บุรีรัมย์ -กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ย้ำหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสถานที่ติดป้ายประกาศหาเสียงให้ผู้สมัครตามที่กฎหมายกำหนด เผยยังไม่มีการร้องเรียน มีเพียงการแจ้งเหตุเล็กน้อย
ว่าที่ ร.ต.ทวี ชุนเกาะ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง (ผอ.กต.) ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ในเรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ขณะนี้ กกต.บุรีรัมย์ ยังไม่มีการร้องเรียนมาแต่อย่างใด มีเพียงการแจ้งเหตุเล็กน้อย เพื่อให้ กกต.ได้ตรวจสอบให้ ส่วนใหญ่ที่ถามมากันมาก คือ เรื่องการปฏิบัติในการติดป้ายประกาศหาเสียงว่าจะติดประกาศได้ที่ไหน อย่างไร ซึ่ง กกต.ได้ทำหนังสือแจ้งให้กับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้จัดสถานที่และประกาศสถานที่ในการปิดป้ายประกาศหาเสียงให้ผู้สมัครได้ทราบแล้ว จึงขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องดำเนินการจัดทำป้ายหาเสียงให้ถูกต้อง ทั้งขนาด จำนวนของป้าย และติดในสถานที่ในที่สาธารณสถานของรัฐเฉพาะแห่ง และที่หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดให้ติดได้เท่านั้น ห้ามปิดในสถานที่ของเอกชน โดยแผ่นประกาศสามารถปิดได้เพียงสถานที่ละ 1 แผ่น ส่วนแผ่นป้ายจะติดได้จำนวนเท่าใด ณ สถานที่ใดให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานนั้นเป็นผู้กำหนด
ทั้งนี้ ขนาดของป้ายหาเสียง ขนาดโปสเตอร์มีขนาดไม่เกิน 30 เซนติเมตร ยาวไม่เกิน 42 เซนติเมตร ผลิตได้ไม่เกิน 10 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในเขตนั้นๆ สำหรับป้ายคัตเอาต์ หรือบิลบอร์ด ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 130 เซนติเมตร ยาวไม่เกิน 245 เซนติเมตร หรือประมาณแผ่นไม้อัดทั่วไป ผลิตได้ไม่เกิน 5 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้ง ส่วนป้ายประกาศขนาดใหญ่ห้ามใช้
ว่าที่ ร.ต.ทวี ชุนเกาะ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง (ผอ.กต.) ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ในเรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ขณะนี้ กกต.บุรีรัมย์ ยังไม่มีการร้องเรียนมาแต่อย่างใด มีเพียงการแจ้งเหตุเล็กน้อย เพื่อให้ กกต.ได้ตรวจสอบให้ ส่วนใหญ่ที่ถามมากันมาก คือ เรื่องการปฏิบัติในการติดป้ายประกาศหาเสียงว่าจะติดประกาศได้ที่ไหน อย่างไร ซึ่ง กกต.ได้ทำหนังสือแจ้งให้กับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้จัดสถานที่และประกาศสถานที่ในการปิดป้ายประกาศหาเสียงให้ผู้สมัครได้ทราบแล้ว จึงขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องดำเนินการจัดทำป้ายหาเสียงให้ถูกต้อง ทั้งขนาด จำนวนของป้าย และติดในสถานที่ในที่สาธารณสถานของรัฐเฉพาะแห่ง และที่หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดให้ติดได้เท่านั้น ห้ามปิดในสถานที่ของเอกชน โดยแผ่นประกาศสามารถปิดได้เพียงสถานที่ละ 1 แผ่น ส่วนแผ่นป้ายจะติดได้จำนวนเท่าใด ณ สถานที่ใดให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานนั้นเป็นผู้กำหนด
ทั้งนี้ ขนาดของป้ายหาเสียง ขนาดโปสเตอร์มีขนาดไม่เกิน 30 เซนติเมตร ยาวไม่เกิน 42 เซนติเมตร ผลิตได้ไม่เกิน 10 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในเขตนั้นๆ สำหรับป้ายคัตเอาต์ หรือบิลบอร์ด ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 130 เซนติเมตร ยาวไม่เกิน 245 เซนติเมตร หรือประมาณแผ่นไม้อัดทั่วไป ผลิตได้ไม่เกิน 5 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้ง ส่วนป้ายประกาศขนาดใหญ่ห้ามใช้