จันทบุรี - เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนนำกำลังจำนวน 30 นาย ร่วมกับอาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอท่าใหม่และชาวบ้านหมู่ที่ 7 และ 8 ตำบลเขาแก้ว ปูพรมเพื่อกระชับพื้นที่พลายถ่างให้อยู่ในวงจำกัด ก่อนรอชุดปฏิบัติการ นายสัตวแพทย์ ควาญช้างมาทำการยิงยาสลบใส่พลายถ่างและนำมาตรวจสุขภาพก่อนนำออกนอกพื้นที่
วันนี้ (27 ม.ค.) ชุดเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน จำนวน 30 นายได้ลงพื้นหมู่ที่ 7 ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นชุดแรก ร่วมกับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอท่าใหม่ นำโดยปลัดอำเภอท่าใหม่ นายอดิศร ช่อไม้ และชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 8 ได้เริ่มปฏิบัติการปูพรมออกตามหาพลายถ่าง ช้างป่าเพศผู้ตามเทือกเขาแก้ว และป่ามันสำปะหลังโดยรอบหมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และรอยต่อระหว่างหมู่ที่ 8 กับหมู่ที่ 1 รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อทำการค้นหาแหล่งอาศัยของพลายถ่าง ว่าอยู่จุดใดเพื่อสะดวกต่อการเข้ากระชับพื้นที่เพื่อให้พลายถ่างได้อยู่ในพื้นที่ในวงจำกัด
นายอดิศร ช่อไม้ ปลัดอำเภอท่าใหม่ กล่าวว่า การกระทำดังกล่าว เพื่อสะดวกต่อชุดปฏิบัติการ ที่มีนายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และควาญช้างจากจังหวัดสุรินทร์ และควาญช้างจากปรางค์ช้างบ้านช้างไทย จังหวัดตราด ที่จะเข้ามาดำเนินการกระชับพื้นที่พลายถ่าง โดยการใช้วิธีการยิงยาสลบใส่พลายถ่าง และทำการล่ามโซ่ที่เท้าพลายถ่างที่จะลงพื้นที่ตามมาภายในสัปดาห์นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนที่มีประสบการณ์จะรู้ความเคลื่อนไหวของพลายถ่างช้างป่าเป็นอย่างดีว่าพลายถ่างจะหลบซ่อนอยู่บริเวณป่าไหน
อย่างไรก็ตาม การปูพรมหาพลายถ่างในครั้งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากมาก เนื่องจากพื้นที่ป่าเขาแก้วมีอาณาบริเวณป่ากว้างกว่า 3,000 ไร่ และพลายถ่างมีความคุ้นชินป่าแถบนี้จึงสามารถหลบเหลี่ยงการตามหาของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับพลายถ่างมีประสบการณ์จากเคยถูกจับมาแล้วที่จังหวัดตราดเมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา
รวมทั้งพลายถ่างไม่อยากที่จะกลับขึ้นเขาอีก เนื่องจากไม่สามารถเข้ากับโขลงช้างป่าอื่นได้เพราะพลายถ่างเป็นช้างหนุ่ม จึงทำให้หัวหน้าโขลงช้างป่าจึงไม่อยากให้พลายถ่างเข้าโขลง เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงของช้างป่ากำลังมีการผสมพันธุ์ ทำให้พลายถ่างถูกหัวหน้าโขลงช้างป่าขับไล่ลงจากเขามา จึงทำให้พลายถ่างต้องหนีและต้องลงมาหากินในพื้นที่ของชาวบ้านเพื่อความอยู่รอด
ล่าสุด พบว่าพลายถ่างยังอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างหมู่ที่ 8 กับหมู่ที่ 1 และยังคงหากินบริเวณป่ามันสำปะหลังของบริษัทเอกชน
สำหรับ พลายถ่าง เป็นช้างป่าอนุรักษ์ที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นช้างที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรงและสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะสามารถนำไปฝึกใช้งานของทางราชการได้ แต่ในเรื่องนี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีการนำพลายถ่างไปไว้ที่ไหน อย่างไร แต่ในเบื้องต้นจะมีการนำพลายถ่างช้างป่าเพศผู้กักบริเวณไว้ในที่ปลอดภัยก่อน อาจจะเป็นการนำไปกักบริเวณอยู่ที่กรมป่าไม้ทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สักระยะหนึ่ง รวมถึงการกักบริเวณก็จะต้องให้มีความปลอดภัยต่อชาวบ้านด้วย
นอกจากนี้ก็จะต้องมีการดำเนินการตรวจดูสุขภาพของพลายถ่าง หากพบว่าเป็นโรคก็จะต้องมีการรักษาให้หายขาดก่อนมีการขนย้าย นำไปอยู่ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือถ้ามีความแข็งแรงดีแล้วก็จะมีการนำไปไว้ในอุทยานแห่งชาติเขาเขียว หรือสวนสัตว์ที่เป็นลักษณะป่าที่ถาวรต่อไปก็เป็นได้ หรือ อาจจะมีการปล่อยกลับขึ้นเขาอ่างฤๅไน จังหวัดฉะเชิงเทราต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องมีการทำสัญลักษณ์ติดตามตัวพลายถ่างให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น แข็งแรงมากยิ่งขึ้น และจะต้องจัดระบบการดูแลช้างให้ดีกว่านี้ และจะต้องเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการติดตามตัวพลายถ่างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะต้องมีการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลช้างป่าให้ดีกว่าที่เป็นอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้พลายถ่างลงจากเทือกเขาอ่างฤๅไนเข้ามาในพื้นที่ของชาวบ้านอีกด้วย
