ศูนย์ข่าวนครราชสีมา -9 ผู้สมัคร ส.ส. อีสานล่างขอตำรวจคุ้มกันช่วงหาเสียงเลือกตั้ง หวั่นเกิดเหตุรุนแรง ขณะที่ ผบช.ภ.3 ระบุเฉพาะโคราชจังหวัดเดียวผู้สมัคร ส.ส.ขอมา 4 คนลูกไพโรจน์ 2 เขต 7,9 บุญจง เขต 10 และประนอม เขต 12 และยังอยู่ระหว่างการร้องขอเข้ามาอีกหลายราย ระบุทางการข่าวยังไม่พบสัญญาณที่จะเกิดความรุนแรงในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ตำรวจไม่ประมาทสั่งคุมเข้มเฝ้าระวังจับตาทุกพื้นที่ พร้อมกำชับตำรวจวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
วันนี้( 28 พ.ค.54 ) พล.ต.ท.เดชาวัต รามสมภพ ผบช.ตร.ภ.3 เปิดเผยถึงการปราบปรามอาวุธปืนและอาวุธสงครามในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) ว่า ในช่วงนี้สถานีตำรวจทั้ง 8 จังหวัดอีสานตอนล่างได้มีการระดมกวาดล้างตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. - 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ผลการปฏิบัติ เน้นการปราบปรามอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิด และผู้กระทำผิดในคดีที่ใช้อาวุธปืนทุกประเภท โดยสามารถตรวจยึดอาวุธปืนได้มากกว่า 200 กระบอก และมีผลการจับกุมในคดีที่ออกหมายจับไว้ ติดตามจับกุมในคดีที่เกี่ยวข้องอีก 50-60 คดี โดยสามารถจับกุมอาวุธสงคราม ปืนอาก้าได้ ที่ จ.ศรีสะเกษ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์ว่า เกี่ยวข้องกับในคดีที่มีการฆ่ากันตายที่ จ.ศรีสะเกษหรือไม่ แต่เป็นคดีฆ่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
สำหรับจังหวัดถูกจับตามองและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)มีรายชื่อไว้นั้น คือ จ.นครราชสีมา, บุรีรัมย์ และ อุบลราชธานี ตอนนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละพื้นที่ได้ติดตามสถานการณ์ทางการข่าวอยู่อย่างใกล้ชิด มีการประสานรายงานสถานการณ์กันทุกวัน โดยในเวลา 9.00น. ของทุกวันจะมีการรายงานผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเร้นให้ สตช. ทราบ
พล.ต.ท.เดชาวัต กล่าวว่า จากการข่าวยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่เราดูว่าบางจังหวัดที่มีสถานการณ์เรื่องการทำลายป้ายหาเสียงของผู้สมัครเราก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ และติดตามประสานงานกับกรรมการบริหารพรรคที่ดูแลพื้นที่นั้น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
ส่วนการขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปคุ้มครองดูแลความปลอดภัยให้ผู้สมัคร ส.ส. นั้น พล.ต.ท.เดชาวัต กล่าวว่า ใน จ.นครราชสีมาตอนนี้มีผู้สมัคร ส.ส. ขอสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้วรวม 4 ราย ใช้กำลังเจ้าหน้าที่รวม 8 นาย เป็นตำรวจชั้นประทวน 2 นายต่อผู้สมัคร1 คน ตามที่ สตช.กำหนด ซึ่งตรงนี้เป็นการป้องกันไว้ก่อน ทางตำรวจเรายินดีสนับสนุนกำลังให้ไปอยู่แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายไว้ก่อนดีกว่าที่มีเหตุเกิดขึ้นแล้วเราไปตามสืบจับเอาทีหลัง
ผู้สมัครที่ขอกำลังเจ้าหน้าที่ไปดูแลความปลอดภัยประกอบด้วย 1. นายพีรพร สุวรรณฉวี ผู้สมัครพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เขต 7 , นายพลพีร์ สุวรรณฉวี บุตรชายว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี ผู้สมัครฯพรรคเดียวกันเขต 9 , นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทย เขต 10 และ นายประนอม โพธิ์คำ ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทย เขต 12
ส่วนภาพรวมอีสานตอนล่างจนถึงขณะนี้มีผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 9 คนที่ขอรับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลความปลอดภัยให้ เช่น จ.ศรีสะเกษ และ ชัยภูมิ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้สมัคร ส.ส. อีกหลายรายอยู่ระหว่างการยืนขอรับการสนับสนุน ซึ่งการอนุมัติจะเป็นอำนาจของผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด
การส่งกำลังตำรวจเข้าไปดูแลความปลอดภัยให้กับผู้สมัคร ส.ส.นั้นทำได้ 2 ทางคือ ผู้สมัคร ส.ส.ร้องขอเข้ามา และทางตำรวจเราพิจารณาเห็นว่าเขาอาจจะมีอันตรายเกิดขึ้นได้เราก็จัดตำรวจลงไป เพื่อเป็นการป้องกัน ที่สำคัญตำรวจที่ไปดูแดความปลอดภัยให้นักการเมืองทุกคนจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อกฎหมายในการวางตัวเป็นกลาง และต้องสวมเครื่องแบบข้าราชการตำรวจทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ จนขณะนี้ทั้ง 8 จังหวัดยังไม่พบการร้องเรียนตำรวจวางตัวไม่เป็นกลางขึ้นมาแต่อย่างใด
วันนี้( 28 พ.ค.54 ) พล.ต.ท.เดชาวัต รามสมภพ ผบช.ตร.ภ.3 เปิดเผยถึงการปราบปรามอาวุธปืนและอาวุธสงครามในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) ว่า ในช่วงนี้สถานีตำรวจทั้ง 8 จังหวัดอีสานตอนล่างได้มีการระดมกวาดล้างตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. - 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ผลการปฏิบัติ เน้นการปราบปรามอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิด และผู้กระทำผิดในคดีที่ใช้อาวุธปืนทุกประเภท โดยสามารถตรวจยึดอาวุธปืนได้มากกว่า 200 กระบอก และมีผลการจับกุมในคดีที่ออกหมายจับไว้ ติดตามจับกุมในคดีที่เกี่ยวข้องอีก 50-60 คดี โดยสามารถจับกุมอาวุธสงคราม ปืนอาก้าได้ ที่ จ.ศรีสะเกษ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์ว่า เกี่ยวข้องกับในคดีที่มีการฆ่ากันตายที่ จ.ศรีสะเกษหรือไม่ แต่เป็นคดีฆ่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
สำหรับจังหวัดถูกจับตามองและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)มีรายชื่อไว้นั้น คือ จ.นครราชสีมา, บุรีรัมย์ และ อุบลราชธานี ตอนนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละพื้นที่ได้ติดตามสถานการณ์ทางการข่าวอยู่อย่างใกล้ชิด มีการประสานรายงานสถานการณ์กันทุกวัน โดยในเวลา 9.00น. ของทุกวันจะมีการรายงานผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเร้นให้ สตช. ทราบ
พล.ต.ท.เดชาวัต กล่าวว่า จากการข่าวยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่เราดูว่าบางจังหวัดที่มีสถานการณ์เรื่องการทำลายป้ายหาเสียงของผู้สมัครเราก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ และติดตามประสานงานกับกรรมการบริหารพรรคที่ดูแลพื้นที่นั้น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
ส่วนการขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปคุ้มครองดูแลความปลอดภัยให้ผู้สมัคร ส.ส. นั้น พล.ต.ท.เดชาวัต กล่าวว่า ใน จ.นครราชสีมาตอนนี้มีผู้สมัคร ส.ส. ขอสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้วรวม 4 ราย ใช้กำลังเจ้าหน้าที่รวม 8 นาย เป็นตำรวจชั้นประทวน 2 นายต่อผู้สมัคร1 คน ตามที่ สตช.กำหนด ซึ่งตรงนี้เป็นการป้องกันไว้ก่อน ทางตำรวจเรายินดีสนับสนุนกำลังให้ไปอยู่แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายไว้ก่อนดีกว่าที่มีเหตุเกิดขึ้นแล้วเราไปตามสืบจับเอาทีหลัง
ผู้สมัครที่ขอกำลังเจ้าหน้าที่ไปดูแลความปลอดภัยประกอบด้วย 1. นายพีรพร สุวรรณฉวี ผู้สมัครพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เขต 7 , นายพลพีร์ สุวรรณฉวี บุตรชายว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี ผู้สมัครฯพรรคเดียวกันเขต 9 , นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทย เขต 10 และ นายประนอม โพธิ์คำ ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทย เขต 12
ส่วนภาพรวมอีสานตอนล่างจนถึงขณะนี้มีผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 9 คนที่ขอรับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลความปลอดภัยให้ เช่น จ.ศรีสะเกษ และ ชัยภูมิ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้สมัคร ส.ส. อีกหลายรายอยู่ระหว่างการยืนขอรับการสนับสนุน ซึ่งการอนุมัติจะเป็นอำนาจของผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด
การส่งกำลังตำรวจเข้าไปดูแลความปลอดภัยให้กับผู้สมัคร ส.ส.นั้นทำได้ 2 ทางคือ ผู้สมัคร ส.ส.ร้องขอเข้ามา และทางตำรวจเราพิจารณาเห็นว่าเขาอาจจะมีอันตรายเกิดขึ้นได้เราก็จัดตำรวจลงไป เพื่อเป็นการป้องกัน ที่สำคัญตำรวจที่ไปดูแดความปลอดภัยให้นักการเมืองทุกคนจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อกฎหมายในการวางตัวเป็นกลาง และต้องสวมเครื่องแบบข้าราชการตำรวจทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ จนขณะนี้ทั้ง 8 จังหวัดยังไม่พบการร้องเรียนตำรวจวางตัวไม่เป็นกลางขึ้นมาแต่อย่างใด