xs
xsm
sm
md
lg

คนเมืองน่านชี้ “เขื่อนธงน้อย” ทำน้ำท่วมนาน-ขวางทางน้ำลงใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายนิเวศน์ ตั้งเที่ยงธรรม อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที่ 347/9 ม.1 บ้านดู่ใต้ ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน
น่าน - ชาวน่านตั้งข้อสังเกตเขื่อนธงน้อย บ้านคอวัง มีส่วนทำให้น้ำลดลงช้าและท่วมขังนานกว่าปกติ

หลังจากมีน้ำท่วมใหญ่เมืองน่าน ตั้งแต่ 26 มิ.ย.54 จนถึงวันนี้ (30 มิ.ย.) รวมระยะเวลานานถึง 5 วันแล้ว โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองน่าน ที่มีน้ำท่วมขังสูงต่อเนื่องหลายวัน ทำให้ประชาชนในย่านใจกลางเมือง ได้รับผลกระทบอย่างมาก และเกิดคำถามว่าน้ำท่วมครั้งนี้ ทำไมจึงระบายลงสู่แม่น้ำน่านได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งที่ผ่านมา หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ก็จะท่วมขังอยู่เพียง 1-2 วันเท่านั้น แต่น้ำท่วมครั้งนี้ผ่านไป 5 วันแล้ว ก็ยังเกิดน้ำท่วมขังในหลายชุมชน

นายนิเวศน์ ตั้งเที่ยงธรรม อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที่ 347/9 ม.1 บ้านดู่ใต้ ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน ตั้งข้อสังเกตว่า เขื่อนธงน้อย ที่บ้านคอวัง ต.กองควาย อ.เมืองน่าน น่าจะมีส่วนขวางทางน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำน่านระบายลงทิศใต้ได้ช้า เนื่องจากว่าปริมาณน้ำมีจำนวนมาก แต่เมื่อถึงเขื่อนธงน้อย ซึ่งสร้างขวางทางน้ำในแม่น้ำน่านไว้ และมีประตูระบายน้ำเพียง 5 ประตู ทำให้เกิดลักษณะเหมือนคอขวด น้ำจึงระบายลงสู่ทางทิศใต้ได้ช้า จนเอ่อท่วมขังอยู่นานกว่าปกติ

นายนิเวศน์ กล่าวเปรียบเทียบว่า ลักษณะที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านมีจำนวนมาก และจะไหลลงสู่ทางทิศใต้ ไปทางอำเภอเวียงสา ซึ่งจะต้องผ่านเขื่อนธงน้อย คล้ายกับรถที่วิ่งอยู่หลายสิบเลน แต่เมื่อถึงเขื่อน ซึ่งเหมือนกำแพงขวางกั้นไว้ และมีเพียงประตูระบายน้ำ 5 ประตู ก็เป็นเหมือนการลดช่องจราจรของน้ำ ให้เหลือน้อยลง ลักษณะเหมือนเข้าคอขวด ทำให้น้ำระบายได้ช้า จึงเป็นไปได้ว่าเขื่อนธงน้อย มีส่วนในการทำให้เกิดน้ำลดระดับได้ช้า และท่วมขังนานกว่าปกติ

นายสัมฤทธิ์ เหมะ หน.โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน ชี้แจงว่า สำหรับโครงการเขื่อนธงน้อย ก่อสร้างเมื่อปี 2544 เสร็จและเปิดใช้งานเมื่อปี 2548 วงเงินงบประมาณ 400 ล้านบาท เป็นโครงการองค์ประกอบของโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งได้ใช้ประโยชน์เก็บกักน้ำเพื่อพื้นที่การเกษตรมากว่า 6 ปีแล้ว

เขื่อนธงน้อยได้สร้างขวางทางแม่น้ำน่าน บริเวณบ้านบ้านคอวัง ต.กองควาย อ.เมืองน่าน ซึ่งแต่เดิมบริเวณดังกล่าวเป็นทางโค้งของน้ำ แต่เมื่อสร้างเขื่อนได้ปรับให้เป็นทางตรงเพื่อให้น้ำไหลได้ดีขึ้น ในส่วนของตัวเขื่อน ทางด้านหลักวิศวกรรม ได้มีการคำนวณและปรับให้ตัวเขื่อนด้านใต้น้ำ มีหน้าตัดและความกว้างลึกมากเพียงพอสำหรับการระบายน้ำ พื้นผิวใต้น้ำ ซึ่งเดิมเป็นกรวด ได้ปรับให้เป็นคอนกรีต ซึ่งส่งผลให้น้ำระบายได้ดีขึ้น ไม่มีสิ่งกีดขวาง

แต่กรณีปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดน่าน เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากถึงกว่า 300 มล.ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านมีมากเกินไป


กำลังโหลดความคิดเห็น