วันนี้ (27 ม.ค.) ชุดเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน จำนวน 30 นายได้ลงพื้นหมู่ที่ 7 ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นชุดแรก ร่วมกับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอท่าใหม่ นำโดยปลัดอำเภอท่าใหม่ นายอดิศร ช่อไม้ และชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 8 ได้เริ่มปฏิบัติการปูพรมออกตามหาพลายถ่าง ช้างป่าเพศผู้ตามเทือกเขาแก้ว และป่ามันสำปะหลังโดยรอบหมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และรอยต่อระหว่างหมู่ที่ 8 กับหมู่ที่ 1 รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อทำการค้นหาแหล่งอาศัยของพลายถ่าง ว่าอยู่จุดใดเพื่อสะดวกต่อการเข้ากระชับพื้นที่เพื่อให้พลายถ่างได้อยู่ในพื้นที่ในวงจำกัด
นายอดิศร ช่อไม้ ปลัดอำเภอท่าใหม่ กล่าวว่า การกระทำดังกล่าว เพื่อสะดวกต่อชุดปฏิบัติการ ที่มีนายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และควาญช้างจากจังหวัดสุรินทร์ และควาญช้างจากปรางค์ช้างบ้านช้างไทย จังหวัดตราด ที่จะเข้ามาดำเนินการกระชับพื้นที่พลายถ่าง โดยการใช้วิธีการยิงยาสลบใส่พลายถ่าง และทำการล่ามโซ่ที่เท้าพลายถ่างที่จะลงพื้นที่ตามมาภายในสัปดาห์นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนที่มีประสบการณ์จะรู้ความเคลื่อนไหวของพลายถ่างช้างป่าเป็นอย่างดีว่าพลายถ่างจะหลบซ่อนอยู่บริเวณป่าไหน
อย่างไรก็ตาม การปูพรมหาพลายถ่างในครั้งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากมาก เนื่องจากพื้นที่ป่าเขาแก้วมีอาณาบริเวณป่ากว้างกว่า 3,000 ไร่ และพลายถ่างมีความคุ้นชินป่าแถบนี้จึงสามารถหลบเหลี่ยงการตามหาของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับพลายถ่างมีประสบการณ์จากเคยถูกจับมาแล้วที่จังหวัดตราดเมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา
รวมทั้งพลายถ่างไม่อยากที่จะกลับขึ้นเขาอีก เนื่องจากไม่สามารถเข้ากับโขลงช้างป่าอื่นได้เพราะพลายถ่างเป็นช้างหนุ่ม จึงทำให้หัวหน้าโขลงช้างป่าจึงไม่อยากให้พลายถ่างเข้าโขลง เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงของช้างป่ากำลังมีการผสมพันธุ์ ทำให้พลายถ่างถูกหัวหน้าโขลงช้างป่าขับไล่ลงจากเขามา จึงทำให้พลายถ่างต้องหนีและต้องลงมาหากินในพื้นที่ของชาวบ้านเพื่อความอยู่รอด
ล่าสุด พบว่าพลายถ่างยังอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างหมู่ที่ 8 กับหมู่ที่ 1 และยังคงหากินบริเวณป่ามันสำปะหลังของบริษัทเอกชน
สำหรับ พลายถ่าง เป็นช้างป่าอนุรักษ์ที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นช้างที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรงและสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะสามารถนำไปฝึกใช้งานของทางราชการได้ แต่ในเรื่องนี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีการนำพลายถ่างไปไว้ที่ไหน อย่างไร แต่ในเบื้องต้นจะมีการนำพลายถ่างช้างป่าเพศผู้กักบริเวณไว้ในที่ปลอดภัยก่อน อาจจะเป็นการนำไปกักบริเวณอยู่ที่กรมป่าไม้ทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สักระยะหนึ่ง รวมถึงการกักบริเวณก็จะต้องให้มีความปลอดภัยต่อชาวบ้านด้วย
นอกจากนี้ก็จะต้องมีการดำเนินการตรวจดูสุขภาพของพลายถ่าง หากพบว่าเป็นโรคก็จะต้องมีการรักษาให้หายขาดก่อนมีการขนย้าย นำไปอยู่ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือถ้ามีความแข็งแรงดีแล้วก็จะมีการนำไปไว้ในอุทยานแห่งชาติเขาเขียว หรือสวนสัตว์ที่เป็นลักษณะป่าที่ถาวรต่อไปก็เป็นได้ หรือ อาจจะมีการปล่อยกลับขึ้นเขาอ่างฤๅไน จังหวัดฉะเชิงเทราต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องมีการทำสัญลักษณ์ติดตามตัวพลายถ่างให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น แข็งแรงมากยิ่งขึ้น และจะต้องจัดระบบการดูแลช้างให้ดีกว่านี้ และจะต้องเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการติดตามตัวพลายถ่างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะต้องมีการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลช้างป่าให้ดีกว่าที่เป็นอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้พลายถ่างลงจากเทือกเขาอ่างฤๅไนเข้ามาในพื้นที่ของชาวบ้านอีกด้วย