สระแก้ว - จังหวัดสระแก้วร่วมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา
วันนี้ (7 ก.พ.) นายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดงานประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวตำบลเขาสามสิบ ประจำปี 2554 ณ บริเวณโรงเรียนบ้านเขาสามสิบ หมู่ที่ 4 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวให้คงอยู่สืบไป
โดยภายในงานได้จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว ประกวดตกแต่งขบวนรถแห่ การประกวดทำบายศรี การออกร้านแสดงสินค้าพื้นบ้าน นวัตกรรมยานยนต์ การแสดงสินค้าเครื่องจักรกลทางการเกษตร นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ตลอดจนบริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วเปิดเผยว่า ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ ซึ่งร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลเขาสามสิบและประชาชนในพื้นที่ซึ่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดงานประเพณีสู่ขวัญข้าว ที่กำหนดให้มีขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี โดยถือเป็นประเพณีของเกษตรกรที่มีอาชีพทำนาและเป็นพิธีกรรมเรียกขวัญข้าวหลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการขอขมา และขอบคุณแม่โพสพ หรือเทพีแห่งข้าว และยังมีความเชื่อกันว่าจะทำให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
สำหรับการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นการบูชาพระแม่โพสพที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติ และเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งจะกระทำในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ซึ่งการทำบายศรีสู่ขวัญข้าวจะทำก่อนนำข้าวเปลือกเก็บใส่ยุ้ง หรือเปิดยุ้ง หรือนำข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารเพื่อหุงรับประทาน หรือซื้อขายกัน โดยชาวนาจะนำข้าวที่นวดแล้วมากองรวมกัน หรือนำรวงข้าวมาถักทอเป็นรูปต่างๆ ประดับกองข้าวต่อหน้ารูปปั้นพระแม่โพสพ โดยเชื่อว่าหากไม่ทำบายศรีสู่ขวัญข้าวก่อนจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจ
วันนี้ (7 ก.พ.) นายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดงานประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวตำบลเขาสามสิบ ประจำปี 2554 ณ บริเวณโรงเรียนบ้านเขาสามสิบ หมู่ที่ 4 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าวให้คงอยู่สืบไป
โดยภายในงานได้จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว ประกวดตกแต่งขบวนรถแห่ การประกวดทำบายศรี การออกร้านแสดงสินค้าพื้นบ้าน นวัตกรรมยานยนต์ การแสดงสินค้าเครื่องจักรกลทางการเกษตร นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ตลอดจนบริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วเปิดเผยว่า ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ ซึ่งร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลเขาสามสิบและประชาชนในพื้นที่ซึ่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดงานประเพณีสู่ขวัญข้าว ที่กำหนดให้มีขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี โดยถือเป็นประเพณีของเกษตรกรที่มีอาชีพทำนาและเป็นพิธีกรรมเรียกขวัญข้าวหลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการขอขมา และขอบคุณแม่โพสพ หรือเทพีแห่งข้าว และยังมีความเชื่อกันว่าจะทำให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
สำหรับการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นการบูชาพระแม่โพสพที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติ และเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งจะกระทำในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ซึ่งการทำบายศรีสู่ขวัญข้าวจะทำก่อนนำข้าวเปลือกเก็บใส่ยุ้ง หรือเปิดยุ้ง หรือนำข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารเพื่อหุงรับประทาน หรือซื้อขายกัน โดยชาวนาจะนำข้าวที่นวดแล้วมากองรวมกัน หรือนำรวงข้าวมาถักทอเป็นรูปต่างๆ ประดับกองข้าวต่อหน้ารูปปั้นพระแม่โพสพ โดยเชื่อว่าหากไม่ทำบายศรีสู่ขวัญข้าวก่อนจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจ