน้ำท่วมก่อนบูรณะ

วันนี้ (30 พ.ย.) นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร และนายเอนก สีหามาตร รองอธิบดีกรมศิลปากร พาคณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การยูเนสโก ได้แก่ MR.Zoranvo Jinovic จากประเทศเนเธอแลนด์ ดูระบบน้ำ MR.Carlo Giantomassi จากประเทศอิตาลี วิจัยภาพจิตกรรมฝาผนัง MS.Yoko Futakami จากประเทศญี่ปุ่น และนักวิศวกรรมแห่งประเทศไทย มาสำรวจความเสียหายของโบราณสถานรวมทั้งการฟื้นฟูและการบูรณะ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 จ.พระนครศรีอยุธยา นายชัยนันท์ บุษยรัตน์ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับ

พร้อมบรรยายสรุปความเสียหายที่ถูกน้ำท่วมมานานกว่า 1 เดือน และพาไปสำรวจร่องรอยความเสียหายที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ โบราณสถานป้อมเพชร กำแพงเมืองใต้สะพานปรีดีย์ ตลาดเจ้าพรหม พระราชวังจันทรเกษม วัดเสนาสนาราม หัวรอ (คลองมหาไชย) โบราณสถานวัดภูเขาทอง กำแพงเมือง (พระวังโบราณ) วัดโลกยสุธา (พระนอน) หมู่บ้านโปรตุเกส วัดไชยวัฒนาราม หมู่บ้านญี่ปุ่น หมู่บ้านฮอลแลนดา วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดพระศรีสรรเพชญ์ และตรวจภาพจิตกรรมฝาผนังที่วัดประดู่ทรงธรรม วัดพุทไธสวรรย์และวัดราษฎร์บูรณะ

นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์การยูเนสโกได้รับยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลกด้านวัฒนธรรม หรืออารยธรรมเมื่อปี 2534 และปีนี้โบราณสถานในพื้นที่รอบเกาะเมืองและรอบนอกจำนวน 130 แห่ง ถูกน้ำท่วมนานกว่า 1 เดือนเสียหายเป็นจำนวนมากทางยูเนสโก้ทราบข่าวจึงเป็นห่วงและได้ส่งผู้เชี่ยวชาญชุดแรกมาสำรวจร่วมกับกรมศิลปากรและวิศวกรรมแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 2 วัน

“สิ่งที่ทางกรมศิลปากรเป็นห่วง คือ พื้นดินที่อุ้มน้ำนานๆ จะทำให้องค์เจดีย์และฐานมีน้ำหนักมากจะมีแรงกดลงพื้นดินจึงมีอัตราเสี่ยงที่ทำให้โบราณสถานพังล้มลงมา ดังนั้น จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญสำรวจอย่างละเอียดโดยหลังน้ำลดจะต้องขุดดินใต้ฐานเข้าไปดูข้างในว่าโครงสร้างยังแข็งแรงพอไปได้หรือไม่ เช่น วัดไชยวัฒนาราม และดูภาพจิตกรรมฝาผนัง แม้กระทั่งเชื้อราที่ขึ้นตามโบราณสถานพร้อมผู้เชี่ยวชาญดูน้ำและทางน้ำอย่างละเอียดอาทิ คลองท่อ คลองมะขามเรียง หรือคันดินที่ป้องกันน้ำท่วม”










กำลังโหลดความคิดเห็น