สุราษฎร์ธานี - กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 จังหวัด ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และพัทลุง จี้กำหนดจุดยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อรองรับการลงทุนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยว่า ก่อนหน้านี้ ได้เป็นประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วม ภาครัฐ และเอกชน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง ที่โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้นำนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ในการสร้างความสามัคคี ความปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ส่งเสริมสนับสนุนการค้า การลงทุน และความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเป็นตลาดเดียวทั้ง 9ประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียน 3 เสาหลัก คือ ด้านการเมืองความมั่นคง ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวอีกว่า ในปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะมีประชากรประมาณ 570 ล้านคน “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ภูมิภาคอาเซียนจะมีความพร้อมด้านการผลิต และเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนจากนานาชาติ ภาคใต้ของประเทศไทยเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
ซึ่งตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศบนภาคพื้นดินและประเทศหมู่เกาะของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงามของโลก เป็นแหล่งผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของประเทศ ด้วยศักยภาพของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยทำให้เราได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างมากในการพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยว่า ก่อนหน้านี้ ได้เป็นประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วม ภาครัฐ และเอกชน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง ที่โรงแรมวังใต้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้นำนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ในการสร้างความสามัคคี ความปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ส่งเสริมสนับสนุนการค้า การลงทุน และความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเป็นตลาดเดียวทั้ง 9ประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียน 3 เสาหลัก คือ ด้านการเมืองความมั่นคง ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ
นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวอีกว่า ในปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะมีประชากรประมาณ 570 ล้านคน “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ภูมิภาคอาเซียนจะมีความพร้อมด้านการผลิต และเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนจากนานาชาติ ภาคใต้ของประเทศไทยเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
ซึ่งตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศบนภาคพื้นดินและประเทศหมู่เกาะของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงามของโลก เป็นแหล่งผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของประเทศ ด้วยศักยภาพของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยทำให้เราได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างมากในการพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน