พะเยา - ห่วงแล้งนี้กว๊านพะเยาวิกฤต พบผักตบมากขึ้น และเน่าเปื่อย ประสานงานทั้งรัฐและท้องถิ่นร่วมจัดการทำทุ่นลอยรอบกว๊าน อบจ.พะเยา เร่งจัดเก็บทำปุ๋ยทุกวันๆ ละ 5 ตันแต่ไม่ทัน หลังผักตบขยายตัวเร็วกว่า
นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าน้ำในกว๊านพะเยา เริ่มเข้าสู่ขั้นวิกฤตแล้ว เนื่องจากเกิดปัญหาในการเพิ่มปริมาณของผักตบชวา ซึ่งเกรงว่า จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในกว๊านพะเยา เพราะผักตบเน่าเปื่อยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หลายหน่วยงานต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะที่โครงการพัฒนากว๊านพะเยาตามโครงการตามพระราชดำรินั้น ยังอยู่ระหว่างที่ มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) กำลังศึกษาวิจัยผลกระทบจากโครงการต่างๆ ที่จังหวัดเสนอไป
รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมได้เสนอแนวทางแก้ไข ทั้งการขุดลอกฤดูแล้ง เพราะเนื่องจากจะสามารถกำจัดผักตบชวาได้ผลมากกว่าการกำจัดในฤดูอื่นๆ รวมถึงการทำทุ่นลอยรอบกว๊าน เพื่อจำกัดพื้นที่การกระจายของผักตบชวา จะไม่ทำให้ไปสร้างผลกระทบกับการท่องเที่ยว แต่แนวทางทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับแผนที่จะเสนอกับมูลนิธิชัยพัฒนาด้วย
นายไพรัตน์ ตันบรรจง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กล่าวว่า ได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้อำนวยการ (ผอ.)กองพัฒนาชนบท อบจ.พะเยา ว่า ได้นำผักตบชวาในกว๊านพะเยาเข้าไปเป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดวันละประมาณ 5 ตัน ทุก 45 วัน จะใช้ประมาณ 800 ตัน แต่ก็ยังไม่สามารถจัดเก็บผักตบชวาได้หมดกว๊าน เพราะจากการเก็บข้อมูลวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้มาทำการศึกษาการเจริญเติบโตของผักตบชวาในกว๊านพะเยา พบว่า ในวันหนึ่งผักตบชวาสามารถขยายตัวได้ถึง 1,750 ตัน
“ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานต้องช่วยกันจัดการ แต่ในฤดูแล้ง ยอมรับว่า เมื่อน้ำในกว๊านเริ่มแห้งจะประสบปัญหาเช่นนี้ทุกปี”
นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าน้ำในกว๊านพะเยา เริ่มเข้าสู่ขั้นวิกฤตแล้ว เนื่องจากเกิดปัญหาในการเพิ่มปริมาณของผักตบชวา ซึ่งเกรงว่า จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในกว๊านพะเยา เพราะผักตบเน่าเปื่อยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หลายหน่วยงานต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะที่โครงการพัฒนากว๊านพะเยาตามโครงการตามพระราชดำรินั้น ยังอยู่ระหว่างที่ มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) กำลังศึกษาวิจัยผลกระทบจากโครงการต่างๆ ที่จังหวัดเสนอไป
รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมได้เสนอแนวทางแก้ไข ทั้งการขุดลอกฤดูแล้ง เพราะเนื่องจากจะสามารถกำจัดผักตบชวาได้ผลมากกว่าการกำจัดในฤดูอื่นๆ รวมถึงการทำทุ่นลอยรอบกว๊าน เพื่อจำกัดพื้นที่การกระจายของผักตบชวา จะไม่ทำให้ไปสร้างผลกระทบกับการท่องเที่ยว แต่แนวทางทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับแผนที่จะเสนอกับมูลนิธิชัยพัฒนาด้วย
นายไพรัตน์ ตันบรรจง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กล่าวว่า ได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้อำนวยการ (ผอ.)กองพัฒนาชนบท อบจ.พะเยา ว่า ได้นำผักตบชวาในกว๊านพะเยาเข้าไปเป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดวันละประมาณ 5 ตัน ทุก 45 วัน จะใช้ประมาณ 800 ตัน แต่ก็ยังไม่สามารถจัดเก็บผักตบชวาได้หมดกว๊าน เพราะจากการเก็บข้อมูลวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้มาทำการศึกษาการเจริญเติบโตของผักตบชวาในกว๊านพะเยา พบว่า ในวันหนึ่งผักตบชวาสามารถขยายตัวได้ถึง 1,750 ตัน
“ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานต้องช่วยกันจัดการ แต่ในฤดูแล้ง ยอมรับว่า เมื่อน้ำในกว๊านเริ่มแห้งจะประสบปัญหาเช่นนี้ทุกปี”