พระนครศรีอยุธยา - ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดการกู้เรือบรรทุกน้ำตาลทรายแดงล่มกลางแม่น้ำเจ้าและการให้ความช่วยเหลือกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ
วันนี้ (9 มิ.ย.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) เวลา 11.00 น.คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จะเดินทางมาที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ม.2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อติดตามการแก้ปัญหาเรือบรรทุกน้ำตาลทรายแดงล่มและการให้ความช่วยเหลือและการเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา
นายสุรชัย เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่า การเดินทางมาตรวจติดตามการช่วยเหลือครั้งนี้ ไม่ได้ล่าช้าอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เมื่อเกิดเรื่องขึ้นต้องปล่อยให้เจ้าหน้าที่ทำงานไปก่อน ซึ่งหากคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เดินทางมาในช่วงประสพเหตุใหม่ๆ เท่ากับว่าเป็นการขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
โดยในวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จะติดตามในเรื่องของความรับผิดชอบจากคนที่ทำให้เกิดปัญหาในครั้งนี้ว่าจะเป้นอย่างไร เพราะเท่าที่ทราบตอนนี้อยู่ระหว่างการปัดความรับผิดชอบของเจ้าของเรือกับผู้ว่าจ้าง
ส่วนในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) เวลา 10.30 น.พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 จะเดินทางมายังจุดที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่มเพื่อตรวจการทำงานของกองพลทหารช่างและทหารจากกองโรงงานวัตถุระเบิด กรมสรรพวุธทหารบก รวมถึงหารือถึงวิธีการกู้เรือบรรทุกน้ำตาลลำที่ล่มด้วยเช่นกัน
สำหรับในวันนี้สถานการณ์ในจุดที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มน่าเป็นห่วงมากขึ้นอีกหลังจากนายไมตรี ปิตินานนท์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา ออกมาระบุว่า เมื่อช่วงเวลา 12.00 น.มีการระบายน้ำเพิ่มอยู่ที่ 1,286 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นประมาณ 30 ซม.และระดับน้ำในลักษณะนี้จะทำให้การกู้เรือลำบากมากขึ้น เนื่องจากกระแสน้ำไหลแรงและอาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติงานใต้น้ำได้รับอันตราย
ด้าน นายรุ่ง รื่นอุรา สารวัตรกำนันโพธิ์นางดำตก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โทรศัพท์เข้ามายังสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยระบุว่า แนวทางที่ตนเองเห็นว่าแก้ปัญหาเรือน้ำตาลล่มในขณะนี้ง่ายที่สุด คือ การระเบิดเรือบรรทุกน้ำตาล ให้พังแล้วรอให้น้ำลงจึงค่อยเริ่มกู้เรือบรรทุกน้ำตาลลำที่ล่ม ซึ่งอาจจะถูกมองว่าความคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เจข้าท่า แต่สถานการณ์เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด
วันนี้ (9 มิ.ย.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) เวลา 11.00 น.คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จะเดินทางมาที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ม.2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อติดตามการแก้ปัญหาเรือบรรทุกน้ำตาลทรายแดงล่มและการให้ความช่วยเหลือและการเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา
นายสุรชัย เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่า การเดินทางมาตรวจติดตามการช่วยเหลือครั้งนี้ ไม่ได้ล่าช้าอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เมื่อเกิดเรื่องขึ้นต้องปล่อยให้เจ้าหน้าที่ทำงานไปก่อน ซึ่งหากคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เดินทางมาในช่วงประสพเหตุใหม่ๆ เท่ากับว่าเป็นการขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
โดยในวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จะติดตามในเรื่องของความรับผิดชอบจากคนที่ทำให้เกิดปัญหาในครั้งนี้ว่าจะเป้นอย่างไร เพราะเท่าที่ทราบตอนนี้อยู่ระหว่างการปัดความรับผิดชอบของเจ้าของเรือกับผู้ว่าจ้าง
ส่วนในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) เวลา 10.30 น.พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 จะเดินทางมายังจุดที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่มเพื่อตรวจการทำงานของกองพลทหารช่างและทหารจากกองโรงงานวัตถุระเบิด กรมสรรพวุธทหารบก รวมถึงหารือถึงวิธีการกู้เรือบรรทุกน้ำตาลลำที่ล่มด้วยเช่นกัน
สำหรับในวันนี้สถานการณ์ในจุดที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มน่าเป็นห่วงมากขึ้นอีกหลังจากนายไมตรี ปิตินานนท์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา ออกมาระบุว่า เมื่อช่วงเวลา 12.00 น.มีการระบายน้ำเพิ่มอยู่ที่ 1,286 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นประมาณ 30 ซม.และระดับน้ำในลักษณะนี้จะทำให้การกู้เรือลำบากมากขึ้น เนื่องจากกระแสน้ำไหลแรงและอาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติงานใต้น้ำได้รับอันตราย
ด้าน นายรุ่ง รื่นอุรา สารวัตรกำนันโพธิ์นางดำตก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โทรศัพท์เข้ามายังสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยระบุว่า แนวทางที่ตนเองเห็นว่าแก้ปัญหาเรือน้ำตาลล่มในขณะนี้ง่ายที่สุด คือ การระเบิดเรือบรรทุกน้ำตาล ให้พังแล้วรอให้น้ำลงจึงค่อยเริ่มกู้เรือบรรทุกน้ำตาลลำที่ล่ม ซึ่งอาจจะถูกมองว่าความคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เจข้าท่า แต่สถานการณ์เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด