จันทบุรี- จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับสถาบันการศึกษา เร่งสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอัญมณีของจันทบุรี หวังเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ รองรับความต้องการของลูกค้า
วันนี้ (21 ก.ค.54) ที่ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัด จันทบุรี นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมเทคนิคการชุบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับขั้นสูง ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีเครื่องประดับอัญมณี วิทยาลัยสารพัดช่าง จัดขึ้น โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอัญมณี นักธุรกิจอัญมณีในจังหวัด ตลอดจน ประชาชน และนักศึกษา เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
นายปรีดา บทศรี รักษาการผู้อำนวยการ วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันพลอยดิบในจังหวัดจันทบุรี เหลือน้อยมากทำให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีต้องปรับตัว เดินทางแสวงหาพลอยดิบและวัตถุดิบจากทั่วมุมโลก เพื่อนำกลับมาเพิ่มมูลค่า ด้วยภูมิปัญญาด้านการเผาและเจียระไนที่มีการสะสมมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น หน่วยงานภาครัฐ จึงได้เข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคนิคการชุบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับขั้นสูง ให้แก่ผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรีให้สามารถแข่งขันได้ เช่น การชุบทอง ชุบเงิน ฯลฯ ตลอดจนการเตรียมสารเคมีต่างๆ การแก้ปัญหาหน้างานของชิ้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานของผู้ประกอบการมีคุณภาพ ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าและประชาชนทั่วไป
นายปรีดา กล่าวต่อไปว่า ในเบื้องต้น ได้จัดการอบรมจำนวน 2 รุ่น รุ่นแรกจำนวน 35 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 35 คน รวมเป็น 70 คน โดยผู้ที่ผ่านการอบรมก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดฝีมือแรงงานด้านเครื่องประดับ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ อัญมณีของจังหวัดจันทบุรี
วันนี้ (21 ก.ค.54) ที่ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัด จันทบุรี นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมเทคนิคการชุบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับขั้นสูง ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีเครื่องประดับอัญมณี วิทยาลัยสารพัดช่าง จัดขึ้น โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอัญมณี นักธุรกิจอัญมณีในจังหวัด ตลอดจน ประชาชน และนักศึกษา เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
นายปรีดา บทศรี รักษาการผู้อำนวยการ วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันพลอยดิบในจังหวัดจันทบุรี เหลือน้อยมากทำให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีต้องปรับตัว เดินทางแสวงหาพลอยดิบและวัตถุดิบจากทั่วมุมโลก เพื่อนำกลับมาเพิ่มมูลค่า ด้วยภูมิปัญญาด้านการเผาและเจียระไนที่มีการสะสมมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น หน่วยงานภาครัฐ จึงได้เข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคนิคการชุบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับขั้นสูง ให้แก่ผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรีให้สามารถแข่งขันได้ เช่น การชุบทอง ชุบเงิน ฯลฯ ตลอดจนการเตรียมสารเคมีต่างๆ การแก้ปัญหาหน้างานของชิ้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานของผู้ประกอบการมีคุณภาพ ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าและประชาชนทั่วไป
นายปรีดา กล่าวต่อไปว่า ในเบื้องต้น ได้จัดการอบรมจำนวน 2 รุ่น รุ่นแรกจำนวน 35 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 35 คน รวมเป็น 70 คน โดยผู้ที่ผ่านการอบรมก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดฝีมือแรงงานด้านเครื่องประดับ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ อัญมณีของจังหวัดจันทบุรี