จันทบุรี - ชาวไทยมุสลิม เข้าร่วมแสดงความยินดีกับลูกหลาน ที่สำเร็จ การศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
วันนี้ (10 มี.ค.54) ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เทศบาลเมืองจันทบุรี ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี รุ่นที่ 43 จำนวน 281 คน เข้ารับมอบผลการเรียน รางวัล และเกียรติบัตร จากผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี หลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรรวมเวลา 4 ปี โดยในจำนวนนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้จำนวน 179 ท่ามกลางพ่อแม่และผู้ปกครอง
โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมจำนวนมากที่เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของลูกหลาน ก่อนจะกลับไปช่วยพัฒนาบ้านเมือง สร้างความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ได้กล่าวปฏิญาณตนภายหลังรับมอบเกียรติบัตรว่า จะนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และจะนำหลักวิชาการพยาบาลไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเต็มความสามารถ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมดจำนวน 281 คน แบ่งเป็นโครงการผลิตพยาบาลเพื่อตอบสนองหน่วยบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 102 คน จาก จ.จันทบุรี 18 คน จ.ชลบุรี 2 คน จ.ตราด 10 คน จ.นครพนม 14 คน จ.นนทบุรี 3 คน จ.สระแก้ว 18 คน จ.ระยอง 13 คน และ จ.สกลนคร 24 คน
ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีจำนวน 179 คน ซึ่งเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2550 ผูกพันจนถึง พ.ศ.2554 โดยเป็นโครงการร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ทุนการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ แบ่งเป็น จ.สงขลา 17 คน จ.สตูล 10 คน จ.ยะลา 37 คน จ.นราธิวาส 62 คน และ จ.ปัตตานี 53 คน
วันนี้ (10 มี.ค.54) ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เทศบาลเมืองจันทบุรี ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี รุ่นที่ 43 จำนวน 281 คน เข้ารับมอบผลการเรียน รางวัล และเกียรติบัตร จากผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี หลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรรวมเวลา 4 ปี โดยในจำนวนนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้จำนวน 179 ท่ามกลางพ่อแม่และผู้ปกครอง
โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมจำนวนมากที่เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของลูกหลาน ก่อนจะกลับไปช่วยพัฒนาบ้านเมือง สร้างความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ได้กล่าวปฏิญาณตนภายหลังรับมอบเกียรติบัตรว่า จะนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และจะนำหลักวิชาการพยาบาลไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเต็มความสามารถ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมดจำนวน 281 คน แบ่งเป็นโครงการผลิตพยาบาลเพื่อตอบสนองหน่วยบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 102 คน จาก จ.จันทบุรี 18 คน จ.ชลบุรี 2 คน จ.ตราด 10 คน จ.นครพนม 14 คน จ.นนทบุรี 3 คน จ.สระแก้ว 18 คน จ.ระยอง 13 คน และ จ.สกลนคร 24 คน
ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีจำนวน 179 คน ซึ่งเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2550 ผูกพันจนถึง พ.ศ.2554 โดยเป็นโครงการร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ทุนการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ แบ่งเป็น จ.สงขลา 17 คน จ.สตูล 10 คน จ.ยะลา 37 คน จ.นราธิวาส 62 คน และ จ.ปัตตานี 53 คน