อุบลราชธานี -สสจ.อุบลราชธานี ประกาศเตือนระวังภัยโรคฤดูหนาว ทั้งไข้หวัดธรรมดา ถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีแนวโน้มกลับมาระบาดอีก พร้อมแนะนักเดินป่าระวังโรคไข้ไรอ่อน เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
นายแพทย์ สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงภัยที่มากับลมหนาวในปีนี้ มีการเฝ้าระวังและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคที่มากับฤดูหนาวคือ โรคปอดบวม ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคอุจจาระร่วง รวมทั้งเตรียมการรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระลอกที่ 2 โดยให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดทุกแห่ง
โดยเน้นสร้างพฤติกรรมหลัก 2 ประการ คือ การล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร หรือหลังหยิบจับสิ่งของ และใช้ช้อนกลางตักอาหาร โดยให้ปฏิบัติเป็นนิสัย เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและง่ายที่สุด
สำหรับพฤติกรรมของประชาชนที่น่าห่วงในหน้าหนาว คือ ความเชื่อในเรื่องการใช้สุราคลายหนาว เพราะเชื่อว่าฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายอบอุ่นคลายหนาวได้ แต่กลับเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่ได้ช่วยแก้ความหนาวเย็น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่จัดแคมป์ไฟใช้สุราปาร์ตี้สังสรรค์ในพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผสมอยู่ในสุรา
เมื่อดื่มมากและเป็นเวลานาน จะกดประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการง่วง งง ซึม และหมดสติ
เมื่ออยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็น ทำให้ร่างกายมีความหนืด มีผลให้การไหลเวียนของโลหิตในอวัยวะตามร่างกายขาดออกซิเจน และเมื่อหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายทำงานหนัก จะเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้
สำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินป่า กางเต็นท์นอนตามป่า หรือนอนดูดาวในหน้าหนาว ให้ระมัดระวังตัวไรอ่อน เพราะเป็นพาหะนำโรคสครับไทฟัส หรือไข้ไรอ่อนในกลุ่มโรคไข้รากสาดใหญ่ ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นสูง ปวดศรีษะมาก ไอ ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป
จุดที่ถูกไรอ่อนกัดจะมีแผลบุ๋มเป็นสีดำคล้ายถูกบุหรี่จี้ เมื่อไปพบแพทย์ต้องให้รายละเอียดและนำแผลที่ถูกกัดให้แพทย์ดู เพื่อวินิจฉัยโรคและสั่งจ่ายยาได้ถูกต้องกับโรค เพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสในประเทศนับพันรายและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ส่วนการป้องกันไม่ให้ไรอ่อนกัด ผู้เดินป่า กางเต็นท์นอนในป่า ควรใส่รองเท้า ถุงเท้า ที่หุ้มปลายขากางเกงไว้ ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บชายเสื้อเข้าในกางเกง ใช้ยาทากันแมลงกัด ส่วนการตั้งค่ายพักในป่า ให้เลือกพื้นที่โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือนอนบริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือหญ้าขึ้นรก เมื่อกลับมาถึงบ้านให้รีบนำเสื้อผ้าไปต้ม
หรือแช่ผงซักฟอกทันที เพื่อทำลายไรอ่อนที่อาจติดมากับเสื้อผ้าได้ และผู้นอนแคมป์ตามป่าเขา ต้องเตรียมมุ้ง หรือเต็นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุงได้ รวมทั้งทายากันยุงบริเวณแขน ขา ใบหู หลังคอ และส่วนของร่างกายอื่นที่อยู่นอกเสื้อผ้า เพื่อป้องกันยุงกัดไว้ด้วย
นายแพทย์ สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงภัยที่มากับลมหนาวในปีนี้ มีการเฝ้าระวังและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคที่มากับฤดูหนาวคือ โรคปอดบวม ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคอุจจาระร่วง รวมทั้งเตรียมการรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระลอกที่ 2 โดยให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดทุกแห่ง
โดยเน้นสร้างพฤติกรรมหลัก 2 ประการ คือ การล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร หรือหลังหยิบจับสิ่งของ และใช้ช้อนกลางตักอาหาร โดยให้ปฏิบัติเป็นนิสัย เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและง่ายที่สุด
สำหรับพฤติกรรมของประชาชนที่น่าห่วงในหน้าหนาว คือ ความเชื่อในเรื่องการใช้สุราคลายหนาว เพราะเชื่อว่าฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายอบอุ่นคลายหนาวได้ แต่กลับเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่ได้ช่วยแก้ความหนาวเย็น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่จัดแคมป์ไฟใช้สุราปาร์ตี้สังสรรค์ในพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผสมอยู่ในสุรา
เมื่อดื่มมากและเป็นเวลานาน จะกดประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการง่วง งง ซึม และหมดสติ
เมื่ออยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็น ทำให้ร่างกายมีความหนืด มีผลให้การไหลเวียนของโลหิตในอวัยวะตามร่างกายขาดออกซิเจน และเมื่อหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายทำงานหนัก จะเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้
สำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินป่า กางเต็นท์นอนตามป่า หรือนอนดูดาวในหน้าหนาว ให้ระมัดระวังตัวไรอ่อน เพราะเป็นพาหะนำโรคสครับไทฟัส หรือไข้ไรอ่อนในกลุ่มโรคไข้รากสาดใหญ่ ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นสูง ปวดศรีษะมาก ไอ ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป
จุดที่ถูกไรอ่อนกัดจะมีแผลบุ๋มเป็นสีดำคล้ายถูกบุหรี่จี้ เมื่อไปพบแพทย์ต้องให้รายละเอียดและนำแผลที่ถูกกัดให้แพทย์ดู เพื่อวินิจฉัยโรคและสั่งจ่ายยาได้ถูกต้องกับโรค เพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสในประเทศนับพันรายและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ส่วนการป้องกันไม่ให้ไรอ่อนกัด ผู้เดินป่า กางเต็นท์นอนในป่า ควรใส่รองเท้า ถุงเท้า ที่หุ้มปลายขากางเกงไว้ ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บชายเสื้อเข้าในกางเกง ใช้ยาทากันแมลงกัด ส่วนการตั้งค่ายพักในป่า ให้เลือกพื้นที่โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือนอนบริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือหญ้าขึ้นรก เมื่อกลับมาถึงบ้านให้รีบนำเสื้อผ้าไปต้ม
หรือแช่ผงซักฟอกทันที เพื่อทำลายไรอ่อนที่อาจติดมากับเสื้อผ้าได้ และผู้นอนแคมป์ตามป่าเขา ต้องเตรียมมุ้ง หรือเต็นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุงได้ รวมทั้งทายากันยุงบริเวณแขน ขา ใบหู หลังคอ และส่วนของร่างกายอื่นที่อยู่นอกเสื้อผ้า เพื่อป้องกันยุงกัดไว้ด้วย