พะเยา - สถาบันปวงผญาพยาว เตรียมเดินสายจัดเวทีสานเสวนา “กว๊านพะเยา” กลุ่มย่อยระดมสมองทั้งภาครัฐ-ปชช.-ท้องถิ่น ให้ทุกกลุ่มร่วมกำหนดทิศทางพัฒนา ก่อนวางเป็น “ธรรมนูญกว๊านฯ”
วันนี้ (5 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันปวงผญาพยาว จะจัดประชุมกลุ่มย่อยหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการน้ำของกว๊านพะเยา โดยแยกเป็นกลุ่มเวทีย่อยต่างๆ ของชุมชนรอบกว๊านพะเยา โดย นางสาวสหัทยา วิเศษ ผู้ประสานงานสถาบัน กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเวทีย่อยดังกล่าวถือเป็นงานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการน้ำในกว๊านพะเยาแบบมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ประชาชน และ ท้องถิ่น
ทั้งนี้ ได้มีการหารือร่วมกันของคณะทำงาน เห็นชอบว่าจะมีการจัดเวทีย่อยครั้งแรกขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบล (ทต.) บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา ซึ่งจะเป็นเรื่องการจัดการน้ำบ้านต๋อม มีกลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ท้องถิ่น เข้าร่วมประมาณ 40 คน
ผู้ประสานงานสถาบัน กล่าวต่อว่า เวทีย่อยดังกล่าวจะแตกประเด็นกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการจัดการน้ำในกว๊านพะเยา โดยเน้นการมีส่วนร่วมเป็นหลัก ทุกกลุ่มจะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้น้ำหรือใช้ประโยชน์จากกว๊านพะเยา ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องป่าต้นน้ำที่เป็นแหล่งน้ำไหลลงสู่กว๊านพะเยาด้วย โดยในแต่ละครั้งจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและประชาชน หรือ ท้องถิ่น เข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีอย่างหลากหลาย อาทิ ชลประทาน โยธาธิการและผังเมือง ประมง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ฯลฯ
“หลังจากที่มีเวทีย่อยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายแล้ว ข้อมูลที่ได้จากแต่ละเวที จะถูกนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนากว๊านพะเยา หรือธรรมนูญกว๊านพะเยา เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนากว๊านพะเยาในอนาคต โดยมาจากความต้องการที่หลากหลายของทุกกลุ่มต่อไป” นางสาวสหัทยา กล่าว
วันนี้ (5 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันปวงผญาพยาว จะจัดประชุมกลุ่มย่อยหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการน้ำของกว๊านพะเยา โดยแยกเป็นกลุ่มเวทีย่อยต่างๆ ของชุมชนรอบกว๊านพะเยา โดย นางสาวสหัทยา วิเศษ ผู้ประสานงานสถาบัน กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเวทีย่อยดังกล่าวถือเป็นงานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการน้ำในกว๊านพะเยาแบบมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ประชาชน และ ท้องถิ่น
ทั้งนี้ ได้มีการหารือร่วมกันของคณะทำงาน เห็นชอบว่าจะมีการจัดเวทีย่อยครั้งแรกขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบล (ทต.) บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา ซึ่งจะเป็นเรื่องการจัดการน้ำบ้านต๋อม มีกลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ท้องถิ่น เข้าร่วมประมาณ 40 คน
ผู้ประสานงานสถาบัน กล่าวต่อว่า เวทีย่อยดังกล่าวจะแตกประเด็นกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการจัดการน้ำในกว๊านพะเยา โดยเน้นการมีส่วนร่วมเป็นหลัก ทุกกลุ่มจะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้น้ำหรือใช้ประโยชน์จากกว๊านพะเยา ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องป่าต้นน้ำที่เป็นแหล่งน้ำไหลลงสู่กว๊านพะเยาด้วย โดยในแต่ละครั้งจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและประชาชน หรือ ท้องถิ่น เข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีอย่างหลากหลาย อาทิ ชลประทาน โยธาธิการและผังเมือง ประมง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ฯลฯ
“หลังจากที่มีเวทีย่อยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายแล้ว ข้อมูลที่ได้จากแต่ละเวที จะถูกนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนากว๊านพะเยา หรือธรรมนูญกว๊านพะเยา เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนากว๊านพะเยาในอนาคต โดยมาจากความต้องการที่หลากหลายของทุกกลุ่มต่อไป” นางสาวสหัทยา กล่าว