จันทบุรี - กรมทรัพยากรธรณีจับมือจังหวัดจันทบุรี จัดฝึกซ้อมแผนอพยพช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัยน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มพื้นที่เสี่ยง
วันนี้ (27 ก.ค.) ดร.ทศพร นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นำเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจันทบุรี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ทำการฝึกซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดจันทบุรี ประจำปี 2554 ขึ้นที่บริเวณสะพานบ้านทุ่งเพล หมู่ 8 ต.ฉมัน อ.มะขาม จ.จันทบุรี
ดร.ทศพรกล่าวว่า อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในจำนวนหลายแห่งที่ถูกระบุเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากดินโคลนถล่ม การฝึกได้จำลองสถานการณ์ฝนตกหนัก และทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติส่งสัญญาณมาที่หอเตือนภัย เพื่อกระจายข่าวให้ประชาชนอพยพออกนอกพื้นที่โดยด่วน เนื่องจากได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่ จึงระดมกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลืออพยพราษฎรออกจากบริเวณดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งหน่วยปฏิบัติหลักและหน่วยสนับสนุน สามารถประสานการช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบภัยตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งช่วงก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และการฟื้นฟูบูรณะภายหลังเกิดภัย อีกทั้งยังเป็นการทดสอบการทำงานของระบบสัญญาณแจ้งเตือนภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย
วันนี้ (27 ก.ค.) ดร.ทศพร นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นำเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจันทบุรี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ทำการฝึกซ้อมแผนอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดจันทบุรี ประจำปี 2554 ขึ้นที่บริเวณสะพานบ้านทุ่งเพล หมู่ 8 ต.ฉมัน อ.มะขาม จ.จันทบุรี
ดร.ทศพรกล่าวว่า อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในจำนวนหลายแห่งที่ถูกระบุเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากดินโคลนถล่ม การฝึกได้จำลองสถานการณ์ฝนตกหนัก และทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติส่งสัญญาณมาที่หอเตือนภัย เพื่อกระจายข่าวให้ประชาชนอพยพออกนอกพื้นที่โดยด่วน เนื่องจากได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่ จึงระดมกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลืออพยพราษฎรออกจากบริเวณดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งหน่วยปฏิบัติหลักและหน่วยสนับสนุน สามารถประสานการช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบภัยตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งช่วงก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และการฟื้นฟูบูรณะภายหลังเกิดภัย อีกทั้งยังเป็นการทดสอบการทำงานของระบบสัญญาณแจ้งเตือนภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย